การวัดประสิทธิผลของวัคซีนในสถานการณ์จริง

ประสิทธิผลของวัคซีน (vaccine effectiveness) เป็นการวัดว่าในสถานการณ์จริงวัคซีนสามารถป้องกันประชากรจากการติดเชื้อ (infection) การป่วยแบบมีอาการ (symptomatic illness) การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (hospitalization) และการเสียชีวิต (death) ได้ในระดับใด 

ในสถานการณ์ปกติทั่วไป ประเทศไทยมีการติดตามประสิทธิผลวัคซีนในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน โดยจะออกแบบการศึกษาแบบไปข้างหน้าในภาคสนาม เพื่อประเมินประสิทธิผล ซึ่งการประเมินเหล่านี้ดำเนินการและวางแผนอย่างเป็นระบบได้ง่ายเนื่องจากเป็นการดำเนินการตามระบบปกติที่บริบทมีความคงตัว ซึ่งต่างจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ที่มีพลวัตสูง 

จากการระบาดของโควิด 19 ที่มีบริบทเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่สถานการณ์การระบาด เชื้อกลายพันธุ์ แผนการฉีดวัคซีนและการรณรงค์วัคซีนขนาดใหญ่ในประชาชนจำนวนมาก การปรับสูตร/วิธีการฉีดวัคซีน การจัดซื้อจัดหาวัคซีน ปริมาณวัคซีนที่ได้รับ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การศึกษาประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเดิมได้ จึงจำเป็นต้องมีการใช้ระเบียบวิธีวิจัยใหม่ รวมถึงการใช้ big data มาสนับสนุนการประเมินเพื่อสามารถทราบประสิทธิผลวัคซีนได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที สามารถนำมาใช้เพื่อวางแผนในการควบคุมสถานการณ์และตัดสินใจในระดับนโยบายสำหรับการขับเคลื่อนด้านสังคมและเศรษฐกิจต่อไป 

ในหลายประเทศที่มีการรณรงค์วัคซีนอย่างกว้างขวาง มีการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน โดยใช้การศึกษาแบบสังเกต (observational study) โดยใช้ฐานข้อมูลปกติ (routine database) โดยมีตัวอย่างการศึกษาในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ประเทศอิสราเอลใช้ข้อมูล 4.7 ล้าน (record) โดยจับคู่ระหว่างกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนจำนวน 600,000 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับวัคซีน จำนวน 600,000 คน สหราชอาณาจักร ใช้การศึกษา a test-negative case–control design โดยใช้ฐานข้อมูล national vaccine registry data เชื่อมโยงกับระบบข้อมูลการตรวจ RT-PCR (~ 45,000 cases and 112,000 controls)  รวมทั้ง ในสกอตแลนด์ สวีเดน และสหรัฐอเมริกา ใช้การศึกษาโดยออกแบบในลักษณะคล้ายกัน 

ในประเทศไทยมีแนวคิดในการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน ตั้งแต่ช่วงริเริ่มวางแผนการจัดหาวัคซีนในระยะต้น โดยมีความพยายามในการร่วมกันศึกษาระเบียบวิธีวิจัยใหม่ และการใช้ฐานข้อมูลต่างๆ มาบูรณาการร่วมกันเพื่อให้ได้ประสิทธิผลของวัคซีนที่น่าเชื่อถือ และสามารถนำไปใช้ได้ทันท่วงที ในการดำเนินการนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในหลายภาคส่วน รวมถึงความพยายามของหน่วยงานในระดับจังหวัดและท้องถิ่น ที่จะศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในพื้นที่ การศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 จึงมีวิวัฒนาการตามลำดับดังนี้

1. ช่วงเริ่มรณรงค์การให้วัคซีนโควิด 19 (กุมภาพันธ์ 2564 ถึง ตุลาคม 2564)

ในช่วงต้นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยมีความพยายามที่จะศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 ด้วยระเบียบวิธีวิจัยต่างๆ มีการสำรวจและลองใช้ฐานข้อมูลในระบบปกติในหลายรูปแบบ แต่พบข้อจำกัดในหลายด้าน เช่น การขอความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ ทำให้การศึกษาไม่สามารถดำเนินการได้ในเวลาอันรวดเร็ว กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงได้พยายามหาแนวทางใหม่ในการศึกษา

ประเทศไทยเริ่มให้วัคซีนครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยใช้วัคซีน CoronaVac จากประเทศจีน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้เริ่มดำเนินการในการประเมินประสิทธิผลของวัคซีน การศึกษานี้จึงถือว่าเป็นการทดลองศึกษาระเบียบวิธีวิจัยอย่างง่ายในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นลำดับต้นที่ได้รับวัคซีน เพื่อให้ได้ประสิทธิผลของวัคซีนอย่างทันท่วงที และในระหว่างนี้ มีการรวบรวมระบบข้อมูลปกติ และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อบูรณาการนำข้อมูลมาใช้ในการศึกษาในระยะต่อมาในรูปแบบ case-population method ซึ่งแนะนำโดยองค์การอนามัยโลก

2. ช่วงที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลตาอย่างกว้างขวางและมีการใช้วัคซีนหลายชนิดและมีการขยายประชากรกลุ่มเป้าหมาย

ช่วงเวลานี้ (ครึ่งปีหลังของปี 2564) เป็นช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการระบาดของสายพันธุ์เดลตา ในตลาดโลกมีวัคซีนออกสู่ตลาดหลายชนิดเช่น วัคซีน adenoviral vector, วัคซีน mRNA, วัคซีนเชื้อตาย สำหรับประเทศไทยมีการจัดซื้อวัคซีนเชื้อตายและเริ่มมีวัคซีนชนิด adenoviral vector ที่ผลิตได้เองในประเทศนำมาใช้ และรัฐบาลมีแผนที่จะพิจารณาจัดซื้อจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม เพื่อนำมาควบคุมการระบาดรวมถึงวางแผนด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตและลดผลกระทบจากการล็อคดาวน์ โดยใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญ

ในที่สุดรัฐบาลได้ตัดสินใจซื้อวัคซีนเพิ่มเติม เช่น วัคซีน mRNA และเร่งการผลิตวัคซีนในประเทศ รวมทั้งมีการตัดสินใจให้ใช้วัคซีนสูตรไขว้ที่มีผลการวิจัยรองรับว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัย และมีนโยบายเร่งรัดการรณรงค์วัคซีน ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องประเมินประสิทธิผลวัคซีนเพื่อวางแผนการจัดซื้อและการรณรงค์ในระยะต่อไป รวมถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 

3. ช่วงที่มีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน

ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนตั้งแต่เดือน มกราคม 2565 โดยโอมิครอนครอบคลุม 70% ของสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยทั้งหมด และเพิ่มความครอบคลุมเป็น 100 % ในเดือนเมษายน 2565

เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด 19 ประเทศไทยได้เริ่มรณรงค์วัคซีนให้แก่ประชาชน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 และมีการจัดซื้อจัดหาวัคซีนหลายชนิด เพื่อใช้ในการรณรงค์ รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยการใช้วัคซีนสูตรไขว้ และวัคซีนเข็มกระตุ้น และตัดสินใจนำวัคซีนสูตรไขว้และวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 มาใช้รณรงค์ ในช่วงที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา และพบว่าวัคซีนมีประสิทธิผลดีในสถานการณ์จริง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอน ประเทศไทยได้ตัดสินใจที่จะเริ่มรณรงค์วัคซีนกระตุ้นเป็นเข็มที่ 4 และคงวัคซีนสูตรไขว้ไว้ในแผนการรณรงค์  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนหลากหลายสูตร เพื่อประเมินและวางแผนการรณรงค์ในระยะต่อไป รวมถึงการวางแผนเปิดประเทศ และการอยู่ร่วมกับโควิด 19 เมื่อการระบาดของโควิด 19 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

การวิจัยเพื่อปรับสูตร ตารางการให้วัคซีน และวิธีการให้วัคซีน

รอข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องวิจัยวัคซีนสูตรไขว้

การพัฒนานโยบายการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย

กรอบเวลาแสดงภาพรวมของการระบาดและการดำเนินงานสำคัญในระดับนานาชาติและในประเทศไทย ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 มีรายงานการระบาดในสาธารณรัฐประชาชนจีนและต่อมามีการประชุม IHR Emergency Committee ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563 และองค์การอนามัยโลกประกาศว่าการระบาดของโควิด 19 เป็น Public Health Emergency of International Concerns (PHEIC) ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

แนวทางการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย

แนวทางการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย ประกอบไปด้วย 1. การวิจัยและพัฒนา 2. การถ่ายทอดเทคโนโลยี และ 3. การจัดซื้อจัดหาวัคซีน

การจัดการรณรงค์วัคซีนขนาดใหญ่

ประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จในการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด 19 ในวงกว้าง เนื่องจากได้รับความร่วมมือของหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ กระทรวงต่าง ๆ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน