รู้จักคำสำคัญ

สุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One Health

เป็นแนวคิดในการร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ รวมถึงการทำงานระหว่างสหวิทยาการ โดยทำงานร่วมกันเชื่อมโยงในทุก ระดับตั้งแต่พื้นที่ ภูมิภาค ประเทศ และในระดับโลก มีเป้าหมายสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมายสุขภาพที่ดี หลักการสำคัญคือ การ ให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงระหว่าง คน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมที่อยู่ร่วมกัน

แนวคิด One Health เริ่มต้นมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราวปีค.ศ. 1821) ที่นายแพทย์ Rudolf Virchow ให้ความ สนใจความเชื่อมโยงระหว่างการแพทย์ในคนและในสัตว์ จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นายสัตวแพทย์ Calvin Schwabe ที่เริ่มใช้คำว่า One Medicine หลังจากนั้น คำว่า One Health มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เมื่อ The Wildlife Conservation Society ได้เผยแพร่ Manhattan Principles “One Health, One World” โดยเน้นประเด็นสำคัญ 12 ประการtesttes

ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือ Public Health Emergency

คำนี้นำมาใช้โดยองค์การอนามัยโลกเพื่อสื่อสารถึง “ความฉุกเฉิน เร่งด่วน” และ “ผลกระทบทางสุขภาพ” คำนี้ปรากฏใน เอกสารสำคัญขององค์การอนามัยโลกหลายชุด เช่น เป็น 1 ใน 3 ของ Triple Billion Targets ที่จะปกป้องคน 1 พันล้านคน จากภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และยังปรากฏในกฎอนามัยระหว่างประเทศด้วยคำว่า “Public Health Emergency of International Concerns” 

ความหมายของคำนี้ ต้องการ  สื่อถึงความฉุกเฉิน เร่งด่วน ของเหตุการณ์ เมื่อก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพมากเกินกว่า ขีดความสามารถของระบบปกติจะรองรับไหว ทั้งนี้ สาเหตุของผลกระทบทางสุขภาพมีได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ โรคติด เชื้อ การก่อการร้ายทางชีวภาพ การรั่วไหลของสารเคมีหรือนิวไคลด์กัมมันตรังสี

คำนี้เป็นศัพท์ที่ใช้แพร่หลายในวงการสุขภาพและเป็นคำที่เชื่อมโยงกับการนำไปปฏิบัติ เช่น การประกาศภาวะฉุกเฉินทาง สาธารณสุขจะนำไปสู่การกระตุ้นระบบให้หน่วยงานต่างๆ เริ่มปฏิบัติการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน

ความมั่นคงด้านสุขภาพ หรือ Health Security

คำนี้มีการใช้อย่างแพร่หลายในวงกว้าง มีการกำหนดนิยามและขอบเขตแตกต่างกันไป
ในที่นี้จะอธิบายความหมายตามองค์การอนามัยโลกและศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา

ความมั่นคงด้านสุขภาพ หมายถึง การมีระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง ยืดหยุ่น และยั่งยืน (Strong/Resilience/Sustainable) เพียงพอที่จะป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยสุขภาพ รวมถึงการลดอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ไม่ว่าภัยสุขภาพนั้นจะเกิดขึ้นที่ใดในโลก 

ความมั่นคงด้านสุขภาพเป็นคำที่เปิดมุมมองในวงกว้าง โดยใช้เลนส์ในการมองด้านความมั่นคง

ความมั่นคงด้านสุขภาพสำคัญอย่างไร?
“ความมั่นคงด้านสุขภาพ คือ ความมั่นคงของชาติ”

ในแวดวงคนทำงานสุขภาพ มีความพยายามส่งเสริมวลี “ความมั่นคงด้านสุขภาพ คือ ความมั่นคงของชาติ” เพื่อให้ภาคส่วนอื่นๆ มาร่วมมือและขับเคลื่อนงานสุขภาพมายาวนาน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะในการขับเคลื่อนประเทศในภาพรวม ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นลำดับต้น รวมทั้งหลายประเทศในโลกยังมีปัญหาความยากจนและปัญหาปากท้องที่เป็นประเด็นเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมามีการระบาดเกิดขึ้นหลายครั้ง และการระบาดแต่ละครั้ง เป็นปัจจัยกระตุ้นหนุนเสริมให้ภาคส่วนอื่นๆ รวมทั้งภาคประชาชนให้ความสำคัญต่อความมั่นคงด้านสุขภาพและมีการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพมากขึ้น ตัวอย่างสำคัญ คือ

  • การระบาดของไข้หวัดนกที่ทำให้ประชาคมโลกให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันระหว่าง คน สัตว์ อาหารและเกษตรกรรม มากยิ่งขึ้น และเริ่มเล็งเห็นผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจจากการระบาดในปศุสัตว์สำคัญ 
  • การระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ทำให้เกิดความตระหนักว่าการระบาดในวงกว้างกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงในสังคม มีการระดมและลงทุนส่งเสริมการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ
  • การระบาดของอีโบลาที่มีมากว่า 4 ทศวรรษในแอฟริกาที่ไม่เคยมีประเทศไหนให้ความสนใจ แต่เมื่อมีรายงานผู้ป่วยนอกแอฟริกา ทำให้ประเทศกลุ่มที่มีรายได้สูงมีความตื่นตัวเป็นอย่างมาก จนวาระเรื่องการระบาดของอีโบลากลายเป็นวาระระดับโลก และประเทศต่างๆ เริ่มตระหนักถึงความสำคัญกับการอภิบาลและระบบการจัดการโรคระบาดในระดับโลก โดยมีสถาบันสร้างความรู้ระดับนานาชาติ 4 แห่งทำการศึกษาและทำข้อเสนอการพัฒนาระบบอภิบาลและการจัดการโรคระบาดในระดับโลก มีการวิพากษ์การทำงานขององค์การอนามัยโลกอย่างหนักว่าไม่สามารถช่วยประเทศต่างๆ ตอบสนองต่อการระบาดได้ทันท่วงที ในช่วงเวลานั้น มีการระดมทุนและร่วมมือจนพัฒนายาและวัคซีนสำหรับอีโบลาสำเร็จภายในระยะเวลา 1 ปี การระบาดของอีโบลาทำให้ประชาคมโลกเริ่มตระหนักว่าการระบาดของโรคประจำถิ่นในกลุ่มประเทศที่มีระบบสุขภาพไม่เข้มแข็ง ไม่ได้เป็นเป็นปัญหาเฉพาะในประเทศนั้น แต่เป็นปัญหาของประชาคมโลก ที่ต้องมาร่วมช่วยกัน เพราะปัจจุบันโลกและโรคมีการเชื่อมโยงถึงกัน โดยไม่มีพรมแดน การละทิ้งประเทศใดประเทศหนึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ได้
  • การระบาดของโควิด 19 ที่ก่อผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคมอย่างที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ การระบาดครั้งนี้ทำให้ทุกภาคส่วนมาทำงานร่วมกันเพื่อช่วยประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤต และตระหนักร่วมกันว่า “No one is safe, until we are all safe” และความมั่นคงด้านสุขภาพเป็นความมั่นคงของชาติอย่างแท้จริง

จากเหตุการณ์ในครั้งที่ผ่านๆมา เป็นภาพสะท้อนอย่างชัดเจนว่าเมื่อประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงจะเป็นฟันเฟืองที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศต่อไป รวมทั้งหากประเทศมีการระบาด กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมย่อมถูกกระทบ ดังนั้น ระบบสุขภาพที่เข้มแข็งจึงมีความจำเป็นและจะต้องพัฒนา ให้มีความยืดหยุ่นและยั่งยืนเพื่อรองรับการระบาดในอนาคต รวมถึงบริบทของสังคมยุคใหม่ เพื่อเป็นระบบสุขภาพที่ตอบสนองต่อประชากรทุกวัย ทุกโรค ทุกคนอย่างเท่าเทียม ความมั่นคงด้านสุขภาพ จึงเท่ากับ ความมั่นคงของชาติ

WHO เลือกไข้หวัดใหญ่พันธุ์ไทยปั๊ม วัคซีนป้องกัน

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ว่า จากผลการวิเคราะห์ ลำดับพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากทั่วโลก...

อนามัยโลกชี้ สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" เป็น "สารก่อมะเร็ง"

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน