รู้จักแผนงาน

WHO CCS, PHE Program?

แผนงานสาธารณสุขฉุกเฉิน (Public Health Emergency) เป็น 1 ใน 6 แผนงานความร่วมมือภายใต้ WHO Country Cooperation Strategy (WHO CCS) ระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลกที่ดำเนินความร่วมมือมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยมีระยะเวลาดำเนินงานรอบละ 5 ปี 

จากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ซึ่งมีผลกระทบกว้างขวางต่อระบบสุขภาพ รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม แผนงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและองค์การอนามัยโลก จึงกำหนดให้งานสาธารณสุขฉุกเฉินเป็นประเด็นสุขภาพสำคัญ และสนับสนุนให้จัดตั้งแผนงานฯ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การพัฒนาขีดความสามารถของประเทศด้านสาธารณสุขฉุกเฉินในทุกระดับ (ระดับประเทศถึงในระดับท้องถิ่น) และครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การป้องกัน การตรวจจับ การตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน 

เป้าหมายและขอบเขตของแผนงาน

เป้าหมาย

เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของประเทศด้านสาธารณสุขฉุกเฉินในทุกระดับ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การป้องกัน การตรวจจับ การตอบสนอง ต่อภาวะฉุกเฉิน

บทบาทและขอบเขตการดำเนินงาน

เป็นแผนงานที่มีบทบาทเปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่น (Lubricant) ที่ช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนงานตามระบบปกติ โดยเชื่อมประสานกับหน่วยงานหลักตามพันธกิจ เพื่อเสริมความเข้มแข็งของงานวิจัยและสร้างความรู้เชิงนโยบายและเชิงระบบ การพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและการพัฒนาขีดความสามารถ (Capacity building) รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย เน้นประเด็นภัยจากโรคติดเชื้อ และรวมประเด็นการดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance) โดยอาศัยสถานการณ์ของโควิด 19 เป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

กิจกรรมหลักของแผนงาน

แผนงาน Public Health Emergency ภายใต้ WHO Country Cooperation Strategy 2022-2026 (WHO CCS) มีเป้าหมาย คือ การเพิ่มขีดความสามารถด้านสาธารณสุขฉุกเฉินของประเทศ โดยแบ่ง การดำเนินงานเป็น 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1) Knowledge generation and knowledge management 2) Monitoring and evaluation 3) Capacity building and networking โดยแผนงานมีบทบาทในฐานะ catalyst ที่เสริมการทำงานของระบบปกติ การดำเนินงานเริ่มในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งแต่ละปีมีการปรับแผนการดำเนินงานตามบริบทของสถานการณ์เพื่อตอบเป้าหมายสำคัญที่วางไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรมปี 2567

แผนงานฯ มีการดำเนินงานเพื่อคงความสำคัญของงานความมั่นคงทางสุขภาพ (momentum) ให้ได้รับการสนับสนุนในระดับนโยบายอย่างเข้มแข็ง เพียงพอ และต่อเนื่อง รวมถึงสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน เพื่อรับมือกับภัยสุขภาพในอนาคต

อ่านต่อ

กิจกรรมปี 2566

ประเทศได้ผ่านพ้นวิกฤตและโควิด 19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น แผนงานฯ จึงเน้นการจัดการความรู้โดยรวบรวมความรู้ที่เกิดจากความร่วมมือของสังคมไทยในช่วงวิกฤต เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเตรียมความพร้อม และตอบสนองต่อการระบาดในอนาคต

อ่านต่อ

กิจกรรมปี 2565

แผนงานฯ มุ่งสร้างความรู้ในระดับนโยบาย เพื่อตอบสนองต่อการระบาดและวางแผนในระยะยาว ผ่านการให้ทุนสนับสนุนโครงการที่ตอบโจทย์ในเชิงระบบและสอดคล้องกับประเด็นสำคัญของคณะปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข และ Big Rock 1 Health security

อ่านต่อ

แหล่งข้อมูล

ชุมชนคนหูหนวก สู้ไม่ลืม

การเข้าถึงสุขภาพถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้พิการทางหู เพื่อพัฒนาความเสมอภาคด้านสุขภาพสำหรับคนหูหนวกตาบอด จำเป็นต้องมีรูปแบบการดูแลที่ครอบคลุมและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และพิจารณาการให้การดูแลจากมุมมองของผู้ใช้ ในบทความนี้ คนหูหนวกตาบอดบรรยายประสบการณ์ของเขากับการดูแลสุขภาพและ “สิ่งที่มองไม่เห็น” ที่ชุมชนต้องเผชิญ

ในหมู่เกาะโซโลมอนมีแม่น้ำหลายสายให้ข้าม

ใช้เวลาเดินทางอย่างน้อยสองวันจากโฮนีอารา เมืองหลวงของหมู่เกาะโซโลมอน เพื่อไปยังหมู่บ้านบนภูเขาคูวามิติ เพื่อจัดหาและส่งมอบการดูแลสุขภาพและการสร้างภูมิคุ้มกันตามปกติให้กับผู้คนที่อาศัยและทำงานที่นั่น

แหล่งข้อมูล
การตอบสนองของ Monkeypox ในยุโรป

หกเดือนผ่านไปนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรคฝีดาษลิงในยุโรป โดยเริ่มต้นจากผู้ป่วยเพียงไม่กี่รายที่รายงานในสหราชอาณาจักรเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2022 แต่ในไม่ช้าก็มีรายงานโรคฝีดาษลิงในหลายประเทศ โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเดือนกรกฎาคม 90% ของผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการและที่ได้รับรายงานทั่วโลกมีศูนย์กลางอยู่ที่ยุโรป ดร.ฮานส์ เฮนรี พี. คลูเกอ ผู้อำนวยการภูมิภาคของ WHO ประจำยุโรปกล่าวว่า "การดำเนินการอย่างเร่งด่วนและประสานงานเป็นสิ่งจำเป็นหากเราต้องเลี้ยวมุมใน การแข่งขันเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคนี้”

ข้อมูลสถานการณ์กิจกรรมทางกาย

ใช้ฐานข้อมูลจากการสำรวจกิจกรรมทางกายของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งใช้ เครื่องมือสำรวจระดับกิจกรรมทางกายสากล GPAQ และนำมาวิเคราะห์ตามคู่มือระดับกิจกรรม ทางกายระดับประเทศและระดับจังหวัด

แหล่งข้อมูล

การอ้างอิงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเว็บไซต์

ขอบเขตข้อมูลในเว็บไซต์ครอบคลุมเนื้อหาจากงานวิจัยและองค์ความรู้เชิงนโยบายและเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขฉุกเฉินและความมั่นคงด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่รวบรวมจากการสังเคราะห์ความรู้ ทางวิชาการที่มีแหล่งอ้างอิงทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติ การดำเนินการในประเทศ และกรณีศึกษาที่เกิดขึ้น ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ข้อมูลที่ปรากฏในเว็บไซต์นี้สามารถทำการเผยแพร่ ปรับใช้ หรือนำไปใช้อ้างอิง ได้ทั้งส่วนเนื้อหาข้อมูล กราฟ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมได้ ขอให้อ้างอิงที่มา สำหรับส่วนคลิปวิดีโอ Story from the field เป็น ข้อมูลที่สะท้อนถึงข้อคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์แต่เพียงผู้เดียว ไม่ได้เสนอมุมมองหรือความคิดเห็นของ หน่วยงานต้นสังกัด กระบวนการรวบรวมข้อมูลผ่านการขอความยินยอมจากผู้ให้สัมภาษณ์ในการเผยแพร่ข้อมูล จึงขอสงวนสิทธิ์ห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข โดยที่แผนงาน PHE ไม่อนุญาต

สำหรับผู้ใช้งานเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจการค้า

กรุณาติดต่อ [email protected]

สำหรับผู้ใช้งานเพื่อประโยชน์ทางสังคมอื่น ๆ

แผนงานฯ ยินดีให้นำข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้หากมีการนำไปใช้ขอให้อ้างอิง www.phethai.org

 

test

ข้อมูลของผู้ใช้งานในเว็บไซต์ phethai.org ถูกเก็บเป็นความลับและไม่มีการเผยแพร่ตามหลักการปกป้องสิทธิด้านข้อมูลบุคคล