Vaccine Series

วัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญในการตอบสนองต่อการระบาดของโควิด 19 และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤต ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 แก่ประชาชนที่อาศัยบนผืนแผ่นดินไทย โดยเน้นยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ด้าน คือ 1. การวิจัยและพัฒนาวัคซีนในประเทศ รวมถึงการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตวัคซีนในประเทศ 2. การจัดซื้อจัดหาวัคซีน ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญคือ เพื่อให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ในเวลาใกล้เคียงกับประเทศอื่น ๆ 

เพื่อบรรลุยุทธศาสตร์การเข้าถึงวัคซีน ประเทศไทยโดยรัฐบาลและแหล่งทุนต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อสร้างความรู้สำหรับนำวัคซีนมาใช้แก้ไขปัญหาโควิด 19 ซึ่งองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนและภาคเอกชน ได้มีบทบาทสำคัญในการร่วมดำเนินการในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาวัคซีนในประเทศ การผลิตวัคซีนโดยรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การวางแผนการใช้วัคซีนการวิจัยสูตรการฉีด วิธีการฉีดและระยะห่างระหว่างเข็มที่เหมาะสม เพื่อให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและเกิดประสิทธิผลสูงสุด การวิจัยรูปแบบการรณรงค์วัคซีนขนาดใหญ่นอกสถานบริการ เช่น ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ศูนย์ฉีดวัคซีนโคราช รวมถึง ศูนย์การฉีดวัคซีนต่าง ๆ ในหลายจังหวัด ซึ่งถือเป็นรูปแบบการรณรงค์ขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศไทยและประวัติศาสตร์โลก และเป็นการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมรณรงค์ 

Vaccine series นี้ เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะรวบรวมงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ณ ช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนไทยเข้าถึงวัคซีน ซึ่งผลวิจัยเหล่านี้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหมู่มากและช่วยให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตมาได้โดยใช้ความรู้เป็นฐาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบันทึก เรื่องราว และเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการสร้างและจัดการความรู้อย่างเป็นระบบที่นำมาใช้ประโยชน์ได้จริง 

Vaccine series จะแบ่งสาระสำคัญของการวิจัยและจัดการความรู้ที่สนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ในคนไทยเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1. การพัฒนานโยบายการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย 2. แนวทางการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย 3. การจัดการรณรงค์วัคซีนขนาดใหญ่ 4. การวิจัยเพื่อปรับสูตร ตารางการให้วัคซีน และวิธีการให้วัคซีน และ 5. การวัดประสิทธิผลของวัคซีนในสถานการณ์จริง

Vaccine Series มีสาระสำคัญจากงานวิจัยและนวัตกรรมที่น่าสนใจ 5 ด้าน ดังนี้

การพัฒนานโยบายการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย

กรอบเวลาแสดงภาพรวมของการระบาดและการดำเนินงานสำคัญในระดับนานาชาติและในประเทศไทย ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 มีรายงานการระบาดในสาธารณรัฐประชาชนจีนและต่อมามีการประชุม IHR Emergency Committee ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563 และองค์การอนามัยโลกประกาศว่าการระบาดของโควิด 19 เป็น Public Health Emergency of International Concerns (PHEIC) ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

แนวทางการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย

แนวทางการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย ประกอบไปด้วย 1. การวิจัยและพัฒนา 2. การถ่ายทอดเทคโนโลยี และ 3. การจัดซื้อจัดหาวัคซีน

การจัดการรณรงค์วัคซีนขนาดใหญ่

ประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จในการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด 19 ในวงกว้าง เนื่องจากได้รับความร่วมมือของหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ กระทรวงต่าง ๆ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน

การวิจัยเพื่อปรับสูตร ตารางการให้วัคซีน และวิธีการให้วัคซีน

รอข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องวิจัยวัคซีนสูตรไขว้

การวัดประสิทธิผลของวัคซีนในสถานการณ์จริง

ในสถานการณ์ปกติทั่วไป ประเทศไทยมีการติดตามประสิทธิผลวัคซีนในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน โดยจะออกแบบการศึกษาแบบไปข้างหน้าในภาคสนาม เพื่อประเมินประสิทธิผล ซึ่งการประเมินเหล่านี้ดำเนินการและวางแผนอย่างเป็นระบบได้ง่ายเนื่องจากเป็นการดำเนินการตามระบบปกติที่บริบทมีความคงตัว ซึ่งต่างจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ที่มีพลวัตสูง