การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรงน้อย ร่วมกับการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน

กรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้ร่วมมือกับ 9 โรงพยาบาลรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการศึกษาวิจัย ได้แก่ รพ.นครปฐมรพ.บ้านโป่ง รพ.สมุทรสาคร รพ.ราชบุรี รพ.สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รพ.กระทุ่มแบน รพ.ปทุมธานี รพ.แม่ระมาด จังหวัดตากและรพ. สมุทรปราการ โดยได้จ่ายยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรงน้อย ร่วมกับการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน จำนวน 309 คน พบว่าผู้ป่วยจำนวน 306 คน มีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 1–5 ตามลำดับ และไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง มีผู้ป่วยเพียง 3 รายที่เกิดภาวะปอดอักเสบ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคโควิด 19 ที่ไม่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร จำนวน 526 ราย และผู้ป่วยที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร ในขนาดที่มี andrographolide 180 มิลิกรัมต่อวัน จำนวน 309 ราย พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรมีการเปลี่ยนเป็นมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น มีภาวะปอดอักเสบหรือใส่ท่อช่วยหายใจ 77 ราย (14.64%) กลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรพบว่ามีการเปลี่ยนเป็นมีอาการรุนแรงขึ้นเพียง 3 ราย (0.97%) number needed to treat = 7.32 (หมายถึงการให้ยาฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด ทุก ๆ 8 คนจะสามารถลดการเกิดเป็นภาวะปอดอักเสบ ได้ 1 คน) และ RR = 0.057 (0.018-0.183) p < 0.001 ถือเป็น protective exposure โดยการให้ยาฟ้าทะลายโจรสามารถลดโอกาสการเกิดปอดอักเสบได้ 94.3%

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในทัณฑสถาน

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในทัณฑสถาน

การนำยาเก่าที่เคยได้รับการอนุมัติสำหรับโรคอื่นมาพัฒนาต่อ (repurposed drug)

การนำยาเก่าที่เคยได้รับการอนุมัติสำหรับโรคอื่นมาพัฒนาต่อ (repurposed drug)

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19