การนำยาเก่าที่เคยได้รับการอนุมัติสำหรับโรคอื่นมาพัฒนาต่อ (repurposed drug)

จากสถานการณ์ช่วงแรกของในระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งยังไม่มียารักษาเป็นการเฉพาะ และการพัฒนายาใหม่จะต้องใช้ระยะเวลานาน จึงมีการนำยาเก่าที่เคยได้รับการอนุมัติสำหรับโรคอื่นมาพัฒนาต่อ (repurposed drug) ซึ่งตอบสนองต่อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ดี จากบทความของ จันทรา กาบวัง และเกศรา ณ บางช้าง (จันทรา กาบวัง และคณะ, 2564) ได้กล่าวว่าการนำยาเก่าที่ได้รับการอนุมัติทางคลินิกกลับมาใช้ใหม่เพื่อรักษาโรคโควิด 19 จัดเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการแก้ไขปัญหา อย่างไรก็ตามในตอนท้ายได้มีข้อสรุปว่า

“...หากจะให้ใช้ได้ผล มีประสิทธิผล และปลอดภัย จะต้องมีหลักฐานที่มีคุณภาพและจำนวนผู้ถูกทดลองเพียงพอที่จะยืนยันว่ามีผลลัพธ์ที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วยโควิด 19 ซึ่งอาจขึ้นกับช่วงเวลาของการเจ็บป่วย ถ้ายามีคุณสมบัติเป็นยาต้านไวรัสก็จะมีบทบาทสำคัญมากที่สุดในช่วงแรก ๆ ในขณะที่มีการเพิ่มจำนวนของไวรัส การพัฒนายาที่นำกลับมาใช้ใหม่จำเป็นต้องใช้มาตรฐานการทำวิจัย เช่นเดียวกับการพัฒนายาใหม่ในการเก็บข้อมูลข้อมูลควรแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและความปลอดภัย การออกแบบการศึกษาที่ดี ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมรวมทั้งการวางแผน การพัฒนายาทางคลินิกและการประสานงานของการวิจัยทางคลินิกจึงมีความสำคัญ โดยต้องเป็นการวิจัยที่คำนึงถึงคุณภาพของข้อมูลและจริยธรรมของการวิจัยความจำเป็นเร่งด่วนในการรักษาระหว่างการระบาด อาจทำให้การตีความผลลัพธ์ของการรักษาสับสนหากไม่ได้รวบรวมและควบคุมข้อมูลอย่างระมัดระวัง โควิด 19 เป็นโรคที่หายได้เองถึง 80% การศึกษาแบบไม่มีกลุ่มควบคุมโดยเฉพาะในระยะแรกของโรคจึงทำให้ไม่สามารถนำไปสู่ข้อสรุปที่แน่ชัดของประสิทธิผลของยาได้สถานการณ์การระบาดไม่ควรทำให้เราต้องยอมรับผลการวิจัยที่ไม่มีคุณภาพ และยอมจำนนต่อความไม่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์และผิดจริยธรรมการวิจัย ส่วนการอนุญาตให้เข้าถึงการใช้ยารักษาโดยที่ยังไม่มีผลรับรองประสิทธิผลที่ชัดเจน อาจทำให้ในที่สุดไม่ทราบประสิทธิผลของยาและผลประโยชน์ที่แท้จริง ซึ่งประโยชน์อาจจะมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าไม่มีการศึกษาที่เหมาะสมแพทย์จะไม่มีหลักฐานที่จะใช้เป็นฐานในการตัดสินใจ และ แพทย์ตัดสินใจยากขึ้นหากยามีผลข้างเคียง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงโดยไม่มีหลักฐานว่ายามีประโยชน์ทางคลินิกหรือไม่”

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในทัณฑสถาน

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในทัณฑสถาน

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรงน้อย ร่วมกับการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรงน้อย ร่วมกับการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน