นักวิชาการสาธารณสุข จังหวัดลำปาง (LGBTQ+) เล่าประสบการณ์การสื่อสารในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดชาวต่างชาติ ซึ่งตนเองก็มีข้อจำกัดเรื่องภาษา แต่ในที่สุดก็ได้ประสานงานกับกรมควบคุมโรค พัฒนาคู่มือการกักตัวภาษาอังกฤษ

27/06/2024

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดใหม่ ๆ ชาวบ้านค่อนข้างมีความกลัวและเข้มงวดต่อการปฏิบัติตามมาตราการมาก อย่างมาตรการการกักตัว ทำให้เมื่อมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาและไม่ยอมกักตัว ชาวบ้านจึงเกิดความไม่สบายใจและกังวล จนถึงขั้นมีการบูลลี่ชาวต่างชาติเกิดขึ้น ซึ่งชาวต่างชาติก็ไม่มีความเข้าใจถึงบริบทของสังคมไทยในช่วงนั้น เพราะสำหรับต่างประเทศเขาไม่ได้กังวลถึงขั้นนี้ อีกทั้งในช่วงนั้นก็ยังไม่มีมาตรการที่ออกมาเป็นภาษาอังกฤษทำให้ต่างคนต่างไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน เราเลยได้เข้าไปดูแลพูดคุยกับชาวต่างชาติคนนี้ให้ยอมกักตัว เพื่อความสบายใจของทั้ง 2 ฝ่าย 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิดแรก ๆ (ปี พ.ศ. 2563) 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

ไม่มีความช่วยเหลือจากที่ใด เนื่องจากทุกคนต่างตื่นตระหนก แม้แต่การจะพาชาวต่างชาติมาตรวจที่โรงพยาบาลยังไม่สามารถทำได้ เพราะตอนนั้นมาตรการของหน่วยงานสาธารณสุขคือ การให้กักตัว 14 วัน หากมีอาการค่อยแจ้งให้ทางสาธารณสุขมาตรวจ ดังนั้นการช่วยเหลือจึงเป็นเพียงแค่การได้รับการดูแลจากสาธารณสุขที่นับว่าเป็นแกนหลักในช่วงนั้น 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ในตอนนั้นเป็นช่วงที่เราเข้ามาทำงานใหม่ เนื่องจากเพิ่งจบใหม่ การทำงานในตอนนั้นจึงเป็นเหมือนความประทับใจของเรา โดยการได้เข้าไปคุยกับชาวต่างชาติที่เขามีปัญหา สำหรับเราก็มองว่าเหมือนได้ช่วยเหลือให้เขาได้คลายความเครียด ซึ่งเราก็ประทับใจที่ได้ช่วยเหลือ แต่ความยากลำบากในตอนนั้นสำหรับเราก็มี อย่างเช่น การที่ในตอนนั้นสถานที่ที่เราทำงานยังไม่ได้มีมาตราการเกี่ยวกับชาวต่างชาติ ทำให้ตอนนั้นไม่มีนโยบายเกี่ยวกับชาวต่างชาติที่เป็นภาษาอังกฤษให้เขาได้ดูและได้เข้าใจ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดและไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งหากมีสื่อที่เป็นภาษาอังกฤษก็อาจจะทำให้การเข้าใจกันสามารถดำเนินการได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้เราก็ได้ได้ส่งข้อความเพื่อพูดคุยกับกรมควบคุมโรคให้มีการออกมาตราการกักตัว 14 วัน เป็นภาษาอังกฤษเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับชาวต่างชาติ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้สำหรับเราหากเป็นในทางสาธารณสุข เรามองว่าก็ต้องมีการปฏิบัติตามมาตรการของทางกระทรวงสาธารณสุข แต่สำหรับในมุมของเราเองตนมองว่าสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นที่จะต้องสื่อสารหรือเข้าหาชาวต่างชาติก็เหมือนเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เรามองว่าอาจจะด้วยเพศของเราด้วยที่เป็น LGBTQ+ ทำให้เกิดความต้องการที่จะพูด ต้องการที่จะสื่อสาร เพราะในตอนนั้นไม่ใช่ว่าพี่ ๆ ที่อยู่จะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย

นักศึกษา ป.เอก จัดทำคูปองแบ่งปันความอิ่ม ขอ CSR จาก ศิริราชช่วยคนในบางกอกน้อย

CSR คูปองแบ่งปันความอิ่ม

ประชาชนจิตอาสา เล่าความภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยและเล่าผลกระทบของตนเองที่แม่ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง (สูงอายุและโรคอ้วน) เสียชีวิตจากโควิด รวมถึงความกลัวที่ตนเองก็มีความเสี่ยง (โรคอ้วน)

อาสาสมัครสายด่วน 1330 ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อโควิด 19

นักวิชาการสาธารณสุขสังกัด สปคม. เล่าความประทับใจในการทำงานโครงการ Super rider จิตอาสาช่วยขนส่งตัวอย่างจากผู้ป่วยตามบ้านมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ทีมสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) ทีมตรวจค้นหาเชื้อโควิด 19 IUDC Delivery โครงการ “Super Rider จิตอาสา”