นักการทูตไทย ประจำไต้หวัน พาคนไทยกลับบ้าน

25/06/2024

ข้อคิด “สำหรับเคสหนึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าทุกฝ่ายไม่ช่วยเหลือกัน”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ก่อนที่สถานการ์การแพร่ระบาดโควิด 19 จะระบาด เราไม่ได้ทำหน้าที่ฝ่ายกงสุล แต่พอในช่วงโควิดทุกคนต่างต้องย้ายมาช่วยในฝ่ายกงสุลเหมือนว่ามันเป็นวิกฤตที่ทุกคนในสถานทูตต้องมาช่วยเหลือกัน ทำให้ช่วงนั้นงานอื่นต้องหยุดไปก่อน 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ตั้งแต่เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2564 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (กต.) และหน่วยงานท้องถิ่น เข้ามาช่วยเหลือในด้านการหาไฟล์ทบิน, สปสช. ช่วยเหลือดูแลในการจัดสถานที่พักในการกักตัว ทั้งหาข้อมูลในสิทธิบัตรทอง สิทธิหลักประกันสุขภาพว่าอยู่ไหนและโรงพยาบาลไหนพร้อมรับรักษา เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้เข้ารับการรักษาตามสิทธิของตนเอง, อสม. ช่วยเหลือดูแลต่อหลังจากกักตัวที่โรงพยาบาลแล้ว, โรงพยาบาลไต้หวัน ช่วยเหลือในการส่งผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือต้องรักษาต่อเนื่องกลับไทย ทั้งยังช่วยรักษาแม้จะรู้ว่าไม่มีเงินจ่าย และสถานทูต สำนักงานแรงงาน ประชาชนทั่วไป ทั้งไทยและไต้หวัน ต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ในตอนนั้นเราทำหน้าที่ประสานงานทั้งฝั่งไทยและไต้หวัน เพื่อหาไฟล์ทบินจัดกลุ่มคนไทยที่มีความจำเป็นต้องกลับไทยก่อน เพราะไต้หวันเป็นประเทศที่มีแรงงานไทยถูกกฎหมายเยอะที่สุดในโลก แต่ก็มีแรงงานผิดกฎหมายบ้าง แต่ไม่เยอะ หากใครมีอาการเจ็บป่วยก็อาจจะค่อนข้างยากในการรักษาและการเคลื่อนย้ายเพราะมีแรงงานไทยบางส่วนที่หมดสัญญาจ้าง ทำให้ไม่มีประกันสุขภาพ เวลาไปรักษาก็ต้องจ่ายเองจนบางครั้งก็ต้องติดหนี้โรงพยาบาลไว้ แต่ในตอนนั้นรัฐบาลไทยมองว่าไต้หวันยังปลอดภัยเลยยังไม่ให้คนไทยกลับจะเอาคนที่อยู่ในประเทศที่ระบาดหนัก ๆ กลับก่อน ซึ่งเราก็พยายามหาไฟล์ทบินให้กลับ แม้โควิดจะไม่รุนแรงแต่มันก็กระทบต่อความเป็นอยู่ของคนไทยในด้านเศรษฐกิจ ในตอนนั้นสามารถส่งคนไทยกลับได้จำนวน 14,200 คน รวม 121 ไฟล์ท โดยในช่วงโควิดคนที่เจ็บป่วยอยู่แล้วเวลากลับไทยถือเป็นการทำงานที่ยากลำบาก เพราะเราต้องหาสถานที่ให้เขาเวลาถึงนู้นโดยต้องเป็นโรงพยาบาลเท่านั้น และเราต้องติดต่อประสานงานให้หมด เพราะญาติที่ไทยก็ไม่สามารถดำเนินเรื่องเองได้ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้ประสบการณ์ในการทำงานจากเวลาที่ต้องส่งผู้ป่วย ไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่จะช่วยเท่านั้น แต่จริง ๆ คนไทยที่เดินทางกลับในไฟล์ทนั้นเขาก็มีส่วนช่วยด้วย เพราะเราได้ขอความร่วมมือคนที่กลับไฟล์ทเดียวกับคนป่วยให้ช่วยเหลือดูแลกันมันก็เป็นน้ำใจของคนไทยอย่างหนึ่ง อีกทั้งทางฝั่งไต้หวันเองที่ช่วยรักษาแม้จะรู้ว่าทางเราก็ไม่มีเงินจ่าย แต่เขาก็ยังช่วยเหลือ ประกอบกับเราได้สร้างระบบในการส่งคนไทยกลับบ้านโดยเฉพาะเพื่อให้สะดวกต่อการดำเนินงานในช่วงเวลานั้น ซึ่งเราไม่ได้กลับไทยเลยตั้งแต่ช่วงโควิดยันตอนนี้ เพราะว่าส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยกลับแม้ในช่วงโควิดที่ระบาดหนัก ๆ หรือคนที่บ้านเสีย เจ้าหน้าที่ก็เลือกที่จะไม่กลับเพราะมันเหมือนกินโควต้าของคนทั่วไป แบบบางคนอาจมีความจำเป็นมากกว่าเรา เพราะถ้ากลับมันมีหลายขั้นตอนทั้งการกักตัว และโควต้าในแต่ละสายการบินที่มันจำกัด ถ้าเรากลับไปก็จะไม่มีใครมาช่วยเหลือคนไทยในไต้หวัน 

โรคอ้วนและน้ำหนักเกิน

สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนซึ่งทำให้โอกาสที่จะเป็นโรคอ้วนในบุคคล ประชากร และในสภาพแวดล้อมต่างๆ รุนแรงขึ้น มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเชิงโครงสร้างที่จำกัดความพร้อมของอาหารที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพในราคาที่เอื้อมถึงในท้องถิ่น การขาดการเคลื่อนไหวทางกายภาพที่ปลอดภัยและง่ายดายในชีวิตประจำวันของทุกคน และการขาดงาน มีสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและข้อบังคับที่เพียงพอ

อนามัยโลกชี้ สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" เป็น "สารก่อมะเร็ง"

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.

ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ภาวะดังกล่าวส่งผลให้มีการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีการตกไข่