เจ้าหน้ากรมอนามัยทำงานด้านสุขาภิบาล สะท้อนความสำคัญของงานสุขาภิบาลและงานสร้างเสริมสุขภาพที่มีความสำคัญ และได้รับความสนใจในเชิงนโยบายลดน้อยลงในช่วงการระบาดที่ยาวนาน

26/06/2024

ข้อคิด “แม้งานของเราจะเป็นส่วนเล็ก ๆ แต่ก็สามารถช่วยให้คนไม่ต้องตื่นตระหนกได้” 

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ช่วงก่อนโควิดเราทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ส่วนงานที่เรารับผิดชอบหลัก คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้น้ำบริโภคที่คนไทยดื่มเข้าไปปลอดภัย ซึ่งงานที่ทำจะอยู่ในลักษณะงานประจำ เลยไม่ได้ให้ความสนใจโรคอุบัติใหม่เท่าไหร่นัก และไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ แต่พอในช่วงโควิดเราต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับโควิด 19 และงานวิจัยในต่างประเทศมากขึ้นเพื่อมารองรับกับสถานการณ์ ประมาณว่าเราก็เริ่มนับหนึ่งกับการเกิดโรค ส่งผลทำให้เราต้องตื่นตัวมากขึ้น 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ช่วงแรก ๆ ที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 มาได้สักพัก 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานช่วยเหลือกัน

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ความประทับใจ คือ สิ่งสำคัญที่เราผ่านพ้นวิกฤตนี้มาได้คือความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่ายตั้งแต่คนที่ลงพื้นที่ยันคนที่วิเคราะห์ Data เพราะทุกคนไม่ได้มองว่าใครสำคัญกว่าใครในเชิงของการทำงาน เราสำคัญเท่ากันและเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในช่วงสถาการณ์ที่ผ่านมางานที่เรารับผิดชอบหลักในช่วงนั้นคือ ทำอย่างไรก็ได้ให้น้ำบริโภคที่คนไทยดื่มเข้าไปปลอดภัย ตอนนั้นจำได้ว่าคนกลัวโควิดจากคนสู่คนอย่างเดียว จนลืมเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เพราะโควิดมันกระจายอยู่ทุกพื้นที่ ทำให้เราก็ต้องป้องกันไว้ทุกทาง เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่และเชื้อใหม่ ทางเราก็หาข้อมูลรองรับและได้จัดทำคำแนะนำการดูแลและควบคุมน้ำประปาในระบบผลิตประปาในสถานการณ์ที่ผ่านมา เช่น ตู้น้ำดื่่มหยอดเหรียญ การใช้บริการน้ำดื่มฟรีในองค์กร และอีกหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเราทำทั้งรูปแบบบทความและสื่อวิดีโอ โดยเราอธิบายความรู้เกี่ยวคอรีนที่มันสามารถฆ่าเชื้อได้ เราทำผ่านคลิปวิดีโอและก็เผยแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ทั้งช่อง YouTube ของเราเอง การประปา การท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ผ่านไลน์ อสม. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าน้ำประปาปลอดภัยจากโควิด เพราะในช่วงนั้นเคยมีคลัสเตอร์พบการติดเชื้อจากแหล่งผลิตน้ำดื่ม น้ำแข็ง น้ำประปา แต่ก็ไม่เคยมีเคสเชื้อโควิดปนเปื้อนในน้ำดื่มและน้ำแข็ง ทำให้สามารถได้รับการการันตีว่า หากดำเนินการตามแนวทางที่กรมอนามัยส่งถึงองค์กรที่ผลิตน้ำหรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องก็จะมีโอกาสเสี่ยงระดับต่ำในการบริโภคน้ำในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งเราก็ทำข้อมูลเพื่อมาอธิบายว่าโควิด 19 มันไม่สามารถติดผ่านทางนี้ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเรื่องความยากลำบาก คือ เราต้อง Work from home ทำให้การทำงานของเราทำได้แต่ข้อมูล Data ทางวิชาการจากส่วนงานข้างนอกเท่านั้น แม้ที่จริงเราอยากจะช่วยมากกว่านั้น แต่เราก็เข้าใจว่าข้อจำกัดต่าง ๆ และอีกความยากลำบากหนึ่ง คือ กว่าเราจะเซ็ตระบบในเรื่องของมาตรการต่าง ๆ ได้มันค่อยข้างช้า แม้เราจะหาข้อมูลได้เร็ว เนื่องจากขบวนการทำงานจะช้าในเชิงส่วนบน ทำให้ส่วนตัวคิดว่าอาจจะช้าไปนิดนึง 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ในสถานการณ์ที่ยากลำบากทุกคนต่างกลัวและอาจละเลยบางอย่างไป ส่งผลทำให้องค์กรของเราที่ดูแลเกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลอาหารและน้ำจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพื่อสร้างความมั่นใจต่อการบริโภคของประชาชน รวมทั้งสร้างการรับรู้ที่มีประโยชน์เพื่อให้ประชาชนสามารถนำไปปรับใช้และเข้าใจสถานการณ์มากยิ่งขึ้น ว่า โควิด 19 ไม่ได้ติดเชื้อจากน้ำหรือน้ำแข็ง ประกอบกับเราก็ต้องเริ่มศึกษาเรื่องต่าง ๆ ให้ตามเทรนตามกระแสโรค เพราะตอนที่มีโควิด 19 ถือว่าเป็นเรื่องใหม่มาก ๆ ทำให้เราต้องศึกษาเรื่องหรือโรคใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้รองรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ เช่น ไมโครพลาสติก หรือประเด็นแปลก ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

พยาบาล รพสต. จังหวัดยะลา เล่าถึงประสบการณ์การรณรงค์วัคซีนโควิดในชุมชนมุสลิม ที่มีความเชื่อตามหลักศาสนา และการที่ต้องมีบทบาทหลากหลายนอกเหนือจากการเป็นพยาบาล เพื่อตอบสนองต่อปัญหาโควิด

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จุดฉีดวัคซีน

คนขับรถตู้ส่งผู้ป่วยกลับบ้านเล่าเรื่องราวสะท้อนผลกระทบต่อผู้คนที่ได้รับบริการ

รถตู้อาสา จิตอาสา

วิสัญญีทราบซึ้งความช่วยเหลือจากคนไทยที่มอบให้บุคลากรทางการแพทย์และสะท้อนความรู้สึกสะเทือนใจที่ได้เห็นผู้ป่วยหนักใส่ท่อช่วยหายใจ

วิสัญญีแพทย์ในช่วงโควิด น้ำใจคนไทย