25/06/2024
ข้อคิด “เน้นไปที่ทักษะการบูรณาการมากกว่าการที่เราจะทำแบบเดี่ยว ๆ”
สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร
ชมรมบัณฑิตอาสา เพื่อน้องเพื่อชุมชน มมร.สธ. ก่อตั้งขึ้นมาก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 โดยหลวงพี่นกเป็นผู้ก่อตั้งร่วมกับเพื่อน ๆ มหาวิทยาลัยสงฆ์ ซึ่งจะทำงานด้านชุมชน สิ่งแวดล้อม เด็กด้อยโอกาส และเรื่องการศึกษาเป็นหลัก แต่ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่พลีก ๆ คนไม่มีที่รักษา นอนตายอยู่ตามบ้าน คนล้นออกมาอยู่นอกโรงพยาบาล ทำให้เราต้องออกมาช่วยเหลือหรือเคลื่อนไหวอะไรบ้างอย่าง เราจึงได้สร้างเครือข่ายแห่งการแบ่งปัน Help Society
ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า
ตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดในระลอกที่ 1 – 4
มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ)
อาสาสมัคร เข้ามาช่วยเหลือในการติดต่อประสานกับผู้ป่วย, มูลนิกระจกเงาและเส้นด้าย เข้ามาทำงานร่วมกันในโครงการยืมถังออกซิเจน
เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบากเรา
หลวงพี่ทำชมรมบัณฑิตอาสา เพื่อน้องเพื่อชุมชน มมร.สธ มาเกือบ 10 ปี และสะสมเครือข่ายไว้มากประกอบในช่วงโควิด 19 ระบาดระลอก 1 เราก็ช่วยเหลือด้วยการเปิดโรงทาน แต่ในระลอก 4 ที่พลีกมาก ๆ คือ คนนอนตายตามบ้าน คนไม่มีที่รักษา และไม่มีรถรับส่ง หลวงพี่นั่งดูข่าวที่รถแท็กซี่ตกงานรวมตัวกันไปจอดประท้วงหน้ากระทรวงคมนาคมเป็นหมื่น ๆ คัน ทำให้หลวงพี่เกิดไอเดียว่ามีรถตั้งเยอะทำไมไม่มาใช้ หลวงพี่จึงโทรหาเครือข่ายรถแท็กซี่และต้องการรถกึ่งอาสาที่จะมาคอยรับส่งผู้ป่วยในช่วงโควิด โดยหลวงพี่ให้วันละ 1,000 บาท หลวงพี่ก็ได้มา 20 คัน พอได้รถมาหลวงพี่ก็เริ่มทำงานในกรุงเทพปริมณฑลก่อน ทำให้นี้คือจุดเริ่มต้นสู้ภัยโควิดของชมรมบัณฑิตอาสา ซึ่งช่วยเหลือในพื้นที่สีแดงก่อน แม้ตัวหลวงพี่จะอยู่ชุมพรแต่ด้วยความที่มีเครือข่ายเยอะทำให้สามารถติดต่อสื่อสารและช่วยเหลือกันได้ง่าย อีกทั้งเปิดโครงการยืมถังออกซิเจนที่ทำงานร่วมกับมูลนิธิกระจกเงากับเส้นด้าย ประกอบกับยังเปิดเครือข่ายแห่งการแบ่งปัน Help Society ในการช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันโครงการก็ยังดำเนินอยู่ ส่วนความยากลำบากน่าจะเป็นในเรื่องการขับเคลื่อนของภาครัฐที่ผิดพลาด ทำให้ชีวิตเกิดการสูญเสียเป็นจำนวนมากคือ การไม่รู้จักการทำงานร่วมกันหรือการบูรณาการในสภาวะต่าง ๆ มันก็เลยไม่แข็งแรง เพราะต่างคนต่างทำหน้าที่
สิ่งที่ได้เรียนรู้
หลวงพี่ได้ถอดบทเรียนการทำงานของตนเองให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครในเรื่องกระบวนการทำงาน หลวงพี่เขียนการจัดการด้วยกัน 5 ข้อ ส่งให้แก่ผู้ว่าเพื่อนำไปปรับใช้ พอผู้ว่าปรับการทำงานทำให้สมุทรสาครสามารถควบคุมได้ ซึ่งหลวงพี่แนะนำในการสร้างเครือข่ายผ่าน LINE Office ใช้ในการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ทั้งยังแนะนำให้ทำโรงพยาบาลสนามเพิ่มเพื่อสกัดผู้ป่วย สะท้อนให้เห็นว่าสมุทรสาครถอดโมเดลการทำงานของหลวงพี่และไปขยายในระดับจังหวัดได้ "