แพทย์เล่าถึงการทำงานกับชุมชนแออัด โดยใช้แกนนำในครอบครัวเป็น focal point ในการติดตามผู้ป่วย และผู้ติดเชื้อ และการสอนการตรวจ ATK โดยใช้หุ่นจำลอง

26/06/2024

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ตอนที่โควิดระบาดในสถานบันเทิงทองหล่อ เป็นการระบาดในวงกว้างที่เกิดมาจากการไม่กักตัว ซึ่งเมื่อเห็นปัญหาเราจึงพยายามหาวิธีการแก้ไข โดย ณ ตอนนั้นเราได้เห็นโอกาสว่าการป้องกันตนเองจะสามารถเป็นไปได้จริงไหม หากมีการใส่แมสและล้างมือ ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการเห็นถึงความร่วมมือระหว่างประชาชนกับภาครัฐ ซึ่งทางทีมด้านสาธารณสุขก็ได้ไปร่วมกับสำนักงานเขต รวมถึงภาคประชาชน โดยมีมุมมองว่าถ้าเรารู้ไปพร้อม ๆ กันตั้งแต่เคสแรก ก็จะสามารถรู้ต่อไปว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ที่เริ่มมีเคสแรก 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

สำหรับการขอรับบริจาค มีการขอรับบริจาคตามที่เห็นว่าสมควร อาทิ เห็นเด็กก็จะขอบริจาคหนังสือ แล้วก็ตุ๊กตามือสอง เป็นต้น ส่วนอื่น ๆ ก็อาจจะมีบ้างอย่างการขอรับบริจาคไข่ อาหารแห้ง เพื่อให้คนที่มีการกักตัว 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ความยากลำบากของโควิดในช่วงนั้น คือ เรื่องของการที่ประชาชนไม่ได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว รวมถึงเรื่องระบบของการรายงานโรคที่มันค่อนข้างล่าช้า จึงมีการใช้วิธีการปรับเปลี่ยนก็คือ ถ้ามีคนในพื้นที่ หรือใครเห็นว่าระแคะระคายอะไรนิดนึงให้แจ้งมาได้เลยจะได้รู้ตั้งแต่เคสแรก ๆ โดยเราได้ลองวิธีนี้กับชุมชนในวิวัฒนา ซึ่งในช่วงเดือนพฤษภาคมเกิดการแออัดขึ้นในชุมชน บ้านหนึ่งบางทีอยู่ 10 กว่าคน เราจึงเริ่มใช้กลไกถ้าเจอเคสแรกต้องไม่ปกปิดข้อมูล โดยจะใช้แกนนำจิตอาสาในชุมชนหรือเรียกว่าใช้เป็นกระบวนการภาคีเครือข่าย ทุกครอบครัวจะต้องมีแกนนำดูแลในครอบครัว นอกจากนี้ยังได้พูดคุยทำความเข้าใจกับชุมชนในเรื่องของการกักตัวว่าไม่ต้องกังวลและตกใจ ซึ่งเราจะเตรียมการเยี่ยวยาไว้ให้โดยการหาเครือข่ายภาคเอกชน รวมถึงมีการโทรไปประสานกับหัวหน้างานของแต่ละบริษัทให้เข้าใจ เพื่อให้ชุมชนมีการเตรียมความพร้อมเรื่องของการกักตัว เพราะที่ผ่านมาหรือจากเหตุการณ์คนไม่กักตัวสาเหตุส่วนใหญ่นั้นมาจากความกังวลว่าจะตกงาน ถูกไล่ออก และไม่มีการเยี่ยวยา โดยเมื่อมีการใช้กระบวนการนี้ตั้งแต่เคสแรกก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ มี 7 หลังคาเรือน หรือมีแค่ 38 คนเท่านั้นที่เป็นโควิด จากทั้งหมด 200 กว่าคน 31 หลังคาเรือน และท้ายที่สุดในสถานการณ์ตอนนั้นยังได้มีการขอความร่วมมือกรมวิทย์ เพื่อมาตรวจสอบเชื้อ เจาะภูมิคุ้มกัน เพื่อพิสูจน์ว่ามาตรการนี้สามารถป้องกันได้จริง ๆ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เรียนรู้ปัญหาอุปสรรค และกระบวนการในการแก้ไข เรียนรู้ว่าทุกอย่างมีทางออก และการอาศัยเครือข่าย ความเข้าใจที่ตรงกันสามารถทำให้การควบคุมโรคประสบความสำเร็จ

แพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เล่าเรื่องรูปแบบการจัดการวัคซีน Hack vax

ศูนย์บริการฉีดวัคซีนเซ็นทรัลโคราช แพลตฟอร์ม Hack Vax

นักเทคนิคการแพทย์จังหวัดภูเก็ต เล่าถึงประสบการณ์การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกินกำลังปกติจะรองรับ

นักเทคนิคการแพทย์ การตรวจหาเชื้อโควิด 19 Real Time RT-PCR NPS swab

พยาบาลอุดรธานี ร่วมทำโครงการรับคนอุดรกลับบ้าน (ตำบลสาวถี)

โครงการรับคนกลับบ้าน โครงการรับคนอุดรกลับบ้าน