นักวิชาการสาธารณสุขดูแลแรงงานข้ามชาติในตลาดกุ้ง เล่าความกลัวของการไม่มีเครื่องป้องกันและกังวลความรุนแรงจากโควิด

26/06/2024

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

เบื้องต้นเป็นนักวิชาการสาธารณสุข รับหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกแรงงานข้ามชาติ แต่พอช่วงที่โควิดระบาดหนัก ๆ ในสมุทรสาคร ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่กับเพื่อนอีก 1 คน เพื่อไปดูแลผู้ป่วยที่ตลาดกลางกุ้ง ซึ่งเป็นที่แรกที่มีคัดเตอร์แรงงานข้ามชาติเป็นโควิดจำนวนมาก 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ตั้งแต่วันแรกที่มีการระบาดในตลาดกลางกุ้ง ซึ่งอยู่ประมาณช่วงปี พ.ศ. 2563 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

เมื่อที่ตลาดกลางกุ้งรองรับผู้ป่วยได้ไม่หมด จึงมีการส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลสนามกีฬาสมุทรสาคร ซึ่งจุผู้ป่วยได้มากถึง 700 คน และได้รับแรงสนับสนุนจากโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ส่งบุคลากรเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นคุณหมอ พยาบาล และเภสัช นอกจากนี้ยังมีการขอความช่วยเหลือจากอาสาสมัครต่างด้าว (อสต.) ในการเป็นล่ามแปลภาษาพม่าและช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยกันเอง 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ตอนแรกหัวหน้าได้ลงในกลุ่มว่ามีการระบาดในตลาดกุ้งจำนวนมาก ซึ่งตอนนั้นเป็นช่วงเวลาประมาณ 1 ทุ่มก็ได้มีการแสตนบายและลงพื้นที่กันไปเลย โดยที่ยังมีไม่มีชุด PPE มีแค่หน้ากากอันเดียว ซึ่งเรายังจำความรู้สึกนั้นได้ดี เป็นความรู้สึกที่กลัวกันมาก เพราะตอนนั้นไม่มีอะไรมาเป็นแรงสนับสนุนเลย ทุกคนต่างตื่นเต้น อีกทั้งยังเล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ช่วงที่ได้ไปซื้อข้าวกับเพื่อนอีกหนึ่งคนข้างนอก แต่ไม่สามารถนั่งทานข้าวในร้านได้ เนื่องจากตนและเพื่อนนั้นมีการใส่ชุดสาธารณสุขอยู่ แม่ค้าพ่อค้าแถวนั้นจึงมีความกลัวว่าใส่ชุดนี้ต้องไปดูแลผู้ป่วยโควิดมา กลัวว่าจะนำเชื้อมาติดเขา เรากับเพื่อนจึงต้องไปนั่งกินข้าวที่ป้ายรถเมล์แทน เนื่องจากในตลาดที่ไปลงพื้นที่ก็ไม่สามารถนั่งทานได้ เพราะมีผู้ป่วยนอนอยู่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีคนมาสนับสนุนเอาข้าวมาให้และย้ายผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลสนามกีฬาสมุทรสาคร โดยผู้ป่วยที่เราได้เข้าไปช่วยเหลือ ณ ช่วงนั้นมีทั้งผู้ใหญ่ เด็ก และคนท้อง ซึ่งตอนนั้นก็ได้มีการสร้างอาสาสมัครต่างด้าวขึ้นมาเพื่อให้เขามีการแปลภาษาและช่วยเหลือกันเองด้วย เนื่องจากล่ามไม่พอ โดยการทำงานครั้งนี้ก็มีความกลัวที่จะติดโควิดเหมือนกัน และมีความกังวลว่าจะทำยังไงให้ไม่เป็น เพราะเราเป็นคนในพื้นที่สมุทรสาครต้องกลับบ้าน ซึ่งที่บ้านมีพ่อแม่และผู้สูงอายุ จึงมีความกังวลเรื่องการใช้ชีวิตที่บ้าน แต่สำหรับการทำงานเรามองว่าเป็นเรื่องดีที่ทำให้ตนนั้นมีประสบการณ์ที่ไม่เคยเจอ อีกทั้งยังเกิดความประทับใจทั้งต่อตัวแรงงานต่างด้าวและบุคลากรทุกคนที่มีความร่วมไม้ร่วมมือกันให้เหตุการณ์ครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

การทำงานตรงนี้เราได้เรียนรู้ถึงความแข็งแกร่งและความอดทนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้บอกว่า ความเป็นเลือดสาธารณสุขไม่ว่าจะเกิดโรคระบาดอะไรก็ตามต้องมีความว่องไวและมีไหวพริบ รวมถึงต้องมีทีมที่ดี นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ว่าการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจหรือการเข้าไปพูดคุยกับแรงงานต่างด้าวช่วงก่อนหน้าที่จะมีโควิดนั้นสามารถเอื้อให้เกิดประโยชน์ได้ เพราะช่วงสถานการณ์ที่มีโควิดขึ้นทำให้แรงงานต่างด้าวมีความเต็มใจที่จะเข้ามาช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเต็มใจ

ต้อหิน…ภัยเงียบที่น่ากลัว

ต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นถาวรที่พบได้มากที่สุด มีคนไทยมากกว่า2ล้านคนเป็นต้อหิน และกว่า76ล้านคนทั่วโลกในปี2020

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก

โรคภูมิแพ้(hypersensitivity)โรคที่เกิดจาการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารเกิดภูมิแพ้ เช่นอาหาร ไรฝุ่น เกสรดอกไม้

การวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

การกล่าวถึงบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบางรายในสิ่งพิมพ์ที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการรับรองหรือแนะนำโดย WHO มากกว่าบริษัทอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งไม่ได้กล่าวถึง ยกเว้นข้อผิดพลาดและการละเว้น ชื่อของผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรรมสิทธิ์จะแยกความแตกต่างด้วยอักษรตัวใหญ่เริ่มต้น