สพฉ. เล่าเรื่องความร่วมมือจากประชาชนในการระดมความช่วยเหลือและทรัพยากร สนับสนุนการส่งผู้ป่วยฉุกเฉินของ สพฉ.

26/06/2024

ข้อคิด “ช่วงโควิดเราไม่ต้องการพาคนไข้ไปโรงพยาบาล แต่ต้องการหาเตียงให้เขา ดังนั้น ที่ไหนก็ได้” 

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

สพฉ. เป็นหน่วยปฏิบัติการที่มีหน้าที่ในการรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิกไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งถ้าตามระบบปกติคนไข้ฉุกเฉินก็จะเป็นภารกิจของ สพฉ. แต่ว่าพอเป็นช่วงสถานการณ์โควิดคนไข้โควิดจะไม่ใช่คนไข้ฉุกเฉินทั้งหมด ซึ่งจะเป็นคนไข้ฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นในช่วงสถานการณ์โควิดเมื่อคนไข้มีการโทรมาที่ 1669 ทางเราหรือทีมเองก็ต้องมีการแยกว่าเป็นคนไข้ฉุกเฉินหรือไม่ นอกจากนี้ช่วงโควิด สพฉ. ยังกลายเป็นเบอร์โทรหลักที่ประชาชนโทรหา ทำให้ได้ผลกระทบหนักมาก เพราะว่าโทรศัพท์แทบไม่ว่าง 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

เริ่มตั้งแต่ช่วงที่มีโรงพยาบาลสนามที่เมืองทอง 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

มีประชาชนจิตอาสาที่มีรถเอารถมาทิ้งไว้ให้ใช้ รวมถึงคนที่เป็นนักแสดงตลกด้วยที่มีการนำรถที่เขาไม่ได้ใช้มาทิ้งไว้ให้ใช้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเขาเคยเอารถไปรับส่งเวลามีงานหรือคอนเสิร์ตแต่ช่วงนั้นไม่มี และมีบริษัทเอสโซ่ให้คูปองน้ำมันที่สามารถไปเติมที่ไหนก็ได้ รวมถึงมีเอกชนจำนวนมากมาบริจากชุด PPE อีกทั้งทางองค์กรก็ได้มีการเปิดรับบริจาค ถุงมือ หน้ากาก และมีไปรษณีย์ไทยมาช่วยส่งให้ฟรี 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ความยากลำบาก คือ การที่โควิดเป็นโรคหรือสถานการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน ทุกอย่างจึงถูกรันไปเป็นวัน ๆ หรือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อย ๆ ทั้งที่ตามหลักแล้วมีการกำหนดกฎหมายหรือแนวปฏิบัติไว้ และจากการทำงานครั้งนั้นเรามองว่าการที่จะผ่านเหตุการณ์ไปได้ มันต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่หลายภาคส่วนเข้ามาช่วยเหลือกัน อีกทั้งเรายังต้องทำงานแบบแทบจะมากินมานอนมานั่งอยู่ที่ทำงาน และมีการทำงานกันแทบจะไม่มีวันหยุด ในขณะที่คนอื่นอาจจะกักตัวอยู่ที่บ้าน แม้แต่ญาติพี่น้องติดโควิดก็ยังมาทำงาน ซึ่งก็ไม่มีใครมาพูดถึงเรื่องค่าตอบแทนอะไรเลย โดยสำหรับในมุมของเราสิ่งนี้ถือเป็นความประทับใจที่มีคนจำนวนมากทั้งในองค์กรและนอกองค์กรที่ยินดีที่จะช่วยคนอื่น และไม่นึกถึงความเสี่ยงของตนเอง ไม่โวยวาย แต่ต่างทำงานตามหน้าที่ของตนเอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เรียนรู้ว่าไม่มีเรื่องไหนที่แก้ไขไม่ได้ ภายใต้ข้อจำกัดที่มีมันทำให้เห็นว่ามันเป็นความยากลำบากที่จะผ่านมันไปได้ และมันจะเกิดความสุขที่ผ่านมาได้ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นผู้บริหารจะไม่ทิ้ง ซึ่งก็ทำให้ทางทีมของเรามีความผูกพันกัน เพราะจากสถานการณ์ที่ผ่านมาก็ยังมีปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้ อาทิ การจ่ายเงินพลาด แต่ผู้บริหารไม่เคยตำหนิเลย และยังเข้าใจถึงข้อจำกัดว่าผิดพลาดกันได้ รวมถึงให้กำลังใจทีมงานเสมอ 

พยาบาล IC จังหวัดภูเก็ต เล่าถึงระบบแจ้งเตือนของเครือข่าย IC เพื่อรองรับโรคระบาด และการจัดระบบ รวมถึง surge capacity ในโรงพยาบาล

เจ้าหน้าที่ IC การทำงานของเจ้าหน้าที่ IC ระบบแจ้งเตือนของเครือข่าย IC

พยาบาลเล่าเรื่องการปรับหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพื่อรองรับผู้ป่วย COVID และร่วมมือกับจุฬาฯ ออกแบบตู้ป้องกันเจ้าหน้าที่จากการติดเชื้อ COVID

การปรับหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล การปรับตัว การให้กำลังใจ

พยาบาลตรังทำงานร่วมมือกับชุมชน

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด ปฏิบัติการปิดหมู่บ้าน ความร่วมมือระหว่างชุมชนกับหน่วยงาน