พยาบาลลูกอ่อน เล่าถึงความประทับใจในการปฏิบัติงานในช่วงโควิด

27/06/2024

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

แตกต่างกัน ช่วงที่ยังไม่มีโควิดเราอยู่ที่แผนกอายุรกรรม ปกติแล้วโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นจะรับผู้ป่วยในภาคอีสานใต้และยอดจำนวนคนไข้ก็จะเยอะ มันก็ค่อนข้างที่จะลำบากเพราะเราไม่ได้จำกัดในการรับคนไข้ พอในช่วงที่สถานการณ์โควิด 19 ระบาด ยิ่งเพิ่มความยากลำบากในการทำงานเพราะว่าจำนวนคนไข้เยอะ คนติดเชื้อโควิดเยอะ ในช่วงแรกที่มีโควิดเราก็อยู่ตึกอายุรกรรม แต่พอหลัง ๆ โรงพยาบาลเปิดตึกที่เป็นคนไข้โควิดเฉพาะและโรงพยาบาลสนาม เราก็สลับสับเปลี่ยนการดูแลที่สามารถช่วยดูแลคนไข้ แต่ก็อาจไม่มากพอเพราะคนไข้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 ระบาดระลอกที่ 2 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

บุคลากรภายในโรงพยาบาลขอนแก่นไม่ว่าจะหน่วยงานหรือแผนกงานใด ๆ ต่างก็มาร่วมแรงร่วมใจในการต่อสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ช่วงที่โควิดเข้ามาแรก ๆ เราก็พร้อมที่จะทำหน้าที่ของเราทำให้ในช่วงนั้นต้องทำงานหนักมาก ๆ รวมทั้งคนไข้ก็เยอะมาก ๆ เช่นกัน เราไม่รู้เลยว่าคนไข้แต่ละคนที่เข้ามาแอดมิทจะมีเชื้อโควิดหรือเปล่า บางคนตรวจไม่เจอแต่มาตรวจเจอที่ตึก ซึ่งการทำงานค่อนข้างที่จะยากมาก ๆ ประกอบกับการคัดกรองคนไข้ในช่วงแรกยังใช้ ATK และมีราคาสูง ทำให้โรงพยาบาลต้องเพิ่มงบประมาณในการซื้อเพราะมันมีค่าใช้จ่ายสูงในการคัดกรองเบื้องต้น บางทีไม่สามารถคัดกรองได้ครั้งเดียว บางทีก็มาเจอตอน RC-PCR รวมทั้งชุดที่เจ้าหน้าที่ต้องใส่ปฏิบัติงานชุด PPE ในช่วงที่ตึกโควิดรับคนไข้เต็ม คนไข้โควิดส่วนหนึ่งที่กักตัวครบกำหนดต้องย้ายมาอยู่ตึกสามัญ โดยมีการแบ่งโซนคนไข้ มีการประสานงานต่าง ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องทำงานกันอย่างหนักและต้องแบ่งโซนในการดูแลผู้ป่วย ทำให้ในช่วงนั้นเราทำเกือบทุกอย่าง แต่ก็มีน้อง ๆ พยาบาลทุกคนก็ร่วมมือร่วมใจดูแลคนไข้เป็นอย่างดีและยินดีที่จะเข้าเวรโดยไม่มีการเกลี่ยงกัน ซึ่งช่วยกันร่วมมือกันทำให้มีทั้งช่วงเวลาที่เหนื่อยล้า ดีใจ มีทั้งช่วงเวลาที่เจ้าหน้าที่ต้องกักตัว เพราะสัมผัสกับคนไข้ที่เป็นโควิด แต่เราทุก ๆ คนก็สามารถผ่านพ้นกันมาได้ด้วยความสามัคคี ความร่วมมือ และความเสียสละของเจ้าหน้าที่ทุกคนเพื่อให้พ้นสถานการณ์ที่วิกฤตออกมา ร่วมทั้งคนไข้ก็ให้ความร่วมมือร่วมใจทำให้ความประทับใจส่วนมากจะเป็นจะเกี่ยวกับตัวคนไข้ ประมาณว่าคนไข้จะเล่าให้เราฟังว่าเขารู้สึกยังไง บางทีก็ญาติผู้ป่วยโทรมาทางตึกเพื่อสอบถามอาการ และเราก็เป็นสื่อกลางในการให้เขาได้มีโอกาสคุยกับญาติเขา อีกทั้งคนไข้ก็ให้ความร่วมมือเต็มที่ต่อการรักษาและการปฏิบัติตัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีค่าเป็นความทรงจำที่ดี ๆ สำหรับเจ้าหน้าที่และคนไข้ทุกคนที่เราได้มีโอกาสช่วยเหลือ โดยเราไม่เคยติดโควิด แม้จะต้องทำงานในสถานที่สุ่มเสี่ยงกับการติดเชื้อแต่เราปลอดภัยมาตลอดเพราะในช่วงแรกที่เกิดการแพร่ระบาดนั้นเราพึ่งคลอดลูกได้ 3 เดือน ทำให้ต้องเซฟตัวเองมาก ๆ ซึ่งตอนนั้นเราก็มาทำงานตลอดแบบโรงพยาบาล หอพัก วนอยู่แค่สองที่นี้ ทำให้ไม่เจอลูกเกือบ 3 เดือน 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เห็นความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งบุคลากรทางการแพทย์หรือแม้แต่คนไข้ต่างก็ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีทั้งเรื่องที่เป็นสุขและเป็นทุกข์ปะปนกันไป แต่เราก็สามารถผ่านพ้นในช่วงเวลาที่ยากลำบากมาได้ 

WHO เลือกไข้หวัดใหญ่พันธุ์ไทยปั๊ม วัคซีนป้องกัน

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ว่า จากผลการวิเคราะห์ ลำดับพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากทั่วโลก...

เวียนหมุนจากโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

Benign Paroxysmal Positional Vertigo – BPPV เป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะจากโรคหู ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนแบบเฉียบพลัน สัมพันธ์กับท่าทางหรือการขยับศีรษะ พบได้ทุกช่วงอายุ โดยพบมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ

การวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

การกล่าวถึงบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบางรายในสิ่งพิมพ์ที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการรับรองหรือแนะนำโดย WHO มากกว่าบริษัทอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งไม่ได้กล่าวถึง ยกเว้นข้อผิดพลาดและการละเว้น ชื่อของผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรรมสิทธิ์จะแยกความแตกต่างด้วยอักษรตัวใหญ่เริ่มต้น