พยาบาลโรคติดเชื้อเชียงใหม่สะท้อนความสำคัญของการดูแลจิตใจผู้ป่วย

26/06/2024

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

เราเป็นพยาบาลและเป็นหัวหน้า ICN (การป้องกันและการควบคุมโรคติดเชื้อ) โดยเมื่อมีสถานการณ์โควิดเกิดขึ้นในปี 2563 เราก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในเรื่องของการดูแลโควิด ซึ่งเราได้รับผิดชอบทั้งในส่วนของโรงพยาบาลและชุมชน ในสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นช่วงแรก ๆ ชาวบ้านในชุมชนมีความตื่นตระหนก กลัว และระแวง เนื่องจากไม่รู้ว่าโรคโควิดจะมีความร้ายแรงแค่ไหน ทางโรงพยาบาลที่เราทำงานจึงได้ร่วมกับงานระบาดเพื่อออกให้ความรู้กับคนในชุมชนก่อน ซึ่งในช่วงแรกอำเภอที่เราทำงานอยู่ รวมถึงจังหวัดเชียงใหม่ก็ยังไม่เจอกับการระบาดมากนัก แต่ก็ต้องมีการเฝ้าระวังคนที่มาจากต่างจังหวัดที่อาจมีความเสี่ยงสูง อาทิ กรุงเทพมหานคร โดยทางชุมชนจะมีการตั้งด่านตรวจ คัดกรอง ซึ่งหากเสี่ยงสูงก็จะส่งมาทางโรงพยาบาลให้ทำการ Swab นอกจากนี้ทางอำเภอก็จะช่วยลงในส่วนของเรื่องคำสั่ง เรื่องของระเบียบ และเรื่องกฎหมาย 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ตั้งแต่ประมาณช่วงปี 2563 - 2564 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

พอมีสถานการณ์โควิดเกิดขึ้นทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล รวมถึงชุมชนได้มีการเข้ามาช่วยเหลือกัน ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสุขอำเภอ โรงบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่อำเภอ เจ้าหน้าที่เทศบาล ฝ่ายปกครอง และฝ่ายสาธารณสุขเขาจะช่วยกันหมด ร่วมกันวางแผน เช่น ถ้าโรงพยาบาลสนามของจังหวัดเต็มก็ต้องเปิด CI ในส่วนของชุมชน ซึ่งก็ต้องมีการร่วมด้วยช่วยกันทั้งอปภร. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ที่ต้องมาช่วยกันในเรื่องของการเปิด CI รวมถึงหาวัสดุอุปกรณ์มาช่วยกัน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานเอกชนที่อยู่ในอำเภอและนอกอำเภอที่เมื่อรู้ว่าทางโรงพยาบาลมีการรับคนไข้โควิด ก็จะมาบริจาค PPE หน้ากาก และเวชภัณฑ์ เป็นต้น ทางโรงพยาบาลที่เราทำงานอยู่ยังได้รับ High Flow มาจากโรงพยาบาลนครพิง จากส่วนกลาง เพื่อมาดูแลคนไข้ที่อาการหนักขึ้นอีกด้วย 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

มีความประทับใจที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น และมองว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ได้ทำงานเกี่ยวกับโรคใหม่ ๆ ซึ่งมีความรู้สึกประทับใจที่ได้มีโอกาสและได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ให้วางระบบและบริหารจัดการในส่วนนี้ โดยจะมีแพทย์คอยให้คำปรึกษาและร่วมด้วยช่วยกันด้วย รวมทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลก็ได้รับกำลังใจ และได้ความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ทุกส่วน มาทำงานช่วยกันหมด หรือเป็นการทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อสนับสนุนการทำงานของกันและกันให้ผ่านวิกฤตไปได้ อย่างเช่น หน่วยงานพัสดุก็จะบริหารจัดการเครื่องมืออุปกรณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งรับบริจาค และแจกจ่ายของให้เพียงพอพร้อมใช้ รวมถึงหาอุปกรณ์เพิ่มเรื่อย ๆ ส่วนการเงินบัญชีก็จะมาช่วยเรื่องของการทำ DIY ในอุปกรณ์ป้องกันที่เมีไม่เพียงพอ เช่น เฟสชิว 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เรียนรู้ในเรื่องของความร่วมมือ ซึ่งกล่าวว่าถ้างานครั้งนั้นไม่ได้รับความสนใจ เอาใจใส่ หรือว่าความช่วยเหลือจากชุมชนและเอกชน องค์กรหรือทีมบุคลากรก็คงจะรับมือไม่ไหวเนื่องจากต้องตั้งรับ ซึ่งเชิงรุกก็ทำได้เพียงแค่การให้ความรู้ แต่ประชาชนจะตระหนักหรือให้ความร่วมมือหรือเปล่ามันเป็นก็ความลำบาก ดังนั้นก่อนที่จะขอความร่วมมือจากประชาชน จึงจำเป็นต้องมีการประชุม ชี้แจงให้เขาได้เข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นห้างร้าน ผับบาร์ คาราโอเกะ ร้านตัดผม ที่อยู่ในชุมชน เพื่อมาทำความเข้าใจก่อน ซึ่งก็ประทับใจมากที่ไม่ว่าจะขอความร่วมมืออะไรไป หรือประกาศอะไรไป ก็ค่อนข้างจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี 

อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรม เล่าเรื่องการพัฒนาตู้เย็น และแจกจ่ายให้โรงพยาบาลในช่วงโควิด

โครงการ “FTI ช่วยชาติสู้ Covid 19” เครือข่ายสภาอุตสาหกรรม

พยาบาลดูแลหอผู้ป่วยพิเศษ ต้องเข้ามาร่วมดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะวิกฤต เล่าถึงการดูแลผู้ป่วยในช่วงสุดท้าย ให้มีโอาสได้สื่อสารกับญาติ และการบอกลาอย่างอบอุ่น

Palliative Care ช่วงสุดท้ายของชีวิต โควิด 19

แพทย์ร่วมทำงาน Co-care สะท้อนความรู้สึก และเล่าการดูแลคนไข้ด้วยระบบออนไลน์

CoCare อาสาสมัคร กลุ่มเปราะบาง