เลขานุการกรมการต่างประเทศเกาหลี พาคนไทยกลับบ้าน

25/06/2024

ข้อคิด “มันก็คล้าย ๆ หลักมนุษยธรรม เพราะในช่วงสถานการณ์นั้นเขาก็คงอยู่ไม่ได้เพราะไม่มีเงินไม่มีงานก็คงอยู่ไม่รอด โรงพยาบาลก็ไม่มีให้ สู้กลับมาอยู่ที่บ้านเกิดจะดีกว่า”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

โดยปกติเราก็ดูแลความเรียบร้อยคนไทยที่อยู่ ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี แต่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 โซลกับโตเกียวถือเป็นที่แรก ๆ ที่มีคนไทยตกค้าง ตั้งแต่ช่วงที่นายกรัฐมนตรีประกาศปิดเที่ยวบินเข้าประเทศ ทำให้โซลเป็นที่ที่เริ่มทำทุกอย่างเพราะกระทรวงต่างประเทศสั่งให้ดูแลคนไทยตกค้าง ความท้าทายของเราในตอนนั้นคือ ทำให้เจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ไม่เกิน 20 คน สามารถดูแลการอพยพคนไทยหลายหมื่นคนกลับจากเกาหลีใต้ในช่วงวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตได้วางระบบการดูแลการส่งคนไทยกลับบ้านที่คัดกรองคนป่วยและคนกลุ่มเปราะบางเป็นพิเศษ เช่น เหยื่อความรุนแรง คนท้อง หรือคนที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ในสภาวะที่มีการจำกัดเที่ยวบินเข้าประเทศไทย และได้ประสานงานการดูแลจนกระทั่งคนไทยเหล่านี้เดินทางถึงประเทศไทยและสามารถเข้ารับการกักตัวในไทยอย่างปลอดภัย 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ตั้งแต่ช่วงที่นายกรัฐมนตรีประกาศปิดเที่ยวบินเข้าประเทศประมาณวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563 แต่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล เริ่มระบบทำการส่งคนไทยกลับประเทศประมาณปลาย ๆ เมษายน 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

มีรัฐบาลไทยเข้ามาช่วยเหลือในการหาไฟล์ทบินและสถานที่กักตัวแก่คนไทยที่เดินทางกลับมาจากเกาหลีใต้, กระทรวงสาธารณะสุข ช่วยในการอำนวยความสะดวกและติดต่อประสานในการหาคุณหมอเพื่อมาอ่านใบรับรองแพทย์และการจัดการระบบส่งคนไทยในเกาหลีใต้กลับประเทศไทย ทั้งยังอำนวยความสะดวกในการหาสถานที่กักตัวพร้อมทั้งดูแลรักษาจนมั่นใจว่าปลอดภัย และสายการบิน ช่วยเหลือเกี่ยวกับการส่งคนไทยเดินทางกลับประเทศไทย 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

คนไทยที่อยู่ที่เกาหลีใต้มีหลากหลายทั้งนักเรียน คนที่ไปทำงาน ตลอดจนผีน้อยที่แอบไปทำงานแบบผิดกฎหมายหรือคนที่อยู่จนวีซ่าหมดมีจำนวนเยอะมาก คนไทยกลุ่มนี้เวลาเขาป่วยและอยู่อย่างผิดกฎหมายเขาจะไม่มีสวัสดิการสุขภาพ และยิ่งในยุคโควิดที่มีการแพร่ระบาดทำให้โรงพยาบาลมีจำกัด คนกลุ่มนี้ก็จะไม่ได้รับการบริการด้านสาธารณสุข ถ้าเขาป่วยเป็นโควิดจะได้รักษา ถ้าป่วยโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็ง หัวใจ หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ เขาไม่ค่อยได้รับการรักษา เพราะทางโรงพยาบาลจะมอบการักษาให้กับผู้ที่ป่วยเป็นโควิดก่อน ทำให้คนไทยเหล่านี้ก็ต้องหาทางกลับบ้าน เพราะอยู่ไปก็ไม่มีงานทำและไม่มีเงิน หน้าที่ของเราในตอนนั้นคือ จัดการให้คนไทยเหล่านี้สามารถเดินทางกลับมาไทยได้อย่างปลอดภัย ซึ่งสถานทูตต้องเป็นคนประสานงานทั้งหมด ตั้งแต่ประสานงานกับรัฐบาลไทย กระทรวงสาธารณะสุข สายการบินในการหาไฟล์ทบิน สถานที่กักตัว ทั้งระบบการคัดกรองและความปลอดภัย สิ่งที่เราต้องทำ คือ ความแน่ใจเพราะถ้ากลับมาแล้วรัฐบาลไทยต้องดูแลกักตัวต่อทันทีที่ลงจากเครื่องบิน ต้องขึ้นรถเพื่อไปกักตัวที่โรงแรมหรือสถานที่ที่กระทรวงสาธารณสุข, รัฐบาลไทย ได้ควบคุม จนกระทั่งพ้นระยะที่ปลอดภัยจึงสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมไทยได้ ความยากลำบากในตอนนั้น คือ เราต้องประสานล่วงหน้าทั้งหมด แม้มันจะค่อนข้างวุ่นวายแต่เราก็ต้องยินดีที่จะทำ ซึ่งระบบคัดกรองในตอนนั้นเรื่องความเจ็บป่วยของคนไทยที่จะเดินทางกลับประเทศ ต้องส่งใบรับรองแพทย์แนบเข้ามา เราก็จะมีปัญหากันว่าเราอ่านกันไม่ออกเพราะเป็นภาษาเกาหลีและเป็นข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งเราเป็นนักการทูตเป็นคนไทยในสถานทูต ตอนนั้นเราก็ไปขอความช่วยเหลือจากกระทรวงสาธารณสุขและท่านก็ใจดีไปหาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเหลือ อีกทั้งพบคนไทยที่ไม่สามารถเดินทางกลับได้เพราะเขาเป็นโรคจิตซึ่งเขาไม่เคยเจอหมอ พอด้วยสถานการณ์ทำให้เขายิ่งออกอาการ ละมาทำร้ายตัวเองหน้าสถานทูต ในตอนนั้นเราก็แก้ปัญหากันไป 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นคือ คนไทยมีเยอะมากและป่วยเป็นโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็ง หัวใจ หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ คนไทยเหล่านี้ก็ต้องหาทางกลับบ้าน เพราะอยู่ไปก็ไม่มีงานทำ พอโควิดมามันยิ่งทำให้หลาย ๆ อย่างหยุดชะงัก ทำให้คนเหล่านี้ต้องหยุดงานและไม่มีเงิน บางทีโดยไล่ออกจากงาน หากยิ่งป่วยด้วยก็ยิ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงจะเสียชีวิต เราจึงได้เห็นความยากลำบากของคนไทยในเกาหลีใต้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้คนไทยบางคนตกงาน ไม่มีงานและไม่มีเงิน ตลอดจนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ ทั้งยังหากอยู่อย่างผิดกฎหมายก็ไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ส่งผลให้คนกลุ่มนี้ต้องเดินทางกลับประเทศไทย แต่ในทางกลับกันก็ไม่ใช่ว่าคนไทยทุกคนอยากจะเดินทางกลับเพราะบางคนก็อยู่สู้ต่อ ในตอนนั้นเราถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนไทยให้กลับบ้าน ทำให้เราต้องทำระบบคัดกรองคนให้มีคุณภาพมากที่สุด เพื่อความปลอดภัยในทุก ๆ ฝ่าย เพราะเรามองว่าถ้าคนไทยเดินทางกลับหรือเสียชีวิตระหว่างทางเครื่องบินก็ไม่อยากรับ ดังนั้นเราต้องทำให้สายการบินต้องอุ่นใจว่าคนไทยที่ขึ้นเครื่องปลอดภัย และในทางกลับกันก็ไม่อยากให้คนไทยด้วยกันเองมองผีน้อยในเชิงลบว่าเป็นคนนำเชื้อโรคเข้ามาในประเทศ ทำให้เราต้องคัดกรอกอย่างเคร่งครัดและเป็นอย่างดี เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และคนไทยหรือผู้โดยสารที่อยู่ในลำเดียวกันปลอดภัยและก็จะได้ไม่เสี่ยงกับโควิด หลังจากที่สถานการณ์สงบลงและประเทศกลับมาเปิดเหมือนเดิมเราก็ได้ปิดระบบลง แต่เรานำประสบการณ์ และระบบดังกล่าวในช่วงสถานการณ์โควิดในเรื่องการคัดกรองคนมาแปลงระบบเป็นช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงให้สามารถเดินทางกลับไทย 

อนามัยโลกชี้ สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" เป็น "สารก่อมะเร็ง"

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก

โรคภูมิแพ้(hypersensitivity)โรคที่เกิดจาการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารเกิดภูมิแพ้ เช่นอาหาร ไรฝุ่น เกสรดอกไม้

เวียนหมุนจากโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

Benign Paroxysmal Positional Vertigo – BPPV เป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะจากโรคหู ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนแบบเฉียบพลัน สัมพันธ์กับท่าทางหรือการขยับศีรษะ พบได้ทุกช่วงอายุ โดยพบมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ