แพทย์ร่วมทำงาน Co-care สะท้อนความรู้สึก และเล่าการดูแลคนไข้ด้วยระบบออนไลน์

26/06/2024

ข้อคิด “ทุกคนก็อยากช่วยแต่ไม่รู้จะช่วยยังไง CoCare จึงเหมือนเป็นจุดศูนย์กลางที่จะดูแลเคส ถ้าคนอื่นจะมาช่วยเราก็พร้อมสนับสนุน”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ปกติทำงานวิจัย แต่พอช่วงโควิดที่มีเคสผู้ป่วยเยอะขึ้น ตอนแรกก็ไม่รู้จะช่วยยังไงแต่เห็นทาง CoCare เปิดรับสมัครอาสาก็เลยสมัครเข้าไป 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ประมาณช่วงสายพันธุ์เดลต้าระบาด ปี พ.ศ. 2564 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

ร่วมมือกับสภากาชาติ เรื่องการขอยาเพื่อรักษาเคสผู้ป่วย ประสานกับสภาเทคนิคการแพทย์ช่วยดูแลเรื่องการตรวจให้ แล้วก็รับอาสาทางการแพทย์ไปช่วยทำ Swab และดูแลคนไข้ นอกจากนี้ยังมีมูลนิธิอิสรชน กลุ่มคลองเตยดีจัง จิตอาสาพระราชทานที่มาช่วยกัน 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ช่วงที่โควิดระบาด CoCare ตั้งขึ้นมาโดยทีมเล็ก ๆ จากนั้นค่อยเปิดรับอาสาทางการแพทย์เพื่อช่วยดูแลคนไข้ ซึ่งช่วงแรก CoCare ไม่ได้ดูแลเคสของผู้ป่วย แต่เป็นการสร้าง LINE Official Account ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่ต้องการรับคำปรึกษาเรื่องโควิดได้เข้ามาสอบถาม แต่พอสถานการณ์เริ่มหนักขึ้น มีคนไข้เยอะขึ้น CoCare ก็เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่เริ่มให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่บ้าน เพราะเล็งเห็นว่าสถานพยาบาลเริ่มจะรับดูแลไม่ไหว อีกทั้งยังมีการรับผู้ป่วยมาดูแล โดยอุปสรรคที่พบเจอให้ช่วงนั้นคือ ปัญหาของการเข้าถึงยาฟาวิซึ่งเป็นยาหลักในการรักษาที่จะต้องจ่ายผ่านสถานพยาบาล เนื่องด้วยกลุ่มอาสาไม่สามารถไปหายาได้ จึงเกิดความร่วมมือกับสภากาชาติ เพื่อหายามาให้กับเคสผู้ป่วย นอกจากนี้ ในช่วงหลัง CoCare ยังมีการขยายงานไปลงพื้นที่ตรวจโควิดให้กับคนที่เข้าไม่ถึง เช่น ชุมชนคลองเตย กลุ่มคนไร้บ้าน และกลุ่มแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นการประสานกับสภาเทคนิคการแพทย์ และรับอาสาทางการแพทย์ไปช่วยทำ Swab อีกทั้งยังมีการสอนอาสาสมัครในชุมชนให้ทำได้เพื่อที่จะได้ตรวจด้วยตนเอง โดยการทำงานคุณไก๋เล่าว่าก็มีความยากและได้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ได้ทราบถึงการมีน้ำใจของคนไทยที่มาช่วยกันเช่นเดียวกัน 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

จากการเข้าไปทำทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้ตัวเองรู้สึกว่างานระบบสุขภาพในกรุงเทพยังต้องทำอีกเยอะ ได้เห็นจุดอ่อนของระบบบริการสุขภาพในกรุงเทพ และเห็นปัญหาการเข้าถึงบริการของกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มคนไร้บ้าน ประชากรคนต่างด้าวที่ยังตกหล่นในระบบอยู่จำนวนมาก ซึ่งพวกเขามักจะพบเจอปัญหาเยอะในเวลาที่เกิดวิกฤต สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้ยังทำให้รู้ถึงข้อดีของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการดูแลคนไข้ออนไลน์ อีกทั้งยังเห็นถึงการปรับตัวของคนไทยในการรับมือกับวิกฤต

คุณลุงเกษียณติดโควิด และแพร่เชื้อให้คนทั้งบ้าน เล่าประสบการณ์การติดเชื้อผ่านบทกวี

ผลข้างเคียงจากการติดเชื้อโควิด 19 วัคซีนเข็มที่ 7

นักวิชาการสาธารณสุข จังหวัดลำปาง (LGBTQ+) เล่าประสบการณ์การสื่อสารในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดชาวต่างชาติ ซึ่งตนเองก็มีข้อจำกัดเรื่องภาษา แต่ในที่สุดก็ได้ประสานงานกับกรมควบคุมโรค พัฒนาคู่มือการกักตัวภาษาอังกฤษ

การช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กักตัวในสถานการณ์โควิด

วิสัญญีทราบซึ้งความช่วยเหลือจากคนไทยที่มอบให้บุคลากรทางการแพทย์และสะท้อนความรู้สึกสะเทือนใจที่ได้เห็นผู้ป่วยหนักใส่ท่อช่วยหายใจ

วิสัญญีแพทย์ในช่วงโควิด น้ำใจคนไทย