นักศึกษา ป.เอก จัดทำคูปองแบ่งปันความอิ่ม ขอ CSR จาก ศิริราชช่วยคนในบางกอกน้อย

26/06/2024

ข้อคิด “ถึงแม้เราจะเป็นคนเล็ก ๆ แต่ถ้าเรามองเพื่อนด้วยความเมตตาเราก็จะเห็นความลำบากของเขา แล้วเราก็จะไม่อยู่เฉย”

 สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

เมื่อช่วง 2562 ก่อนที่จะมีโควิดรุนแรงตอนนั้นทำงานอยู่ที่ศิริราช เป็นผู้ประสานงานวิจัย แต่พอช่วงโควิดที่เริ่มมีการล็อกดาวน์ทำให้ได้หยุดทำงานอยู่บ้าน แต่ตอนนั้นก็จะได้เห็นว่าคนที่เป็นด่านหน้าในศิริราชลำบากมาก และเห็นว่าทุกอย่างมันชะงักหมดเลย ทุกคนต้องหยุดงาน ซึ่งมีวันหนึ่งที่ไปเซเว่นและเจอกับคุณลุงที่มีเงินอยู่ 50 บาทสุดท้ายให้ช่วยเติมเน็ตให้เพื่อที่จะได้สมัครบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จึงทำให้คิดว่าจะช่วยยังไงได้บ้างกับสถานการณ์ยากลำบากนี้ เพราะช่วงนั้นก็มีข่าวคนฆ่าตัวตายด้วยจากความเครียดที่ไม่มีงาน หลังจากนั้นก็เลยคุยกันกับพี่สาว และได้ไอเดียคูปองแบ่งปันความอิ่มมา ซึ่งเริ่มตั้งต้นจากตัวเองที่ 200 บาท จากนั้นค่อยเริ่มกระจายบอกต่อเรื่อย ๆ 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ตั้งแต่เมษายน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

CSR ของศิริราชมาช่วยประชาสัมพันธ์ และมีการเปิดรับบริจาคเข้าตรง CSR ของศิริราชเพื่อช่วยคนในบางกอกน้อย, ช่อง ONE นำเงินของ “ONE สร้างสุข” มาช่วย, แกรมมี่เข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์ โดยการนำดารา นักร้องเข้ามาช่วย, เพจต่าง ๆ รวมถึง CSS ของสิงคโปร์ และสำนักข่าวของญี่ปุ่นมาเดินตามในขณะลงพื้นที่ และบริษัทเอกชนที่เป็นโปรแกรมเมอร์มาช่วยในการออกรูปแบบคูปองใหม่ เพราะถ้าทำคูปองแบบเดินเดินไปเรื่อย ๆ อาจจะหมดแรง 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ตอนช่วงทำโครงการเป็นช่วงล็อกดาวน์ไปไหนก็ยากลำบาก เพราะต้องเดินลงชุมชน เพื่อไปตามร้านค้าต่าง ๆ ตอนนั้นเป็นความรู้สึกที่โควิดก็กลัวแต่ก็อยากช่วยคน ทำให้ต้องคิดว่าจะทำยังไงก็ได้ให้ได้ออกไปช่วยคนและต้องไม่ติดโควิดเพิ่ม เพราะจะเป็นภาระแก่คนด่านหน้าเพิ่มขึ้นไปอีก 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เรียนรู้ว่าพลังเล็ก ๆ และความตั้งใจดีของตัวเองอย่างน้อยได้ช่วยชีวิตของคนได้ และได้เรียนรู้ว่าเงิน 30 - 40 บาท สามารถต่อชีวิตคน ๆ หนึ่งได้ไปอีกเยอะเลย มากไปกว่านั้นยังต่อชีวิตคนในครอบครัวของเขาด้วยซ้ำ ซึ่งอาจจะบอกได้ว่า “บางทีหนึ่งอิ่มไม่ใช่หนึ่งชีวิต แต่เป็นหนึ่งครอบครัว” นอกจากนี้การทำงานยังทำให้ได้เห็นน้ำใจของผู้คน เช่น พ่อค้า แม่ค้า ที่เคยขายข้าวกล่องละ 50 บาท เขาก็ลดลงมากล่องละ 30 บาท เพื่อช่วยด้วย หรืออย่างร้านขายของชำเขาก็ตั้งขึ้นมาว่าขีดละ 40 บาท เลือกอะไรได้บ้าง เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง มาม่า หรือปลากระป๋อง ก็ให้เลือกได้เลย ทำให้เห็นถึงพลังของเครือข่ายของสังคม 

พยาบาลดูแลหอผู้ป่วยพิเศษ ต้องเข้ามาร่วมดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะวิกฤต เล่าถึงการดูแลผู้ป่วยในช่วงสุดท้าย ให้มีโอาสได้สื่อสารกับญาติ และการบอกลาอย่างอบอุ่น

Palliative Care ช่วงสุดท้ายของชีวิต โควิด 19

อาจารย์พยาบาลรามาฯ เล่าเรื่องการทำงานกับชุมชน

การทำงานร่วมกับชุมชน โรงพยาบาลรามา จิตอาสาในชุมชม

นักวิชาการวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ เล่าเรื่องบทบาทของเครือข่ายทางวัฒนธรรมกับการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในจังหวัดบุรีรัมย์ 23 อำเภอ โดยทำงานที่ศาสนสถาน

สภาวัฒนธรรม ลานวัฒนธรรม บุรีรัมย์ ถุงยังชีพ ตู้ปันสุข