พยาบาล IC จังหวัดภูเก็ต เล่าถึงระบบแจ้งเตือนของเครือข่าย IC เพื่อรองรับโรคระบาด และการจัดระบบ รวมถึง surge capacity ในโรงพยาบาล

26/06/2024

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ในช่วงปกติเจ้าหน้าที่ IC จะมีหน้าที่เตรียมความพร้อมรับมือกับโรคอุบัติใหม่อยู่ตลอดทุกปี ซึ่งจะมีการซ้อมแผน โดยสำหรับตัวจังหวัดภูเก็ตมีการเตรียมพร้อมรับมือทุกปีเพราะจะมีคนไข้กลับจากซาอุ ในช่วงแรกเลยมองว่าโรคโควิดครั้งนี้ก็น่าจะเหมือนกับโรคอุบัติใหม่ที่ผ่านมา ซึ่งจะสามารถรับมือได้แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่อย่างที่คิด เพราะคนไข้โควิดมาแบบตู้มเดียว พยาบาล IC ต้องรับคนไข้วันละหลายร้อยคน ซึ่งในช่วงแรกพยาบาล IC ต้องดูแลคนไข้หมดเลยต้องโทรไปถามเพื่อทราบว่าคนไข้อยู่ในเกณฑ์สีอะไร เพื่อแยกคนไข้ได้อย่างเหมาะสม โดยหากคนไข้อาการหนักก็จะมีหมอเข้ามาช่วย รวมถึงพยาบาล IC และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เข้ามาช่วยในช่วงนั้นยังต้องพยายามหาว่าคนไข้มีความเสี่ยงสูงหรือต่ำ เพื่อแยกและกำหนดวัน swab 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2653 ที่เริ่มมีการวางแผนจนถึงปัจจุบัน 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

ในส่วนของระบบบริหารมีตั้งแต่ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ แล้วก็ฝ่ายการพยาบาลทุก ๆ คนในโรงพยาบาลมาช่วยกัน ส่วนระบบปฏิบัติการ จะมีการรับนโยบายจาก IC ไปว่าเกณฑ์การคัดกรองโควิดเป็นอย่างไร ซึ่งหน่วยงานสนับสนุนก็จะต้องล้อตามแนวทางที่มี สำหรับการรับบริจาคช่วงแรก IC จะรับดูแล PPE ทั้งหมด เพื่อทราบว่ามีการเบิกไปใช้อย่างเหมาะสม แต่ในระยะหลังไม่สามารถทำได้เองแล้วเพราะต้องดูคนไข้จึงมีคุณหมอที่อยู่ในหน่วยงาน ครส. มาช่วยในการดู PPE และส่วนของการรับบริจาค โดยการบริจาคของเข้ามามีทั้งภาคประชาชนและภาครัฐ รวมทั้งมีอาจารย์จากหน่วยงานต่าง ๆ มาบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ร่วมด้วย 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

มีความประทับใจความร่วมมือร่วมใจของทุกคนที่ช่วยกันทำงานและไม่เกี่ยงงาน อย่างเช่น หน่วยงานที่เป็นศูนย์สนามที่เขาต้องดูแลความสะอาดและเก็บขยะ ในช่วงแรก IC มีพยาบาลแค่ไม่มีกี่คน หรือมีพยาบาล 2 คนด้วยซ้ำ แต่หลังจากนั้นก็จะมีน้องพยาบาลมาช่วย และมีทีมต่าง ๆ เข้ามาช่วย เลยประทับใจที่ทุกคนในหน่วยงานหรือในองค์กรมีการช่วยเหลือกันหมดเลย ไม่มีใครที่จะนิ่งดูดาย นอกจากนี้ ทุกคนในองค์กรมักจะบอกว่า IC ทำงานหนักมาก เพราะทุกอย่างต้องถาม IC หมดเลย ทั้งในแง่ของการคัดกรอง การดูแลคนไข้ และการแยกกลุ่มคนไข้ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เรียนรู้การเผชิญกับภาวะวิกฤตที่เหนือความคาดหมาย และได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เรียกได้ว่าเป็นการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน ซึ่งมองว่าการทำงานจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวเฉพาะภาครัฐไม่ได้ แต่ต้องร่วมกันทั้งรัฐและเอกชน ยกตัวอย่างเช่น การเป็นบุคลากรการแพทย์จะมองและตัดสินใจแค่ภาคของตนเองไม่ได้ต้องมองถึงภาคเอกชนด้วยว่าท้ายที่สุดเขาจะอยู่ได้ไหมและเสี่ยงไหม 

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการดำรงชีวิตของผู้คน สุขภาพ และระบบอาหารของเรา

องค์กรนับล้านเผชิญกับภัยคุกคามที่มีอยู่ เกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานทั่วโลก 3.3 พันล้านคนทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียอาชีพการดำรงชีวิต แรงงานนอกระบบมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ขาดการคุ้มครองทางสังคม การเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และสูญเสียการเข้าถึงสินทรัพย์ที่มีประสิทธิผล หากไม่มีรายได้ในช่วงล็อกดาวน์ หลายคนไม่สามารถหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ สำหรับคนส่วนใหญ่ การไม่มีรายได้หมายถึงไม่มีอาหาร หรือที่ดีที่สุด อาหารน้อยลงและมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลง

การวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

การกล่าวถึงบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบางรายในสิ่งพิมพ์ที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการรับรองหรือแนะนำโดย WHO มากกว่าบริษัทอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งไม่ได้กล่าวถึง ยกเว้นข้อผิดพลาดและการละเว้น ชื่อของผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรรมสิทธิ์จะแยกความแตกต่างด้วยอักษรตัวใหญ่เริ่มต้น

นิทรรศการภาพถ่าย: เข้าข้างวิทยาศาสตร์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ

แนวทางการดูแลการทำแท้งของ WHO ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ซึ่งผู้คนมีส่วนร่วมในด้านสุขภาพและการดูแลของตน ในขณะที่ผู้คนก้าวผ่านเส้นทางการดูแลการทำแท้ง (ก่อนทำแท้ง การทำแท้ง หลังการทำแท้ง) บริการด้านสุขภาพจะต้องบูรณาการภายในภาคส่วนด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าการให้บริการจะตรงตามความต้องการของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง - อย่างเท่าเทียมกันและปราศจากการเลือกปฏิบัติ