พยาบาลร่วมทำงานกับ ThaiCare (telemedicine)

26/06/2024

ข้อคิด “แค่คำขอบคุณ เราก็ดีใจแล้ว”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

โดยปกติในชีวิตประจำวันของคุณต่ายเป็นแม่บ้านดูแลลูกและครอบครัว ซึ่งในอดีตคุณต่ายเคยเป็นพยาบาล แต่ต้องลาออกเพราะความเจ็บป่วย และในช่วงเวลาดังกล่าวที่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนให้มีผู้คนเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเป็นจำนวนมาก คุณต่ายที่เคยเป็นอดีตพยาบาลทนดูยอดผู้เสียชีวิตไม่ไหวและอยากช่วยเหลือผู้คนในเวลานั้น แต่ข้อจำกัดทางด้านสุขภาพของตนเองที่ไม่สามารถลงพื้นได้ จึงตัดสินใจรวมทีมแพทย์ พยาบาล และอาสาที่รู้จัก ก่อตั้ง “ไทยแคร์” ที่คอยดูแลติดตามอาการผู้ป่วยโควิดทางวิดีโอคอลโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ก่อนที่ช่วงเดลต้าจะระบาดหนัก 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

เพื่อนที่เป็นหมอและพยาบาลได้เข้ามาช่วยเหลือในการก่อตั้งโครงการไทย์แคร์, กระทรวงสาธารณะสุข เข้ามาช่วยเหลือในการจัดการระบบและบริจาคเงินทุน ทั้งยังดูแลในการประเมินผู้ป่วยและการจ่ายยารักษาให้แก่ผู้ป่วย, สมาคมหอการค้าไทย ช่วยเหลือในการสนับสนุนงบประมาณและเงินทุน, สหทัยมูลนิธิ วินอาสา เข้ามาช่วยเหลือในการดำเนินงาน ตลอดจนเด็กมัธยมและนักศึกษาแพทย์ที่ธรรมศาสตร์ เข้ามาเป็นอาสาสมัครภายใต้โครงการดังกล่าว 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

แรงบันดาลใจในการก่อตั้งโครงการไทยแคร์มาจากการที่น้าค่อม (ดาราตลก) เสีย ทำให้เราลุกขึ้นมาและอยากจะช่วยเหลือผู้คนในช่วงสถานการณ์ที่ยากลำบาก โดยเราโทรหาเพื่อนไม่กี่คนและเราก็เริ่มทำกันเอง ซึ่งตอนแรกก็เปิดรับบริจาคกันเองจนมีเงินทุนก็ซื้อของไปบริจาคที่ต่าง ๆ ในเคสแรกเราก็เข้าไปช่วยเหลือเคสจากเพจ Drama-addict ก็ประสบความสำเร็จไป 1 เคส พอเคสแรกสำเร็จเราก็ทำต่อเรื่อย ๆ และก็มีหน่วยงาน อาสาสมัคร เข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งโครงการของเราช่วยเหลือทั้งคนไทย แรงงานต่างด้าวทั้งถูกและผิดกฎหมาย รวมถึงกลุ่มผู้ลี้ภัย ซึ่งเราช่วยเหลือทั่วพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร แต่หลัง ๆ มาไปช่วยเหลือในพื้นที่ต่างจังหวัดเพราะเรามีพยาบาลอาสาทั่วประเทศ ซึ่งการช่วยเหลือของเราจะไม่มีการคิดเงิน โดยการทำงานของเราจะทำงานผ่านวิดีโอคอลเป็นหลัก พอเราวิดีโอคอลเสร็จ เราจัดส่งข้อมูลให้หมอและเภสัชกรเพื่อประเมินอาการและเช็คยา แต่พอมีสาธารณสุขเข้ามาเราก็ได้รับความช่วยเหลือในเรื่องยาต่าง ๆ ทางเราจะติดตามดูอาการคนไข้ในช่วงแรกคือ 14 วัน เราก็จะวิดีโอคอลถี่หน่อย หลัง ๆ ก็โทรตามบ้าง ในตอนนั้นเราก็ช่วยเหลือหลายเคสมากตั้งแต่เคสเบายันไปถึงเคสหนัก มีอยู่เคสหนึ่งที่เราดูแลเกือบเดือนหรือบางเคสผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลแต่ไม่มีพยาบาลดูแลเขาก็โทรหาเรา ซึ่งหลาย ๆ เคสทำให้เราบีบใจมาก บางเคสมีปอดข้างเดียวหรือเป็นโรคไตวายระยะ 3 ซึ่งโรงพยาบาลก็ไม่รับ แต่เราก็เข้าไปช่วยเหลือและถ้าเรารับเคสแดงก็จะรู้ว่าโอกาสรอดน้อย แต่เราก็รับมาช่วยเหลือดูแลอย่างเต็มที่ มีเคสหนึ่งเป็นเคสที่เด็กหมดสติต่อหน้าเราขนาดวิดีโอคอล ซึ่งเราก็ได้ไปสัมภาษณ์ในรายการ Voice TV ซึ่งเด็กผู้หญิงอายุ 17 คือ เขาอยู่กับถังออกซิเจนแต่ไม่มีแรงเปิดแล้วระหว่างวิดีโอคอลเขาหมดสติ เราก็ต้องรีบประสานหน้างานให้ไปด่วนและโทรตามครอบครัวเด็กเพื่อให้มาช่วยเหลือเด็ก สุดท้ายเด็กคนนี้ดีขึ้นและไปกักตัวต่อที่สถานที่กักตัว พอหลังจากที่เด็กคนนี้อาการดีขึ้นเขาก็ลุกขึ้นมาเป็นอาสาเท่าที่ตนเองทำได้ช่วยได้ ช่วยวัดความดัน ถูพื้น ทำความสะอาด ในสถานที่เขากักตัว ความยากลำบากในตอนนั้นมันมีความบีบคันหลายอย่างที่บางครั้งเราเกือบทะเลาะกับสายด่วน 1669 เพราะคนไข้โทรไปละเข้าไม่มารับ จนเราต้องโทรไปเองเพื่ออธิบายต่าง ๆ แล้วก็วิดีโอคอลจนกว่ารถจะมารับและคนไข้ปลอดภัย แต่พอหลังจากมีปากมีเสียงหรือทะเลาะกัน เราก็จะกลับมาคุยกันเหมือนว่าลูบคอลูบหลังและเราก็ทำเต็มที่ เราไม่เคยถูกต่อว่าเลย ในปัจจุบันโครงก็ยังอยู่ แต่เคสไม่ค่อยมี 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ในสถานการณ์ที่ยากลำบากประชาชนต่างก็อยากหาที่พึ่ง แต่เราก็เข้าใจว่าหมอพยาบาลและการทำงานในระบบของรัฐบาลต่างก็ทำงานเต็มสุดความสามารถ แต่ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นอาจทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง ซึ่งทางเราก็เข้าใจ เราก็เลยอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเราช่วยเหลือผ่านการวิดีโอคอล อีกทั้งเราก็ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเราไม่คิดว่าการวิดีโอคอลจะมีพลังมากขนาดนี้ หลาย ๆ เคสทำให้เราบีบหัวใจมากแม้รู้ว่าสุดท้ายแล้วเขาอาจจะไม่รอด แต่เราก็พยายามอย่างเต็มที่ และในอีกหลาย ๆ เคสที่พอเราได้ช่วยเหลือแล้ว เขาอาการดีขึ้นเราก็รู้สึกชื่นใจ 

อาจารย์พยาบาลรามาฯ เล่าเรื่องการทำงานกับชุมชน

การทำงานร่วมกับชุมชน โรงพยาบาลรามา จิตอาสาในชุมชม

คุณลุงเกษียณติดโควิด และแพร่เชื้อให้คนทั้งบ้าน เล่าประสบการณ์การติดเชื้อผ่านบทกวี

ผลข้างเคียงจากการติดเชื้อโควิด 19 วัคซีนเข็มที่ 7

พยาบาลตรังทำงานร่วมมือกับชุมชน

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด ปฏิบัติการปิดหมู่บ้าน ความร่วมมือระหว่างชุมชนกับหน่วยงาน