พยาบาลตรังทำงานร่วมมือกับชุมชน

25/06/2024

ข้อคิด “ความสำเร็จของเรา คือ ความร่วมมือของคนในชุมชน”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ผ่านมา ในฐานะผู้ดูแลสุขภาพในพื้นที่ส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมู่บ้านมดตะนอยที่ปฏิบัติงานอยู่เป็นหมู่บ้านลำดับแรก ๆ ของการเกิดการแพร่ระบาดของโรค โดยเกิดจากคนในชุมชนเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่นและได้สัมผัสเชื้อโควิด 19 กลับเข้ามาในชุมชนจึงเกิดการกระจายของโรคเนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีการตั้งบ้านเรือนเป็นกระจุก จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคที่รวดเร็ว เราจึงทำการปิดหมู่บ้านเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานทุกภาคส่วนต่าง ๆ 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ช่วงที่สถานการ์โควิดเริ่มมีการแพร่ระบาดรุนแรงและพบผู้ป่วยติดเชื้อมากขึ้น น่าจะประมาณปี พ.ศ. 2563 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

ก็จะมีชาวบ้านในพื้นที่ที่ให้ความร่วมมือและเคารพกติการของชุมชน, ผู้นำชุมชน คณะกรรม ภาคีเครือข่ายทั้งในอำเภอและต่างอำเภอ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ช่วยเหลือให้ความร่วมในการประสานงานและได้รับการสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้ ตลอดจนคอยช่วยเหลือดูแลความเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน และโรงพยาบาลตรัง เข้ามาช่วยเหลือในการตรวจหาเชื้อโควิดในพื้นที่ชุมชน 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

การเกิดการแพร่ระบาดของโรคโดยเกิดจากคนในชุมชนเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่น ทำให้ได้สัมผัสเชื้อโควิด 19 และกลับมาในชุมชน โดยในช่วงแรกไม่มีใครยอมรับว่าไปพื้นที่เสี่ยงมา แต่มาสุดท้ายผู้นำชุมชนก็ไปสืบมาจนรู้ว่ามีใครไปพื้นที่เสี่ยงบ้าง นำไปสู่การคัดกรองและการรักษาโควิดเพราะผลตรวจเป็นบวกทั้งหมดจึงเกิดการกระจายของโรค ในระยะหลัง ๆ มาเริ่มควบคุมสถานการณ์ไม่ค่อยอยู่เพราะเป็นหมู่บ้านกระจุก จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคที่รวดเร็วและในตอนนั้นการควบคุมโรคก็ยังไม่ชัดเจน เราต้องมีการออกแบบว่าจะทำยังไงให้โควิดระบาดน้อยที่สุด จนสุดท้ายเราแก้ปัญหาด้วยการหารือกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านว่าเราจะทำการปิดหมู่บ้านสัก 1 เดือน ซึ่งในตอนแรกเราก็หวั่น ๆ ว่าจะทำได้ไหม แต่เชื่อว่าชุมชนเราให้ความร่วมมือและเข้มแข็ง เราจึงประกาศปิดหมู่บ้านและออกเป็นข้อตกลงของชุมชนโดยข้อตกลง คือ “คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า” ซึ่งติดประกาศไว้หน้าหมู่บ้าน ทั้งยังขึงเชือกแดงเอาไว้ตามแต่ละบ้านเพื่อไม่ให้ออกนอกจากพื้นที่ อีกทั้งใช้กระบวนการเสียงตามสายคือ สมมติว่าตรวจเจอนาย ก เป็นโควิดก็จะประกาศเลยว่า วันนี้เราได้มีการรับแจ้งตรวจผลโควิดของนาย ก เป็นบวก ใครที่รู้ตัวว่าสัมผัสบุคคลดังกล่าวให้มารายงานตัวที่ รพ.สต ก็จะมีคนมารายงานตัว รวมถึงยังประกาศข่าวสารและการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโควิด เราจึงจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการโควิดโดยเฉพาะ เพื่อการเฝ้าระวังและมีคนตรวจตราสอดส่องว่ามีใครไม่ทำตามกติกาก็จะมีการแจ้งข่าวกัน แต่ว่าใน 1 เดือนนี้ เราต้องจัดการอาหารการกินคือ การจัดการให้ทุกคนได้รับความเท่าเทียม ทำให้ทุกคนอยู่ได้โดยไม่มีการเรียกร้องหรือจะออกจากพื้นที่ ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในการบริจาคอาหาร ข้าวสารอาหารแห้งต่าง ๆ ในขณะที่บางคนมีภารกิจผู้นำชุมชนก็อาจจะออกไปทำธุระให้หรือบางคนจำเป็นต้องออกไป พอกลับมาเราก็เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด สิ่งที่ประทับใจคือ ความร่วมมือของชุมชนที่เคารพกติกาของทีมและการมีทีมที่เข้มแข็งและพร้อมที่จะเสียสละเวลาเพื่อส่วนรวม บางทีเที่ยงคืนยังไม่ได้นอน มีการตรวจราดตะเวน การจัดสรรอาหารการกิน การขึ้นตารางว่าในแต่ละวันมีกลุ่มคนที่เสี่ยง มีผู้ป่วย หรือคนหายแล้วกี่คนในแต่ละวัน ทำเป็น Timeline ในการดำเนินงาน จึงทำให้เราประสบความสำเร็วในการควบคุมโรคและประชาชนในพื้นที่ 300 ครัวเรือน สามารถอยู่ในพื้นที่ได้โดยไม่ออกไปนอกหมู่บ้านได้ตามข้อตกลงของชุมชน ส่งผลให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคให้หยุดอยู่แค่หมู่บ้านเท่านั้นไม่กระจายไปที่อื่น หมู่บ้านของเราถือเป็นหมู่บ้านที่นำร่องในการควบคุมสถานการณ์ได้ดี จริง ๆ ก็ควบคุมได้ดีทุกพื้นที่ แต่ละพื้นที่ก็มีการควบคุมบริบทที่แตกต่างกัน 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

หลังจากที่ได้ปิดหมู่บ้านและการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนตั้งแต่ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้เห็นความร่วมมือในการทำงานจากทุกภาคส่วนที่แต่ละคนก็ล้วนทำหน้าที่ของตนเอง พอเราควบคุมในหมู่บ้านได้แล้ว เราก็นำประสบการณ์ที่ได้ไปสร้างองค์ความรู้กับหมู่บ้านที่ใกล้เคียง ประมาณว่าเอาบทเรียนของที่นี้ไปถ่ายทอดว่าเราต้องรู้ให้เร็วว่าใครไปสัมผัสเชื้อมาและต้องกักตัวให้เร็วมันจะทำให้ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด ทำให้หมู่บ้านข้าง ๆ ไม่ได้เกิดการแพร่ระบาดมากนัก แม้ในปัจจุบันจะไม่มีศูนย์ช่วยเหลือแล้ว เพราะศูนย์นั้นเกิดขึ้นเฉพาะกิจ แต่เราก็มีการเฝ้าระวังและมีการแจ้งข่าวอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งตอนนี้ไม่มีใครเป็นโควิด ทำให้เรามองว่า 30 วันที่เรากักตัวด้วยกัน ชาวบ้านเรียนรู้ขบวนการต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวบ้านมีการจัดการตัวเองและเรียนรู้จากการปิดหมู่บ้านที่ผ่านมา เพราะในทุกวันเราใช้เสียงตามสายประกาศความรู้ให้ชาวบ้านรู้จักป้องกันตัวและการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคโควิด 

นักเรียน ม.6 เล่าประสบการณ์ผลกระทบจากการเรียน online และผลกระทบด้านเศรษฐกิจของครอบครัวที่ได้รับจากโควิด

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 การเรียนออนไลน์

พยาบาลเพชรบูรณ์ เล่าเรื่องการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยในช่วงที่ส่งผู้ป่วยกลับต่างจังหวัด

ความยากลำบากในช่วงโควิด เรื่องเล่าจากพยาบาล ที่นอนใบตอง

จิตอาสาชุมชนวังทองหลาง

จิตอาสา การจัดตั้งศูนย์ CI ชุมชนเขตวังทองหลาง