พยาบาลร่วมจัดตั้งศูนย์พักคอยส่งแรงงานชาวลาวกลับบ้าน

26/06/2024

ข้อคิด “การช่วยเหลือแบบนี้ไม่ได้ถูกเขียนในทฤษฎี แต่มันถูกตอบโต้งในภาวะฉุกเฉินด้วยการช่วยเหลือมนูษย์คนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้แบ่งกั้นพรมแดน”

 สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ก่อนมีโควิดทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งจะเป็นการทำงานเกี่ยวกับการควบคุมโรคทั้งหมดในจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคโควิด 19 หรือโรคอื่น ๆ อีกทั้งยังได้ทำงานติดต่อควบคุมโรคระหว่างประเทศ ซึ่งทำมาแล้วเกือบ 20 ปี โดยบทบาทที่เพิ่มเข้ามาในช่วงที่มีโควิดของคุณเจียร์คือ การส่งแรงงานลาวกลับบ้าน 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

เดือนพฤศภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2564 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

การทำงานครั้งนี้ใช้รูปแบบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยเมื่อเห็นคนลาวทะลักเข้ามาเยอะ ๆ และไม่มีที่พักก็ได้ไปประสานขอความร่วมมือกับเอกชน (สมาคมชาวไร่อ้อย) ที่มีตึกเป็นหอประชุมใหญ่ เพื่อขอใช้เป็นสถานที่เป็นศูนย์พักคอยให้แก่แรงงาน ส่วนของใช้ อาทิ เสื่อ สาด หมอน เบื้องต้นจะเป็นการประสานขอยื่มจากวัด หลังจากนั้นค่อยได้ใช้งบประมาณจังหวัด และงบฉุกเฉิน ซึ่งเป็นการร่วมมือกับ อปค. อีกทั้งครั้งนี้ยังมีการช่วยเหลือจากชาวบ้านมาช่วยดูแล และบริจาคของต่าง ๆ อย่าง อาหารการกิน เป็นต้น 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

การทำงานครั้งนี้เป็นการทำงานขององค์กรที่ต้องมีการรับมือกับแรงงานลาวที่ทะลักเข้ามาในจังหวัดมุกดาหารช่วงโควิด 19 เพื่อต้องการกลับบ้าน หรือสะหวันนะเขต ซึ่งในช่วงนั้นทางลาวได้กำหนดไว้ว่าสามารถรับได้เพียงแค่วัน 300 คน แต่เนื่องด้วยแรงงานลาวแต่ละวันมีมากถึง 500 คนขึ้นไป ส่งผลให้ต้องมีการหาที่พักคอยเพื่อรองรับแรงงานที่มีจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 และเพื่อไม่ให้แรงงานลาวไปพักตามที่ต่าง ๆ ในจังหวัดมุกดาหารอย่างกระจัดกระจาย ไม่ว่าจะเป็นตามปั๊มน้ำมัน หรือตามสะพาน การดูแลแรงงานลาวในครั้งนี้มีทั้งแรงงานที่เป็นผู้ป่วยโควิด แรงงานปกติทั่วไป หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และกลุ่มเด็กเปราะบาง ทำให้ต้องมีการแยกหรือมีการจัดระบบของศูย์พักคอยใหม่ อย่างแรงงานที่เป็นผู้ป่วยโควิดก็ต้องแยกไปอีกเต็นท์หนึ่ง แรงงานปกติก็มีการจัดให้อยู่ในหอประชุม ส่วนหญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และกลุ่มเด็กเปราะบางก็จะถูกแยกเป็นเต็นท์ ๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งการทำงานครั้งนี้ได้สร้างความประทับใจที่ได้ช่วยเหลือให้แรงงานลาวได้กลับบ้าน อีกทั้งยังภาคภูมิใจที่ได้เห็นความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นในส่วนราชการ เอกชน หรือแม้แต่ความร่วมมือระหว่างประเทศ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เรียนรู้ว่าเมื่อเกิดภาวะวิกฤตทุกคนก็อยากกลับบ้าน “บ้านคือที่ที่เขาอบอุ่นที่สุด ที่ที่เขาปลอดภัยที่สุด” โดยแม้ว่าเขาจะไปแสวงหาเงิน หาทอง แต่สุดท้ายเมื่อเขาลำบากเขาก็ต้องกลับบ้าน อีกทั้งยังได้เรียนรู้การช่วยเหลือที่ไม่ต้องคิดว่าจะต้องมีเงินหรือมีงบประมาณ แต่เมื่อเกิดภาวะวิกฤตต้องสามารถช่วยเหลือได้ อย่างเช่นในช่วงแรกที่ไม่มีเสื่อมาปูก็ต้องมีการไปขอยืมวัด หรือบางกรณีก็สำรองเงินของตัวเองออกไป ซึ่งสิ่งนี้เรามองว่าเป็นการทำบุญ เป็นความสุข รวมถึงเป็นเรื่องเล่าที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นได้อีกเมื่อไหร่ 

โรคอ้วนและน้ำหนักเกิน

สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนซึ่งทำให้โอกาสที่จะเป็นโรคอ้วนในบุคคล ประชากร และในสภาพแวดล้อมต่างๆ รุนแรงขึ้น มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเชิงโครงสร้างที่จำกัดความพร้อมของอาหารที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพในราคาที่เอื้อมถึงในท้องถิ่น การขาดการเคลื่อนไหวทางกายภาพที่ปลอดภัยและง่ายดายในชีวิตประจำวันของทุกคน และการขาดงาน มีสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและข้อบังคับที่เพียงพอ

10 ปัญหาสุขภาพทั่วโลกที่ต้องติดตามในปี 2564

WHO และพันธมิตรจะอยู่เคียงข้างพวกเขา เราจะทำงานเพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆ เตรียมความพร้อมรับมือกับโรคระบาดและเหตุฉุกเฉินอื่นๆ มากขึ้น เราจะเตือนพวกเขาถึงความสำคัญของการรวมประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน และการมีส่วนร่วมของทั้งรัฐบาล ไม่ใช่แค่ภาคสุขภาพเท่านั้น และเราจะสนับสนุนพวกเขาในการสร้างระบบสุขภาพที่แข็งแกร่งและประชากรที่มีสุขภาพดี

อนามัยโลกชี้ สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" เป็น "สารก่อมะเร็ง"

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.