หลวงพี่เปิดโรงทาน

25/06/2024

ข้อคิด “เน้นไปที่ทักษะการบูรณาการมากกว่าการที่เราจะทำแบบเดี่ยว ๆ”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ชมรมบัณฑิตอาสา เพื่อน้องเพื่อชุมชน มมร.สธ. ก่อตั้งขึ้นมาก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 โดยหลวงพี่นกเป็นผู้ก่อตั้งร่วมกับเพื่อน ๆ มหาวิทยาลัยสงฆ์ ซึ่งจะทำงานด้านชุมชน สิ่งแวดล้อม เด็กด้อยโอกาส และเรื่องการศึกษาเป็นหลัก แต่ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่พลีก ๆ คนไม่มีที่รักษา นอนตายอยู่ตามบ้าน คนล้นออกมาอยู่นอกโรงพยาบาล ทำให้เราต้องออกมาช่วยเหลือหรือเคลื่อนไหวอะไรบ้างอย่าง เราจึงได้สร้างเครือข่ายแห่งการแบ่งปัน Help Society 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดในระลอกที่ 1 – 4 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

อาสาสมัคร เข้ามาช่วยเหลือในการติดต่อประสานกับผู้ป่วย, มูลนิกระจกเงาและเส้นด้าย เข้ามาทำงานร่วมกันในโครงการยืมถังออกซิเจน 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบากเรา 

หลวงพี่ทำชมรมบัณฑิตอาสา เพื่อน้องเพื่อชุมชน มมร.สธ มาเกือบ 10 ปี และสะสมเครือข่ายไว้มากประกอบในช่วงโควิด 19 ระบาดระลอก 1 เราก็ช่วยเหลือด้วยการเปิดโรงทาน แต่ในระลอก 4 ที่พลีกมาก ๆ คือ คนนอนตายตามบ้าน คนไม่มีที่รักษา และไม่มีรถรับส่ง หลวงพี่นั่งดูข่าวที่รถแท็กซี่ตกงานรวมตัวกันไปจอดประท้วงหน้ากระทรวงคมนาคมเป็นหมื่น ๆ คัน ทำให้หลวงพี่เกิดไอเดียว่ามีรถตั้งเยอะทำไมไม่มาใช้ หลวงพี่จึงโทรหาเครือข่ายรถแท็กซี่และต้องการรถกึ่งอาสาที่จะมาคอยรับส่งผู้ป่วยในช่วงโควิด โดยหลวงพี่ให้วันละ 1,000 บาท หลวงพี่ก็ได้มา 20 คัน พอได้รถมาหลวงพี่ก็เริ่มทำงานในกรุงเทพปริมณฑลก่อน ทำให้นี้คือจุดเริ่มต้นสู้ภัยโควิดของชมรมบัณฑิตอาสา ซึ่งช่วยเหลือในพื้นที่สีแดงก่อน แม้ตัวหลวงพี่จะอยู่ชุมพรแต่ด้วยความที่มีเครือข่ายเยอะทำให้สามารถติดต่อสื่อสารและช่วยเหลือกันได้ง่าย อีกทั้งเปิดโครงการยืมถังออกซิเจนที่ทำงานร่วมกับมูลนิธิกระจกเงากับเส้นด้าย ประกอบกับยังเปิดเครือข่ายแห่งการแบ่งปัน Help Society ในการช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันโครงการก็ยังดำเนินอยู่ ส่วนความยากลำบากน่าจะเป็นในเรื่องการขับเคลื่อนของภาครัฐที่ผิดพลาด ทำให้ชีวิตเกิดการสูญเสียเป็นจำนวนมากคือ การไม่รู้จักการทำงานร่วมกันหรือการบูรณาการในสภาวะต่าง ๆ มันก็เลยไม่แข็งแรง เพราะต่างคนต่างทำหน้าที่ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

หลวงพี่ได้ถอดบทเรียนการทำงานของตนเองให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครในเรื่องกระบวนการทำงาน หลวงพี่เขียนการจัดการด้วยกัน 5 ข้อ ส่งให้แก่ผู้ว่าเพื่อนำไปปรับใช้ พอผู้ว่าปรับการทำงานทำให้สมุทรสาครสามารถควบคุมได้ ซึ่งหลวงพี่แนะนำในการสร้างเครือข่ายผ่าน LINE Office ใช้ในการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ทั้งยังแนะนำให้ทำโรงพยาบาลสนามเพิ่มเพื่อสกัดผู้ป่วย สะท้อนให้เห็นว่าสมุทรสาครถอดโมเดลการทำงานของหลวงพี่และไปขยายในระดับจังหวัดได้ "

สูติแพทย์หนองบัวลำภู ร่วมเป็นจิตอาสา มูลนิธิ Let's be heroes

แพทย์อาสา โครงการตัวเล็กใจใหญ่ มูลนิธิ Let's be Heroes

พยาบาล IC จังหวัดภูเก็ต เล่าถึงระบบแจ้งเตือนของเครือข่าย IC เพื่อรองรับโรคระบาด และการจัดระบบ รวมถึง surge capacity ในโรงพยาบาล

เจ้าหน้าที่ IC การทำงานของเจ้าหน้าที่ IC ระบบแจ้งเตือนของเครือข่าย IC

พยาบาลตรังทำงานร่วมมือกับชุมชน

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด ปฏิบัติการปิดหมู่บ้าน ความร่วมมือระหว่างชุมชนกับหน่วยงาน