นักศึกษา ป.เอก จัดทำคูปองแบ่งปันความอิ่ม ขอ CSR จาก ศิริราชช่วยคนในบางกอกน้อย

26/06/2024

ข้อคิด “ถึงแม้เราจะเป็นคนเล็ก ๆ แต่ถ้าเรามองเพื่อนด้วยความเมตตาเราก็จะเห็นความลำบากของเขา แล้วเราก็จะไม่อยู่เฉย”

 สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

เมื่อช่วง 2562 ก่อนที่จะมีโควิดรุนแรงตอนนั้นทำงานอยู่ที่ศิริราช เป็นผู้ประสานงานวิจัย แต่พอช่วงโควิดที่เริ่มมีการล็อกดาวน์ทำให้ได้หยุดทำงานอยู่บ้าน แต่ตอนนั้นก็จะได้เห็นว่าคนที่เป็นด่านหน้าในศิริราชลำบากมาก และเห็นว่าทุกอย่างมันชะงักหมดเลย ทุกคนต้องหยุดงาน ซึ่งมีวันหนึ่งที่ไปเซเว่นและเจอกับคุณลุงที่มีเงินอยู่ 50 บาทสุดท้ายให้ช่วยเติมเน็ตให้เพื่อที่จะได้สมัครบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จึงทำให้คิดว่าจะช่วยยังไงได้บ้างกับสถานการณ์ยากลำบากนี้ เพราะช่วงนั้นก็มีข่าวคนฆ่าตัวตายด้วยจากความเครียดที่ไม่มีงาน หลังจากนั้นก็เลยคุยกันกับพี่สาว และได้ไอเดียคูปองแบ่งปันความอิ่มมา ซึ่งเริ่มตั้งต้นจากตัวเองที่ 200 บาท จากนั้นค่อยเริ่มกระจายบอกต่อเรื่อย ๆ 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ตั้งแต่เมษายน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

CSR ของศิริราชมาช่วยประชาสัมพันธ์ และมีการเปิดรับบริจาคเข้าตรง CSR ของศิริราชเพื่อช่วยคนในบางกอกน้อย, ช่อง ONE นำเงินของ “ONE สร้างสุข” มาช่วย, แกรมมี่เข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์ โดยการนำดารา นักร้องเข้ามาช่วย, เพจต่าง ๆ รวมถึง CSS ของสิงคโปร์ และสำนักข่าวของญี่ปุ่นมาเดินตามในขณะลงพื้นที่ และบริษัทเอกชนที่เป็นโปรแกรมเมอร์มาช่วยในการออกรูปแบบคูปองใหม่ เพราะถ้าทำคูปองแบบเดินเดินไปเรื่อย ๆ อาจจะหมดแรง 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ตอนช่วงทำโครงการเป็นช่วงล็อกดาวน์ไปไหนก็ยากลำบาก เพราะต้องเดินลงชุมชน เพื่อไปตามร้านค้าต่าง ๆ ตอนนั้นเป็นความรู้สึกที่โควิดก็กลัวแต่ก็อยากช่วยคน ทำให้ต้องคิดว่าจะทำยังไงก็ได้ให้ได้ออกไปช่วยคนและต้องไม่ติดโควิดเพิ่ม เพราะจะเป็นภาระแก่คนด่านหน้าเพิ่มขึ้นไปอีก 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เรียนรู้ว่าพลังเล็ก ๆ และความตั้งใจดีของตัวเองอย่างน้อยได้ช่วยชีวิตของคนได้ และได้เรียนรู้ว่าเงิน 30 - 40 บาท สามารถต่อชีวิตคน ๆ หนึ่งได้ไปอีกเยอะเลย มากไปกว่านั้นยังต่อชีวิตคนในครอบครัวของเขาด้วยซ้ำ ซึ่งอาจจะบอกได้ว่า “บางทีหนึ่งอิ่มไม่ใช่หนึ่งชีวิต แต่เป็นหนึ่งครอบครัว” นอกจากนี้การทำงานยังทำให้ได้เห็นน้ำใจของผู้คน เช่น พ่อค้า แม่ค้า ที่เคยขายข้าวกล่องละ 50 บาท เขาก็ลดลงมากล่องละ 30 บาท เพื่อช่วยด้วย หรืออย่างร้านขายของชำเขาก็ตั้งขึ้นมาว่าขีดละ 40 บาท เลือกอะไรได้บ้าง เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง มาม่า หรือปลากระป๋อง ก็ให้เลือกได้เลย ทำให้เห็นถึงพลังของเครือข่ายของสังคม 

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก

โรคภูมิแพ้(hypersensitivity)โรคที่เกิดจาการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารเกิดภูมิแพ้ เช่นอาหาร ไรฝุ่น เกสรดอกไม้

WHO เลือกไข้หวัดใหญ่พันธุ์ไทยปั๊ม วัคซีนป้องกัน

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ว่า จากผลการวิเคราะห์ ลำดับพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากทั่วโลก...

นิทรรศการภาพถ่าย: เข้าข้างวิทยาศาสตร์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ

แนวทางการดูแลการทำแท้งของ WHO ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ซึ่งผู้คนมีส่วนร่วมในด้านสุขภาพและการดูแลของตน ในขณะที่ผู้คนก้าวผ่านเส้นทางการดูแลการทำแท้ง (ก่อนทำแท้ง การทำแท้ง หลังการทำแท้ง) บริการด้านสุขภาพจะต้องบูรณาการภายในภาคส่วนด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าการให้บริการจะตรงตามความต้องการของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง - อย่างเท่าเทียมกันและปราศจากการเลือกปฏิบัติ