นักพัฒนาสังคม กทม. ที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเด็ก ในศูนย์ CI เด็ก เขตดุสิต

27/06/2024

ข้อคิด “แค่คำว่าขอบคุณจากผู้ป่วย มันก็เป็นความสุขทางใจ”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

การทำงานมีความแตกต่างกันมาก เพราะปกติเราเป็นนักพัฒนามักจะทำงานลงชุมชนและลงพื้นที่ต่าง ๆ แต่พอในช่วงโควิด 19 ต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน แต่ก็ไม่ได้ต่างจากเดิมมากนักเพราะยังดูแลในงานส่วนชุมชนอยู่ ในตอนนั้นเรากลายเป็นผู้ดูแลคนในชุมชน ส่งอาหาร ยา และถุงยังชีพให้กับประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ทั้งยังช่วยงานในการจัดระเบียบการตรวจคัดกรองโควิด 19 การฉีดวัคซีน และการจัดตั้งศูนย์ CI เด็กที่เขตดุสิต 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ประมาณช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

หน่วยงานทหาร เข้ามาช่วยเหลือในด้านกำลังพล, หน่วยงานราชการส่วนพระองค์ เข้ามาช่วยเหลือในการบริจาคถุงยังชีพพระราชทานให้แก่ประชาชน, สถาบันเด็กแห่งชาติ เข้ามาดูแลและจัดตั้งศูนย์ CI และสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร เข้ามาช่วยเหลือในการดำเนินงานและติดต่อประสานงาน 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ความประทับใจ คือ ในส่วนเวลานั้นเราทำงานหลายอย่างมาก อย่างแรกเลยคือการเข้าไปช่วยเหลือในชุมชนแออัดที่หน่วยงานดูแลไม่ถึงและเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อถุงพระราชทาน ทั้งยังตรวจคัดกรองโควิดและฉีดวัคซีน ทำให้ชาวบ้านได้รับความช่วยเหลือในสิ่งที่ควรจะได้ ต่อมาคือการดูแลผู้ป่วยเด็กในศูนย์ CI เด็ก เขตดุสิต ศูนย์นี้รับเด็กตั้งแต่อายุ 6 – 12 ขวบ ซึ่งในช่วงแรกจะรับเด็กอย่างเดียวและเด็กต้องช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ โดยผู้ปกครองต้องยินยอม ซึ่งช่วงนั้นเราก็ทำหน้าที่ดูแลทุกอย่างเพื่อให้เด็กปลอดภัยจากโควิดและสามารถกลับบ้านได้ แต่พอช่วงหลัง ๆ เราก็เปิดให้รักษาทั้งครอบครัวได้โดยที่สามารถมารักษาพร้อมกัน ในตอนนั้นเราก็จะมีมอนิเตอร์ติดตามอาการและมีโปรแกรมที่เชื่อมต่อกับสถาบันเด็ก ทำให้เวลาผู้ป่วยมีอาการใด ๆ คุณหมอก็สามารถรับรู้ได้ทันและคุณหมอก็จะติตด่อกลับมาผ่าน Telemedicine เพื่อติตดามและถามอาการเด็ก โดยจะมีการโทรวีดีโอคอลหรืออัดวิดีโอเพื่อติดตามอาการและจ่ายยา ซึ่งมีการให้เด็กกินยาผ่านหน้ากล้อง เพื่อจะได้ดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่แม้จะไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน แต่ก็สามารถดูแลกันได้อย่างทั่วถึง หลังจากทำงานด้านโควิดมาได้สักระยะเราเริ่มมีประสบการณ์ในเด้านนี้ เราก็เป็นอาสาในการติดต่อประสานงานหาที่รักษาให้กับผู้ที่โทรเข้ามาขอความช่วยเหลือ ตอนนั้นเราก็มีประสานกับนักการเมืองต่าง ๆ เพื่อหาโรงพยาบาลให้ มีเคสหนึ่งเขาไปร้องไห้หน้าโรงพยาบาลเพราะไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ เนื่องจากโรงพยาบาลคนไข้เต็ม เราก็พยายามประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อช่วยเคสนี้ จนสุดท้ายก็ช่วยเคสนี้ได้สำเร็จ บางเคสเราก็ไม่สามารถช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่เพราะด้วยข้อจำกัดทางด้านต่าง ๆ แต่เราก็ทำเต็มสุดความสามารถ ทำให้ความยากลำบากส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องประสานงาน เนื่องจากสถานที่รักษาไม่เพียงพอแต่ประชาชนมารอเข้ารับการรักษา ด้วยความจำกัดทางด้านต่าง ๆ ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือดูแลประชาชนในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ทั้งยังได้ประสบการณ์หลาย ๆ อย่างในช่วงเวลาที่ผ่านมาทำให้สามารถเกิดการเรียนรู้ในการทำงานเพิ่มมากขึ้น 

จิตอาสาช่วยเหลือชุมชน โดยต้องปกปิดครอบครัวไม่ให้รู้ (โกหกภรรยา)

จิตอาสา เครือข่ายจิตอาสา

ผู้จัดการสิ่งแวดล้อมบริษัท Cotto ดูแลความเสี่ยงขององค์กร จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และช่วยเหลือชุมชน

บริษัท Cotto การจัดการความเสี่ยงภายในองค์กรช่วงโควิด

พยาบาล IC จังหวัดภูเก็ต เล่าถึงระบบแจ้งเตือนของเครือข่าย IC เพื่อรองรับโรคระบาด และการจัดระบบ รวมถึง surge capacity ในโรงพยาบาล

เจ้าหน้าที่ IC การทำงานของเจ้าหน้าที่ IC ระบบแจ้งเตือนของเครือข่าย IC