พยาบาลทำงานในสถาบันด้านยาเสพติด เล่าถึงการปรับบทบาทมาช่วยโรงพยาบาลสนาม

26/06/2024

ข้อคิด “อะไรที่เราไม่เคยทำ ไม่ได้แปลว่าเราทำไม่ได้ ถ้าเราเรียนรู้เราสามารถทำได้ ทุกงานต้องมีปัญหาที่เกิดขึ้น” 

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

องค์กรเป็นสถานบันเฉพาะทางด้านยาเสพติด มีหน้าที่บำบัดรักษา ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องยาเสพติด ไม่เกี่ยวกับโควิดเลย แต่ในปี 2563 เมื่อมีการระบาด แม้คนไข้ยาเสพติดจะไม่มีใครติดเชื้อโควิด แต่ก็ต้องมีการคอยเฝ้าระวัง ซึ่งพอช่วงประมาณปลายปี 2563 ที่เริ่มมีมาตราการการกักคนที่มาจากต่างประเทศ ทางองค์กรก็ได้ส่งพยาบาลไปช่วยตรงนั้น และพอเข้าปี 2564 ที่เริ่มมีการระบาดหนักช่วงเดือนมีนาคม ส่งผลให้โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ในกรุงเทพเริ่มเต็ม อธิบดีจึงมีนโยบายให้องค์กรเปิดบริการทำโรงพยาบาลสนามขึ้นมา 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

22 เมษายน – 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

โรงพยาบาลนพรัตน์มาช่วยดูสถานที่ ช่วยสอนการทำโรงพยาบาลสนาม, มีการสนับสนุนเตียงจากทางทหาร, มีโรงพยาบาลธัญญารักษ์ภูมิภาคเครือข่ายยาเสพติดส่งพยาบาลมาช่วยทำงาน, โรงพยาบาลมะเร็งภูมิภาค อย่างโรงพยาบาลมะเร็งอุดร ชลบุรี ตราด ตรัง ส่งพยาบาลมาช่วยทำงาน, มูลนิธิกระจกเงาบริจาคถังออกซิเจน 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

เนื่องด้วยองค์กรเป็นองค์กรเฉพาะทางด้านยาเสพติด เมื่อต้องเปิดโรงพยาบาลสนามจึงเกิดความยากลำบาก คือ ต้องมีการเรียนรู้ในเวลาอันเร่งด่วน ซึ่งทางองค์กรได้มีการศึกษาและเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ ไม่ได้เป็นการเรียนรู้แบบผิด ๆ หรือส่ง ๆ ซึ่งมีผอ.ให้การสนับสนุนทุกอย่างเพื่อให้องค์กรทำงานได้ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ดีการทำงานย่อมมีปัญหา อุปสรรค และความยากลำบาก ซึ่งคุณมลได้เล่าว่า พยาบาลต้องส่วมใส่ชุด PPE ในการดูแลผู้ป่วยและขนของ ซึ่งสิ่งที่หนักมาก ๆ คือการแบกถังออกซิเจนขึ้นไปชั้น 2 โดยวันหนึ่งจำเป็นต้องใช้ถึงร้อยกว่าถัง และบางครั้งก็เกิดปัญหาที่ออกซิเจนไม่พอก็ต้องมีการติดต่อประสานงานวันต่อวัน หรือแม้แต่อาหารของคนไข้ องค์กรก็ต้องมีการวางแผนว่าจะทำยังไงให้มีคนบริจาค บางทีก็ต้องมีการติดต่อกับญาติที่ค้าส่งเพื่อขอลดราคา นอกจากนี้ในการทำงานยังมีปัญหาที่ไม่คาดคิด คือ การมีคนเมาบุกเข้ามายิงคนไข้จนเสียชีวิต ซึ่งแม้ทางองค์กรจะมีการวางแผนเป็นอย่างดีตั้งแต่ก่อนเปิด จนเปิดโรงพยาบาลสนามขึ้น แต่การทำโรงพยาบาลสนามครั้งนี้นั้นก็ยังคงต้องมีการประชุมและแก้ไขปัญหาเป็นรายวัน ซึ่งคุณมลเล่าว่าพอตกเย็นจะมีการประชุมถึงปัญหาที่พบเจอและหาวิธีการแก้ไข 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เรียนรู้ว่าการมีผู้นำที่ดีและให้การสนับสนุนเป็นสิ่งที่ดีมาก รู้ถึงการทำงานเป็นทีมที่ถึงแม้บางครั้งป่วยก็สู้ไปด้วยกัน เห็นถึงความมีน้ำใจของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือกันในยามวิกฤต และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานครั้งนี้ที่ถึงแม้จะเหนื่อย รวมถึงได้เรียนรู้ว่าอะไรที่ไม่เคยทำไม่ได้แปลว่าทำไม่ได้ โดยการที่องค์กรเก่งเรื่องยาเสพติดรู้เรื่องด้านร่างกาย ก็ได้มีการนำความรู้ตรงนี้มาบูรณาการลงไปในการทำงานครั้งนี้ด้วย เช่น การดูแลคนไข้ในด้านของจิตใจ

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก

โรคภูมิแพ้(hypersensitivity)โรคที่เกิดจาการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารเกิดภูมิแพ้ เช่นอาหาร ไรฝุ่น เกสรดอกไม้

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน

การฝึกหายใจและขับเสมหะ

ละนี่คือวิธีง่าย ๆ เบื้องต้นในการฝึกหายใจ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวที่อยู่ระหว่างการรักษาแบบ Home isolation เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ค่ะ โดยวิธีนี้สามารถทำได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยเท่านั้นนะคะ