พยาบาลดูแลหอผู้ป่วยพิเศษ ต้องเข้ามาร่วมดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะวิกฤต เล่าถึงการดูแลผู้ป่วยในช่วงสุดท้าย ให้มีโอาสได้สื่อสารกับญาติ และการบอกลาอย่างอบอุ่น

26/06/2024

ข้อคิด “รู้สึกว่าในวิกฤตเรายังมีคุณค่า มีโอกาสที่จะทำงานให้มันดี” 

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ในสถานการณ์ปกติจะดูแลหอผู้ป่วยพิเศษเป็นห้อง ๆ ซึ่งเป็นคนไข้ที่ต้องจ่ายเงินหรือเรียกว่าเป็นคนไข้อีกระดับหนึ่งที่มีเงินเข้ามานอนห้องพิเศษ โดยเราจะดูแลอยู่ทั้งหมด 36 ห้อง และส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนไข้ที่ไม่ได้มีอาการรุนแรง แต่ในช่วงสถานการณ์โควิดได้มีโอกาสเข้ามาดูแลคนไข้โควิดก็เพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงวิกฤต ชลบุรีเป็นพื้นที่ที่มีสถานที่ท่องเที่ยวและมีอุตสาหกรรมส่งผลให้มีเคสเยอะมาก ซึ่งในตอนนั้นที่รับมีประมาณ 7,000 คน โดยมีคนไข้วิกฤต 100 กว่าคนที่ต้องใส่ท่อ ทำให้ ICU ปกติรับไม่ได้เพราะมีแค่ 8-10 เตียง ทางองค์กรจึงให้เปลี่ยนห้องพิเศษที่เรารับผิดชอบอยู่มาเป็นเหมือนห้อง ICU ซึ่งเราได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรงนั้นเลย เนื่องจากเป็นหัวหน้าตึก 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

เริ่มตั้งแต่ช่วงที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าหนัก ๆ ประมาณปี พ.ศ. 2564 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

มีการรายงานผู้บริหารว่า เครื่องช่วยหายใจที่เป็น High Flow ไม่พอใช้ ซึ่งตอนนั้นได้รับบริจาคจากสมเด็จพระเทพมา 5 เครื่อง นอกจากนี้ก็มีการได้รับของบริจาคและอุปกรณ์ทางการแพทย์มาจากคนในชุมชน รวมถึงได้รับการบริจาค High Flow เพิ่มขึ้น 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

จากการได้รับมอบหมายมาทำงานส่วนนี้ตัวเราเองยังไม่ได้มีความถนัดเลย อีกทั้งน้อง ๆ พยาบาลที่ทำงานร่วมกันก็สับสนอลมาน เนื่องด้วยไม่มีใครมาดูแลและให้คำปรึกษาหรือให้ข้อมูล รวมถึงในตอนนั้นอุปกรณ์เครื่องมือก็ไม่มีแต่คนไข้กลับเต็ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สับสนทั้งพี่ทั้งน้อง ยอมรับว่ารู้สึกท้อแท้ สับสน และทรมานมาก ไม่ค่อยมีเวลาต้องไปดูคนไข้แล้วก็รับเข้ามา เราจะมีการดูแลกลุ่มเปราะบางซึ่งคนกลุ่มนี้สู้ยังไงก็เสียชีวิต ซึ่งหลัง ๆ มีการเสียชีวิตเยอะจากการใส่ท่อ จึงเริ่มมีการถามคนไข้ว่าต้องการใส่ไหม หรือเป็นการเริ่มดูแลแบบกระบวนการประคับประคอง โดยเคสที่ถามส่วนใหญ่จะเป็นเคสที่เป็นโรคไต เบาหวาน และอายุประมาณ 60-70 ปี การใช้ palliative care จะช่วยให้คนไข้ได้มีสิทธิสื่อสารกับญาติ ญาติได้มาล่ำลาหรือคุยกับเขา โดยถ้าคนไข้ไม่เลือก palliative care เขาจะไม่มีสิทธิสื่อสารกับญาติ และต้องตายไปโดยไม่ได้กล่าวลา เนื่องจากการใส่ท่อก็ต้องดมยาส่งผลให้ไม่มีสิทธิคุยกับญาติเลย อย่างตัวอย่างเคสของพระท่านหนึ่งคือ ท่านเป็นพระที่กำเงินไว้ซึ่งพระลูกบ้านก็ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ และหากพระท่านนี้เสียชีวิตเงินก้อนนี้ก็จะตกเป็นของลูกหลาน ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากหลายล้านบาท ทางทีมเราจึงได้มีการช่วยจัดการและสอบถาม เพราะอาการของหลวงพ่อนั้นไม่ได้เท่าไหร่นัก 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

เราได้เรียนรู้ว่าจริง ๆ แล้วชีวิตของคนเราต้องการอะไร จากการทำงานที่ได้สอบถามคนไข้ว่าเขาต้องการแบบไหน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นสถานการณ์โควิด แต่ท้ายที่สุดก็ต้องมีการดูแลที่จริงใจต่อกันให้คนไข้ได้คุยกับญาติ ได้เคลียร์ปัญหาของตนเอง โดยการทำงานตรงนี้เราได้เห็นหลาย ๆ เคสที่มีโอกาสได้ร่ำลา ยกอย่างเช่น เคสของพยาบาลวิสัญญีจากโรงพยาบาลลพบุรีเขามาบอกเราว่าเขาผิดใจกับพ่อมาตลอด 20 กว่าปี เพราะพ่อมีภรรยาใหม่ แต่พอพ่อป่วยโควิดและรู้ว่าพ่อไม่น่ารอด พยาบาลคนนี้ก็ได้นำชุดมาเองและขอเข้ามาลาพ่อ ขอให้พ่ออโหสิกรรมให้ ซึ่งหากเป็นเคสอื่น ๆ เราก็จะเตรียมชุดป้องกันให้ โดยการที่ปรับกระบวนการมาทำแบบนี้ทำให้รู้สึกว่าในวิกฤตตัวเราเองยังมีคุณค่า มีโอกาสที่จะทำงานให้มันดี ซึ่งเราก็ได้เรียนรู้และนำความคิดเหล่านี้มาพลิกความคิดของน้อง ๆ พยาบาลที่เคยรู้สึกท้อแท้ อ่อนล้าให้ปรับมุมมองใหม่และช่วยเหลือคนไข้อย่างเต็มที่

เลขานุการกรมการต่างประเทศเกาหลี พาคนไทยกลับบ้าน

นักการทูตไทยในเกาหลี คนไทยในเกาหลี ระบบคัดกรองคนไทยก่อนการพากลับประเทศ

นักวิชาการวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ เล่าเรื่องบทบาทของเครือข่ายทางวัฒนธรรมกับการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในจังหวัดบุรีรัมย์ 23 อำเภอ โดยทำงานที่ศาสนสถาน

สภาวัฒนธรรม ลานวัฒนธรรม บุรีรัมย์ ถุงยังชีพ ตู้ปันสุข

จิตอาสาชุมชนวังทองหลาง

จิตอาสา การจัดตั้งศูนย์ CI ชุมชนเขตวังทองหลาง