พยาบาลอุดรธานี ร่วมทำโครงการรับคนอุดรกลับบ้าน (ตำบลสาวถี)

26/06/2024

ข้อคิด “ความกลัวที่เกิดขึ้น สิ่งที่ทำได้คือ ทำทุกทางเพื่อให้ทุกคนเกิดความกล้า ยินยอมที่จะมาร่วมเผชิญ และเดินหน้าไปด้วยกัน”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

โดยปกติเราเป็นพยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล แต่เมื่อมีการติดเชื้อในโรงพยาบาลหรือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น เราก็ได้รับคำสั่งจากผู้อำนวยการว่าจะเริ่มต้นดูรักษายังไง ในตอนนั้นเราก็ยังใหม่หมดทำให้เราต้องเรียนรู้พร้อมกับการเกิดของโรค 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 ระลอกที่ 2 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

บุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่น ๆ เช่น เภสัชกร ทันตแพทย์ นักกายภาพ เข้ามาช่วยเหลือและเป็นจิตอาสาดูแลผู้ป่วยที่กักตัวโรงพยาบาลสนาม และกระทรวงสาธารณสุข, สสจ., โรงพยาบาลต่าง ๆ ที่อยู่รอบนอก ช่วยเหลือในขั้นตอนการดำเนินงานและส่งคนเข้ามาช่วยเป็นจิตอาสา 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ในช่วงนั้นเราทำงานและรับโทรศัพท์เกือบ 24 ชั่วโมง เพราะเราเป็นผู้ควบคุมและคอยประสานงานให้แก่บุคลากรต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลตลอดจนชาวบบ้านในพื้นที่ ประกอบกับในช่วงที่สมุทรสาครระบาดหนัก ๆ ใกล้กับสงกรานต์ เราก็พยายามประชาสัมพันธ์ว่าคนในพื้นที่อย่าออกนอกพื้นที่ แต่คนส่วนใหญ่ก็แพลนจะไปเที่ยวหรือกลับบ้านกันแล้ว แต่เราก็ไม่ได้ไปไหน เพราะอยู่คอยรับคนสมุทรสาครที่จะเดินทางกลับบ้านอุดร ซึ่งเราก็รอรับกันเองโดยที่เราจะทำการสกัดตรวจคัดกรองก่อนที่เขาจะกลับบ้านเพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ประกอบกันในช่วงที่กรุงเทพฯ มีการแพร่ระบาดหนัก ๆ คนไข้ล้นจนไม่มีที่อยู่รักษา ทำให้เราได้เริ่มทำโครงการกับตำบลสาวะถีคือ “โครงการรับคนกลับบ้าน” เพราะเราเป็นคนในพื้นที่นี้ แต่หลังจากที่เริ่มโครงการนี้ก็เริ่มทำโครงการใหม่คือ “รับคนอุดรกลับบ้าน” พอรับคนไข้มาเยอะ ๆ คนไข้เริ่มล้น เราก็เปิดโรงพยาบาลสนามที่ตัวเมืองอุดร โดยหาโรงแรมที่สมัครใจพร้อมที่จะเป็นสถานที่กักตัวให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งเราเปิดรับทุกคนและเปิดรับตลอดเวลา ทำให้ความภาคภูมิใจของโรงพยาบาลเราคือ สามารถดูแลคนไข้ได้ตลอดและดูแลได้ทุกคน ซึ่งทุกคนสามารถใช้สิทธิบัตรทองในการรักษาโดยไม่ต้องเสียเงินฟรี ส่วนความยากลำบากน่าจะเป็นในด้านวิชาการความรู้ต่อโรคโควิด การหาอุปกรณ์ป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ยังขาดแคลน ทั้งยังการต่อต้านและความกลัวที่เกิดขึ้นในตัวเจ้าหน้าที่ ทำให้มีเจ้าที่ไม่เพียงพอซึ่งส่งผลต่อการดูแลรักษากับผู้ป่วย 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

การทำงานไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ หมอ พยาบาล ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องต่างก็กลัวตายและไม่อยากเผชิญหน้ากับผู้ป่วยที่เป็นโควิด ซึ่งเรามองว่าถ้าเขามีความรู้เขาก็จะไม่กลัวและพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ดังนั้นเราควรให้ความรู้ตั้งแต่กลุ่มเล็ก ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดของเจ้าหน้าที่ให้เกิดการยอมรับ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยกล้าที่จะเผชิญหน้ากับคนไข้ 

พยาบาลลูกอ่อน เล่าถึงความประทับใจในการปฏิบัติงานในช่วงโควิด

พยาบาลแผนกอายุรกรรมสู่การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ โควิดระบาด โควิด 19

พยาบาลร่วมจัดตั้งศูนย์พักคอยส่งแรงงานชาวลาวกลับบ้าน

ส่งแรงงานชาวลาวกลับบ้าน แรงงานชาวลาว ศูนย์พักคอย

พยาบาลทำงานในสถาบันด้านยาเสพติด เล่าถึงการปรับบทบาทมาช่วยโรงพยาบาลสนาม

องค์กรเฉพาะทางด้านยาเสพติดสู่การดูแลผู้ป่วยโควิด ความเชื่อเหลือในองค์กร