พยาบาลร่วมจัดตั้งศูนย์พักคอยส่งแรงงานชาวลาวกลับบ้าน

26/06/2024

ข้อคิด “การช่วยเหลือแบบนี้ไม่ได้ถูกเขียนในทฤษฎี แต่มันถูกตอบโต้งในภาวะฉุกเฉินด้วยการช่วยเหลือมนูษย์คนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้แบ่งกั้นพรมแดน”

 สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ก่อนมีโควิดทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งจะเป็นการทำงานเกี่ยวกับการควบคุมโรคทั้งหมดในจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคโควิด 19 หรือโรคอื่น ๆ อีกทั้งยังได้ทำงานติดต่อควบคุมโรคระหว่างประเทศ ซึ่งทำมาแล้วเกือบ 20 ปี โดยบทบาทที่เพิ่มเข้ามาในช่วงที่มีโควิดของคุณเจียร์คือ การส่งแรงงานลาวกลับบ้าน 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

เดือนพฤศภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2564 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

การทำงานครั้งนี้ใช้รูปแบบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยเมื่อเห็นคนลาวทะลักเข้ามาเยอะ ๆ และไม่มีที่พักก็ได้ไปประสานขอความร่วมมือกับเอกชน (สมาคมชาวไร่อ้อย) ที่มีตึกเป็นหอประชุมใหญ่ เพื่อขอใช้เป็นสถานที่เป็นศูนย์พักคอยให้แก่แรงงาน ส่วนของใช้ อาทิ เสื่อ สาด หมอน เบื้องต้นจะเป็นการประสานขอยื่มจากวัด หลังจากนั้นค่อยได้ใช้งบประมาณจังหวัด และงบฉุกเฉิน ซึ่งเป็นการร่วมมือกับ อปค. อีกทั้งครั้งนี้ยังมีการช่วยเหลือจากชาวบ้านมาช่วยดูแล และบริจาคของต่าง ๆ อย่าง อาหารการกิน เป็นต้น 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

การทำงานครั้งนี้เป็นการทำงานขององค์กรที่ต้องมีการรับมือกับแรงงานลาวที่ทะลักเข้ามาในจังหวัดมุกดาหารช่วงโควิด 19 เพื่อต้องการกลับบ้าน หรือสะหวันนะเขต ซึ่งในช่วงนั้นทางลาวได้กำหนดไว้ว่าสามารถรับได้เพียงแค่วัน 300 คน แต่เนื่องด้วยแรงงานลาวแต่ละวันมีมากถึง 500 คนขึ้นไป ส่งผลให้ต้องมีการหาที่พักคอยเพื่อรองรับแรงงานที่มีจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 และเพื่อไม่ให้แรงงานลาวไปพักตามที่ต่าง ๆ ในจังหวัดมุกดาหารอย่างกระจัดกระจาย ไม่ว่าจะเป็นตามปั๊มน้ำมัน หรือตามสะพาน การดูแลแรงงานลาวในครั้งนี้มีทั้งแรงงานที่เป็นผู้ป่วยโควิด แรงงานปกติทั่วไป หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และกลุ่มเด็กเปราะบาง ทำให้ต้องมีการแยกหรือมีการจัดระบบของศูย์พักคอยใหม่ อย่างแรงงานที่เป็นผู้ป่วยโควิดก็ต้องแยกไปอีกเต็นท์หนึ่ง แรงงานปกติก็มีการจัดให้อยู่ในหอประชุม ส่วนหญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และกลุ่มเด็กเปราะบางก็จะถูกแยกเป็นเต็นท์ ๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งการทำงานครั้งนี้ได้สร้างความประทับใจที่ได้ช่วยเหลือให้แรงงานลาวได้กลับบ้าน อีกทั้งยังภาคภูมิใจที่ได้เห็นความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นในส่วนราชการ เอกชน หรือแม้แต่ความร่วมมือระหว่างประเทศ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เรียนรู้ว่าเมื่อเกิดภาวะวิกฤตทุกคนก็อยากกลับบ้าน “บ้านคือที่ที่เขาอบอุ่นที่สุด ที่ที่เขาปลอดภัยที่สุด” โดยแม้ว่าเขาจะไปแสวงหาเงิน หาทอง แต่สุดท้ายเมื่อเขาลำบากเขาก็ต้องกลับบ้าน อีกทั้งยังได้เรียนรู้การช่วยเหลือที่ไม่ต้องคิดว่าจะต้องมีเงินหรือมีงบประมาณ แต่เมื่อเกิดภาวะวิกฤตต้องสามารถช่วยเหลือได้ อย่างเช่นในช่วงแรกที่ไม่มีเสื่อมาปูก็ต้องมีการไปขอยืมวัด หรือบางกรณีก็สำรองเงินของตัวเองออกไป ซึ่งสิ่งนี้เรามองว่าเป็นการทำบุญ เป็นความสุข รวมถึงเป็นเรื่องเล่าที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นได้อีกเมื่อไหร่ 

พยาบาลนนทบุรี เล่าเรื่องการจัดตั้ง Cohort ward ที่ได้รับความร่วมมือ และทรัพยากรจากชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ

Cohort Ward สนามฉีดวัคซีน

จิตอาสา ThaiCare (แม่บ้าน จังหวัดศรีษะเกษ) เล่าถึงประสบการณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยประเทศเพื่อนบ้าน ลาว, กัมพูชา, พม่า ในการกลับบ้าน

Thaicare จิตอาสาดูแลผู้ป่วยโควิดออนไลน์

หลวงพี่เปิดโรงทาน

หลวงพี่เปิดโรงทาน