ผู้ป่วยลำไส้อักเสบที่มีอาการขาดน้ำมาก แต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ในช่วงวิกฤตโควิด

26/06/2024

ข้อคิด “เหตุการณ์นั้นเราขาดน้ำ ถ้าเราช็อกไปเราก็อาจจะเสียชีวิตไปเลย”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

สถานการณ์ช่วงนั้นแตกต่างไปจากช่วงปกติอยู่มากตั้งแต่การไปเรียน การหาซื้อของกิน การไปเจอเพื่อน ซึ่งสิ่งที่ลำบากที่สุดสำหรับเราคือ เรื่องของการไปหาหมอโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดหนัก ๆ และมีการล็อกดาวน์เกิดขึ้น ทำให้รถสาธารณะมีการหยุดให้บริการเร็วกว่าปกติ 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 (เป็นช่วงที่มีการล็อกดาวน์ไม่เกิน 4 ทุ่ม) 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

ได้โทรไปขอความช่วยเหลือจาก 1669 เท่านั้น เนื่องจากไม่สามารถเรียก Grab ได้เลย 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

เราเป็นผู้ป่วยลำไส้อักเสบ ซึ่งเหตุการณ์ที่เราอยากเล่าถึงความยากลำบากในช่วงสถานการณ์โควิด คือ เหตุการณ์วันที่เรารู้สึกว่าตนเองมีอาการไม่ไหวจากการอ้วก ท้องเสีย และมีไข้เป็นเวลากว่า 2-3 วัน โดยยาที่มีในตอนนั้นไม่สามารถรับมือได้แล้ว เราเลยต้องการที่จะไปที่โรงพยาบาลในช่วง เวลาประมาณ 3-4 ทุ่ม แต่เนื่องจากในตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่มีโรคโควิดระบาดและเป็นช่วงที่มีการล็อกดาวน์ ทำให้รถสาธารณะวิ่งหมดไปแล้ว และเราเองก็ยังเป็นนิสิตอยู่ ทำให้ไม่มีรถส่วนตัว หนำซ้ำก็ยังไม่มีคนรู้จักที่อยู่ตรงนั้นเพราะอยู่ต่างจังหวัด เราเลยโทรเรียก 1669 บริการของรัฐ ซึ่งเราก็ได้เล่าอาการไปแต่ทาง 1669 แจ้งมาว่าอาการเหมือนเป็นโควิดจึงถามว่าเราตรวจหรือยัง และในตอนนั้นเราก็ตรวจแล้วและพบว่าไม่เป็น รวมถึงได้แจ้งไปว่าเรานั้นไม่ไหวแล้วขาดน้ำมาก แต่ทาง 1669 กลับบอกให้รอไปก่อน โดยในคืนนั้นเราทรมานมากแต่ก็ต้องอดทนรอจนถึงตี 5 เพื่อเดินทางไปโรงพยาบาลเองในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเมื่อไปก็ไม่ได้นอนที่โรงพยาบาลเนื่องจากเตียงไม่เพียงพอ ทำให้การรักษาเป็นเพียงแค่การประคองให้ดีขึ้นหรืออยู่ให้น้ำเกลือกับยาฆ่าเชื้อประมาณ 6-7 ชั่วโมงแล้วก็กลับบ้าน โดยหากเป็นช่วงสถานการณ์ปกติอาการแบบนี้คงได้นอนโรงพยาบาลแล้ว 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

เราได้เรียนรู้ว่า ระบบสาธารณะของไทยไม่ค่อยโอเคเลยทั้งกับผู้ป่วยที่เป็นโควิดเองและผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่น ๆ เรารู้สึกว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นโรงพยาบาลรัฐยังรับมือไม่ค่อยได้ทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าค่อนข้างแย่ 

พนักงานสาธารณสุข จังหวัดปัตตานี โรงพยาบาลธัญญารัก เล่าถึงการควบคุมโรคบริเวณสะพานปลา ซึ่งเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจของปัตตานี ต้องการมีให้บริการรงงานต่างด้าว รวมถึงการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 2 แห่ง และ CI และระบบ boat isolation

แรงงานต่างด้าว สะพานปลา จังหวัดปัตตานี

เลขานุการกรมการต่างประเทศเกาหลี พาคนไทยกลับบ้าน

นักการทูตไทยในเกาหลี คนไทยในเกาหลี ระบบคัดกรองคนไทยก่อนการพากลับประเทศ

นักวิชาการสาธารณสุข จังหวัดลำปาง (LGBTQ+) เล่าประสบการณ์การสื่อสารในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดชาวต่างชาติ ซึ่งตนเองก็มีข้อจำกัดเรื่องภาษา แต่ในที่สุดก็ได้ประสานงานกับกรมควบคุมโรค พัฒนาคู่มือการกักตัวภาษาอังกฤษ

การช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กักตัวในสถานการณ์โควิด