ความเป็นมา
จากการระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกที่มีการระบาดต่อเนื่องในพื้นที่มานานกว่า 40 ปี จนต่อมาเมื่อมีการแพร่ระบาดออกนอกแอฟริกา ทำให้ประเทศต่าง ๆ มีความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ในช่วงต้นของการระบาดพบว่า มีการเตรียมความพร้อมเพื่อตอบสนองต่อการระบาดน้อยมาก โดยเฉพาะ เครื่องมือในการวินิจฉัยซึ่งมีอยู่น้อยชนิด รวมถึงไม่มียา และไม่มีวัคซีนเลย แต่เมื่อมีการระดมความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยมีองค์การอนามัยโลกเป็นแกนกลางในการประสานงานและระดมความร่วมมือ ภายในระยะเวลา 10 เดือน สามารถมีความสำเร็จสำคัญ ได้แก่ มีการทดสอบวัคซีนต้นแบบหลายชนิดและนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพดี มีเครื่องมือการวินิจฉัยโรคที่สามารถวินิจฉัยได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง จากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายวัน และการพัฒนายารักษาโรค
จากบทเรียนของการเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของอีโบลา เป็นแรงบันดาลใจให้มีการพัฒนา An R&D Blueprint จนสำเร็จและสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 68 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ได้ให้การรับรอง An R&D Blueprint for action to prevent epidemics เพื่อใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนการวิจัยพัฒนาที่สำคัญสำหรับภาวะฉุกเฉิน และได้มีการนำ The R&D Blueprint ไปใช้สำหรับการระบาดของ Ebola, Zika รวมถึงโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำอื่น ๆ
เมื่อมีการระบาดของโควิด 19 และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าการระบาดของโควิด 19 เป็น Public Health Emergency of International Concern (PHEIC) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 ต่อมาในวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลกร่วมกับภาคีสำคัญ เช่น CEPI (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations) BMGF (Bill and Melinda Gates Foundation) US CDC (US Center for Disease Control) US NIH (US National Institute of Health) The Wellcome trust และประเทศสมาชิกที่มีขีดความสามารถและเทคโนโลยีในการวิจัยและพัฒนาสูง ประชาคมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ได้จัดการประชุม 2019 novel Corona virus Global research and innovation forum: towards a research roadmap เพื่อ (1) ประเมินองค์ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันของโควิด 19 เห็นชอบคำถามวิจัยสำคัญที่ต้องการคำตอบอย่างเร่งด่วนและวางแนวทางความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน รวมถึงการหาแหล่งทุนมาสนับสนุนการวิจัยสำคัญที่ช่วยป้องกันควบคุมการระบาดทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
การประชุมในครั้งนี้ได้ตกลงเป้าหมายร่วมกัน ได้แก่ 1. การเร่งรัด innovative research ที่จะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดและส่งเสริมการดูแลรักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และ 2. สนับสนุนงานวิจัยที่อยู่ในลำดับความสำคัญที่จะส่งเสริม global research platforms ในการร่วมเรียนรู้จากการตอบสนองต่อการระบาดของโควิด 19 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้มีการ activate An R&D Blueprint ในเวลาต่อมา และเริ่มขับเคลื่อนการดำเนินงาน รวมถึงมีการจัดทำ roadmap สำคัญของการวิจัยพัฒนาชุดวินิจฉัย ยา และวัคซีน ภายหลังการประชุมครั้งนี้ ภาคีสำคัญได้มีการทำงานร่วมมือกันและมีการจัดประชุมนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้กำหนดนโยบายและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมความคิดอย่างต่อเนื่องจนสามารถพัฒนาเครื่องมือสำคัญได้สำเร็จ
สาระสำคัญของ An R&D Blueprint and the plan of action
An R&D Blueprint for Action to Prevent Epidemics เป็นกรอบยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านการวิจัยและพัฒนาในระดับโลกที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรองรับการระบาด โดยที่ เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้น องค์การอนามัยโลกซึ่งเป็นแกนกลางในการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์นี้จะสามารถกระตุ้น (rapid activation) ให้เกิดกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญเพื่อตอบสนองต่อการระบาดได้ทันเวลา เช่น การวิจัยและพัฒนาชุดวินิจฉัย การวิจัยและพัฒนายาและวัคซีน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยควบคุมการระบาด ช่วยลดและป้องกันการเสียชีวิต รวมถึงการลดความเสียหายและนำพาประเทศก้าวข้ามภาวะวิกฤต การพัฒนา
An R&D Blueprint นี้ ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาจากทั่วโลก เช่น ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการประกันและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ An R&D Blueprint พัฒนาให้สอดคล้องกับหลักการสำคัญภายใต้ the Global Strategy and Action Plan for Public Health, Innovation and Intellectual Property and of the Consultative Expert Working Group on R&D Coordination and Financing (CEWG)
วิสัยทัศน์ “โลกของเราจะมีการตอบสนองด้านการวิจัยและพัฒนาต่อโรคอุบัติใหม่ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กว่าที่เคยเป็นมา และจะมีความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งรัดผลการวิจัย และคำนึงถึงความท้าทายสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ logistic รวมถึงด้านสังคม ที่จะนำมาปรับให้เหมาะกับบริบทของการระบาด”
มีหลักการสำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ 1. Inclusive process with a clear mandate and defined milestones 2. Building on the efforts of others in the community 3. Collaborative effort with affected countries at its core และ 4. Driven by scientific knowledge
เป้าหมายสำคัญของ An R&D Blueprint คือ การลดระยะเวลาระหว่างการประกาศ PHEIC กับ การมีเครื่องมือวินิจฉัย ยาและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดการเสียชีวิตและให้สามารถผ่านพ้นภาวะวิกฤตได้
การขับเคลื่อนกรอบยุทธศาสตร์แบ่งเป็น 5 work streams ที่เชื่อมโยงสู่ 3 main approaches ได้แก่ 1. Prioritation of pathogens 2. Identifications of research priorities 3. Coordinations of stakeholders and expansion of capacity 4. Assessment of preparedness and impact of interventions และ 5. Development of innovative funding options
การติดตามประเมินผล มีการจัดทำ monitoring and evaluation framework และมีกลไกติดตามประเมินผลโดย Global Preparedness Monitoring Board (GPMB) ซึ่งร่วมบริหารจัดการโดยผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลก และผู้จัดการธนาคารโลก ทั้งนี้ GPMB ทำหน้าที่เป็น กลไกระดับสูงที่ให้คำแนะนำเพื่อการเตรียมความพร้อม/ติดตามสถานการณ์ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ต่อ global health crises รวมถึงการทำหน้าที่ high level policy advocacy ไปยังเวทีนโยบายระดับสูงต่าง ๆ
การนำ An R&D Blueprint ไปดำเนินการต่อ ภายหลัง An R&D Blueprint ได้รับการรับรองโดยสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 68 ได้มีการนำไปใช้ต่อเนื่อง เช่น การทบทวนลำดับความสำคัญของโรคอุบัติใหม่ที่เป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องทำการวิจัย ในปี พ.ศ. 2561 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย กระบวนการที่ดี และมีเกณฑ์การพิจารณาอย่างรอบด้าน
การจัดทำ Roadmap การวิจัยและพัฒนาโรคที่อยู่ในลำดับความสำคัญ รวมถึงการจัดทำ Target Product Profile (TPP) สำหรับช่วงการระบาดของโควิด 19 ได้แก่ 1. การจัดลำดับความสำคัญของโรคระบาดที่เป็นภัยคุกคามในระดับโลก 2. การกำหนดลำดับความสำคัญของประเด็นที่จะวิจัยและพัฒนา 3. การประสานงานในระดับโลกและการขยายขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนา
ในช่วงการระบาดของโควิด 19 มีความก้าวหน้าในการดำเนินการในหลายด้าน และมีการพัฒนากระบวนการใหม่ในการจัดลำดับความสำคัญของโรคที่จะสนับสนุนการวิจัย
ในปี พ.ศ. 2565 องค์การอนามัยโลกได้จัดทำ prioritization process ใหม่ เพื่อให้เหมาะกับบริบทปัจจุบัน โดยจัดลำดับความสำคัญตาม Viral family ซึ่งจะทำให้มีการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาต่อ entire class of viruses ไม่ใช่เฉพาะ virus ตัวใดตัวหนึ่ง การจัดลำดับความสำคัญแบบนี้จะช่วยให้มีการตอบสนองต่อสายพันธุ์ไวรัสใหม่ได้ดีขึ้นและทันท่วงที Proposed Scientific review methodology Proposed prioritization methodology