จิตอาสาชุมชนวังทองหลาง

25/06/2024

ข้อคิด “เพราะเรามีทุนและมีคนพร้อมที่จะช่วย ทำให้เราสามารถทำงานได้เร็ว”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

โดยส่วนตัวเป็นคนชอบทำจิตอาสามาแต่เดิม ซึ่งทำจิตอาสาอยู่ที่บ้านมั่นคงและพัฒนาที่อยู่อาศัย, จิตอาสาพนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มาก่อนหน้า แต่ด้วยสถานการณ์โควิดที่รุนแรงและระบาดมากขึ้น เราก็ตระหนักว่าพี่น้องเราต้องไม่ตาย เราจึงลุกขึ้นมาช่วยเหลือพี่น้องในช่วงสถานการณ์โควิดทั้งที่ตัวเองไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้านสาธารณสุขโดยตรง แต่ด้วยใจที่อาสาและกลัวพี่น้องจะตายเนื่องจากติดเชื้อหาโรงพยายาลไม่ได้ทำให้เรามาเป็นจิตอาสา 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ในช่วงที่เชื้อเริ่มมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วที่สุดประมาณปี พ.ศ. 2563 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

ก็จะมีเพื่อน ๆ ที่เคยทำจิตอาสาด้วยกันมารวมตัวในการช่วยเหลือชุมชนเขตวังทองหลาง, สาธารณสุข ช่วยเหลือในการให้คำแนะนำหรือขั้นตอนการดูแล รักษา ผู้ป่วยโควิดและครอบครัวที่ต้องอาศัยอยู่ภายในบ้านเดียวกันไม่ให้ติดโควิด, กองทุนชุมชนเขตวังทองหลาง, กองทุนวันละบาทระดับเขต, กองทุนสัจจะ นำเงินทุนที่มีมาช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชุนด้วยการซื้อยา ของใช้จำเป็น และเปิดครัวกลางเพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้านในชุมชน แล้วก็มีมูลนิธิอื่น ๆ ช่วยบริจาคของใช้ที่จำเป็นในช่วงนั้นทั้งชุดตรวจโควิดและอาหาร, กรมการแพทย์แผนไทย ช่วยเหลือในการบริจาคยาฟ้าทะลายโจร, ผอ.เขตวังทองหลาง ที่ช่วยเหลือและอนุญาตในการจัดตั้งทำศูนย์ CI รวมถึงโรงพยาบาลลาดพร้าวที่จัดตั้งศูนย์ CI ระดับเขตอินทชัย 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

จุดประสงค์ในตอนนั้นคือ ต้องการจะช่วย เนื่องจากมีพี่น้องในชุมชนเขตวังทองหลางมาขอความช่วยเหลือจากเราและพูดว่า “ผมกลัวตาย ผมต้องทำยังไง แล้วพี่น้องคนอื่นจะติดไหม เพราะที่เราอยู่เป็นชุมชนแออัดบ้านคับแคบ” พอได้ยินปุ๊ป เราก็โยงหาคนช่วยเหลือทำทุกวิถีทางที่คิดว่าช่วยเหลือพี่น้องในชุมชนได้ เราก็ลุกขึ้นมาหาสาธารณสุขว่าควรทำยังไงดูแลยังไง และปรึกษา ผอ. เขตพื้นที่ เพื่อขอทำพื้นที่กักตัวโดยขอเอาสถานที่ศูนย์เด็กเล็กมาทำศูนย์ CI ตอนแรกเขาก็ไม่ให้ แต่เราก็บอกเห็นผลเราต้องรีบสกัดก่อนที่เชื้อแพร่จะระบาดไปในชุมชน สุดท้าย ผอ.ก็อนุญาติ และได้ทำศูนย์ CI ในชุมชน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในตอนนั้นเราใช้งบในกองทุนที่มีอยู่มารวมกันประมาณ 1 แสน นำเงินดังกล่าวมาซื้อยาและของจำเป็น ทั้งยังเปิดครัวกลางไปแจกอาหารในชุมชน เราแบ่งการทำงานออกเป็นทีมตามความถนัด ใครเก่งเรื่องตรวจหาเชื้อก็ลงชุมชนไปตรวจกลุ่มเสี่ยง ส่วนใครเก่งเรื่องอาหารให้ดูแลครัวกลาง แต่พอทำครัวกลางไปสักพักงบเริ่มเหลือน้อยลง เราจึงหันมาปลูกผักสวนครัวเพื่อลดต้นทุนในการซื้อผักมาประกอบอาหาร หลังจากทำ CI ในชุมชน ก็ขยับไปทำ CI ระดับเขต ขนาด 100 เตียง อินทชัย ร่วมกับโรงพยาบาลลาดพร้าวได้ไปเรียนรู้กับอาจารย์หมอในการประเมินอาการคนไข้ก่อนจะรับคนไข้เข้าศูนย์ อีกหนึ่งอย่างที่ภาคภูมิใจคือ เราได้ประกาศนียบัตรจาก ผอ.เขตวังทองหลางว่าเป็นจิตอาสาในช่วงสถานการณ์โควิด ส่วนความยากลำบากจะเป็นในลักษณะการติดต่อประสานงานในขั้นตอนการรักษา สถานที่รักษา การส่งต่อ การรักษา แต่พอเราได้เปิดศูนย์ CI การจัดการดีขึ้นเยอะ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

หลังจากที่เราทำได้สักพักเราได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยทำ จนเกิดเป็นความรู้ในการป้องกันตนเองและชุมชนที่สามารถนำไปต่อยอดในการช่วยเหลือคนอื่น ๆ เราไม่ได้ลงไปช่วยเหลืออย่างเดียว แต่เราไปสอนคนในชุมชนให้สามารถทำได้เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือตนเองและไปช่วยเหลือคนอื่น ทั้งยังได้เรียนรู้การจัดตั้งศูนย์ CI ที่มีขั้นตอนและกฎระเบียบตามกฎหมาย รวมถึงได้เสริมสร้างทักษะความรู้ในด้านการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยทั้งวิธีการขั้นตอนการอยู่รวมกันที่จะทำให้คนในครัวเรือนไม่ติดโควิด และการแนะนำว่ายาตัวไหนควรใช้กับผู้ป่วยแบบไหน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือและความรู้จากสาธารณสุข 

ต้อหิน…ภัยเงียบที่น่ากลัว

ต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นถาวรที่พบได้มากที่สุด มีคนไทยมากกว่า2ล้านคนเป็นต้อหิน และกว่า76ล้านคนทั่วโลกในปี2020

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน

นิทรรศการภาพถ่าย: เข้าข้างวิทยาศาสตร์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ

แนวทางการดูแลการทำแท้งของ WHO ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ซึ่งผู้คนมีส่วนร่วมในด้านสุขภาพและการดูแลของตน ในขณะที่ผู้คนก้าวผ่านเส้นทางการดูแลการทำแท้ง (ก่อนทำแท้ง การทำแท้ง หลังการทำแท้ง) บริการด้านสุขภาพจะต้องบูรณาการภายในภาคส่วนด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าการให้บริการจะตรงตามความต้องการของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง - อย่างเท่าเทียมกันและปราศจากการเลือกปฏิบัติ