เรื่องเล่าจากพยาบาลสมุทรสาคร ในมุมมองเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย ที่ต้องแยกจากครอบครัว

25/06/2024

ข้อคิด "หลายครั้งที่มีรอยยิ้ม หลายครั้งที่เห็นคราบน้ำตา ล้วนมาจากคำขอบคุณจากผู้ป่วยและญาติ"

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดโควิด 19 เราก็มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยที่ห้อง ICU แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดทำให้เราต้องลงไปดูแลช่วยเหลือทั้งผู้ป่วยและบุคลากรในฝ่ายอื่น ๆ และตอนนั้นเขาก็หาอาสาลงไป ซึ่งไม่ค่อยมีคนไป เราก็อาสาไปเอง พอเราไปลงช่วยเราก็ถ่ายรูปส่งไปในกลุ่มผู้บริหารเพื่อที่จะสะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะเรามีความรู้และสามารถจัดการได้ เพื่อที่ทุกคนจะได้เห็นและมีความกล้า กล้าที่ลงมาช่วย ทำให้เราพยายามสร้างแรงจูงใจส่งผลทำให้มีอาสาเข้ามาช่วยเหลือเยอะขึ้น 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ช่วงที่ตลาดกลางกุ้งมีการแพร่ระบาดโควิด 19 หนัก ๆ 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

บุคลากรทางการแพทย์ตลอดจน ผอ. โรงพยาบาลที่ร่วมมือร่วมใจต่อสู้ในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมา เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก มีคนไข้จำนวนมากมายและมีอาการหนักต้องใช้ออกซิเจน ใช้ยารักษา ต้องรอเตียง และเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจำนวนเตียงไม่พอ ต้องนอนรอความหวัง ลูกหลานที่ไม่มีโอกาสได้เยี่ยมไม่มีโอกาสได้ดูแล เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิตหลายคนจากไปโดยไร้ญาติ ไร้การกอดสัมผัส ไร้การบอกกล่าว ร่ำลา ในตอนนั้นเราดูแลคนไข้ตึกวิกฤตและเห็นคนไข้หลากหลายรูปแบบ แบบบางคนอายุ 30-40 กว่า เห็นคนเตียงข้าง ๆ แล้วทำให้ตนเองรู้สึกไม่อยากรักษาต่อและปฏิเสธิการักษา เช่น ใช้ท่อช่วยหายใจเพราะเจ็บปวดและกลัว ทำให้เขาก็จากไปในสภาพที่เขาแข็งแรง มีเคสหนึ่งที่บีบหัวใจเรามาก คือ มีตายาสองคนป่วยเป็นโควิดเข้ามารักษา เราก็ให้นอนเตียงข้างกันจับมือกัน แต่สุดท้ายคุณยายดันเสียก่อนและต่อมาคุณตานอนเศร้ามองแต่เตียงข้าง ๆ เพราะยายไม่อยู่แล้ว สุดท้ายตาก็เสียตามไป ซึ่งสถานการ์แบบนี้เราเจอเยอะมาก สะท้อนให้เห็นว่าบางคนปฏิเสธการช่วยเหลือในการรักษาเพราะไม่อยากทนทุกข์ทรมานการรักษาบางครั้งต้องเลือกว่าจะเอาใครอยู่หรือปล่อยใครไปล้วนแล้วแต่น่าสงสารน่าเวทนา การที่เราอาสาลงไปช่วยงานดูแลคนไข้ critical ในตึก Intermediate Covid เราทุ่มเทกับการทำงานมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวันบางทีเราเข้างาน 8 โมงเช้ากลับถึงบ้านอีกทีคือเที่ยงคืนและไม่มีวันหยุด อีกทั้งเราได้สอนกำกับตรวจสอบคุณภาพการดูแลคนไข้กับทีมงาน เพิ่มจำนวนเตียงให้สามารถรับให้ได้มากที่สุดและใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอนนั้นคนก็ขาดเราก็พยายามหาอาสาสมัครมาช่วยเหลือเพราะคนทำงานไม่สามารถทำได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เราพยายามบริหารจัดการระบบภายในหน่วยงานให้เกิดความราบรื่นปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและเพื่อนร่วมงาน ส่งเสริมขวัญกำลังใจให้เพื่อนร่วมงานและปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา ซึ่ง ณ ตอนนี้ ทีมก็ได้สลายไปและปิดตึกโควิดเมื่อ 8 ตุลา 2565 ทำให้ตอนนี้เรากลับมาทำงานที่ ICU 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

เราได้เรียนรู้ว่าทุกคนต่างกลัว ต่างรักตัวเอง และกลัวตาย ทำให้ไม่ค่อยมีใครอยากมาช่วยเหลือกับผู้ป่วยวิกฤตมากนักเพราะต้องดูแลหลายอย่าง แต่เราก็เข้าใจเพราะในช่วงนั้นทุกคนต่างทำหน้าอย่างหนักหน่วงแบบเดือนนึงมี 30 วัน เราก็ทำงานทุกวันขึ้นเวรทุกวัน ส่งผลให้มีความเหนื่อยล้ากันบ้าง เราก็ใช้เทคนิคหลายอย่างในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์คนอื่น ๆ เราใช้วิธีที่ว่าให้เวียนกันไป ถ้าเวรดึกต้องใช้คนเยอะ เราก็ให้เขานอนพักตั้งแต่ตอนบ่าย ละค่อยตื่นมาช่วย เราหาอาหารหาที่พักให้เขาอย่างเต็มที่เพื่อที่เขาจะได้มีแรงทำงานต่อ ยิ่งไปกว่านั้นได้เห็นเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างของผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษาทำให้เรารู้สึกสะท้อนใจอย่างหลายครั้ง 

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการดำรงชีวิตของผู้คน สุขภาพ และระบบอาหารของเรา

องค์กรนับล้านเผชิญกับภัยคุกคามที่มีอยู่ เกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานทั่วโลก 3.3 พันล้านคนทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียอาชีพการดำรงชีวิต แรงงานนอกระบบมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ขาดการคุ้มครองทางสังคม การเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และสูญเสียการเข้าถึงสินทรัพย์ที่มีประสิทธิผล หากไม่มีรายได้ในช่วงล็อกดาวน์ หลายคนไม่สามารถหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ สำหรับคนส่วนใหญ่ การไม่มีรายได้หมายถึงไม่มีอาหาร หรือที่ดีที่สุด อาหารน้อยลงและมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลง

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก

โรคภูมิแพ้(hypersensitivity)โรคที่เกิดจาการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารเกิดภูมิแพ้ เช่นอาหาร ไรฝุ่น เกสรดอกไม้

ต้อหิน…ภัยเงียบที่น่ากลัว

ต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นถาวรที่พบได้มากที่สุด มีคนไทยมากกว่า2ล้านคนเป็นต้อหิน และกว่า76ล้านคนทั่วโลกในปี2020