นักเทคนิคการแพทย์จังหวัดภูเก็ต เล่าถึงประสบการณ์การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกินกำลังปกติจะรองรับ

28/06/2024

ข้อคิด “การทำงานแข่งกับเวลาเพื่อควบคุมโรคต้องควบคุมกับความถูกต้องในการวินิจฉัยการตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานวิชาชีพเทคนิคการแพทย์”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ก่อนที่มีโควิด 19 ปริมาณงานที่ต้องทำก็มีมากพอสมควร แต่พอในช่วงโควิด 19 ทำให้การทำงานถูกปรับเปลี่ยนและต้องให้ความสำคัญกับสถานการณ์โควิด 19 ก่อน เพื่อที่จะได้ควบคุมโรคให้ได้ ทำให้ในช่วงนั้นงานหลักจึงเป็นการตรวจหาเชื้อโควิด 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ช่วงที่สถานการณ์โควิด 19 เริ่มมีการระบาดในช่วงแรก ๆ 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ความประทับใจ คือ ส่วนใหญ่จะเป็นความท้าทายมากกว่าของนักเทคนิคการแพทย์ เพราะเราต้องก่อตั้งที่ตรวจทั้งที่สนามบินภูเก็ตละศูนย์ปฏิบัติการที่ต้องได้รับมาตรฐานและมีประสิทธิภาพในการตรวจอย่างสูงสุด ในตอนนั้นได้ทำหน้าที่ควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การตรวจหาผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วถือเป็นมาตรการสำคัญ การตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทยในส่วนใหญ่เป็นการตรวจยืนยันโดยสถานพยาบาลต่าง ๆ นั้น ยังทำได้ไม่รวดเร็วเพียงพอ เนื่องจากกำลังเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด 19 ของประชาชน ซึ่งในปัจจุบันโดยเฉลี่ยในแต่ละวันจะมีประชาชนที่ต้องการตรวจคัดกรองเชื้อโควิดมากถึงประมาณ 150,000 คน ขณะที่ขีดความสามารถในการตรวจคัดกรองสามารถจะทำได้เพียงประมาณ 70,000-100,000 คนต่อวัน ผู้วิจัยจึงคิดว่าวิธีการใดบ้างที่จะช่วยลดระยะเวลาการเก็บตัวอย่างได้ จึงได้นำวิธีการเก็บตัวอย่างจากน้ำลาย เพื่อช่วยให้ได้ตัวอย่างได้ง่าย ไม่รับบาดเจ็บ นำมาตรวจด้วยวิธี Real Time RT-PCR เปรียบเทียบกับการเก็บตัวอย่างมาตรฐานจากโพรงจมูก จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากน้ำลายมี Sensitivity 62.5% Specificity 90.3% ดังนั้นการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากน้ำลายมีความไวต่ำกว่าตรวจจาก NPS swab ในทางตรงกันข้ามให้ ผลบวกปลอม และผลลบปลอมมากกว่าซึ่งสอดคล้องกับหลายการศึกษาที่ผ่านมา การตรวจหาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากน้ำลายในกลุ่มเสี่ยงของการศึกษานี้ไม่สามารถวินิจฉัยผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ดีไปกว่าการตรวจจาก NPS swab ดังนั้นการทำงานแข่งกับเวลาเพื่อควบคุมโรคต้องควบคู่ไปกับความถูกต้องในการวินิจฉัยและการตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ส่วนความยากลำบาก น่าจะเป็นเรื่องการสื่อสารกับประชาชนที่ยังไม่ชัดเจน เพราะการระบาดในช่วงแรกยังมีการสื่อสารไม่ดีเพราะภาครัฐไม่ได้ระบุการเกิดโรค การแพร่ระบาด และการดูแลอย่างชัดเจน แต่ประกาศว่าเชื้อโรคไม่น่ากลัว ทั้งที่จริงมันอยู่ในจุดวิกฤต หากมีหน่วยงานออกมารณรงค์การดูแลตัวเองตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ก็จะสามารถดูแลและควบคุมได้มากกว่านี้ ในความคิดเห็นส่วนตัว ประชาชนจะได้ไม่ตื่นตระหนกและกล้าที่จะมาตรวจ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้ทำการทดลองเพื่อที่จะหาวิธีการตรวจวินิจฉัยโควิดให้เร็วขึ้นและผลปรากฏว่า การตรวจผ่านโพรงจมูกให้ผลที่แม่นย้ำมากที่สุด ทำให้เราได้เรียนรู้และมีการใช้ความรู้ความสามารถที่มีอย่างเต็มที่ จึงประทับใจกับการทำงานในช่วงเวลานั้น 

10 ปัญหาสุขภาพทั่วโลกที่ต้องติดตามในปี 2564

WHO และพันธมิตรจะอยู่เคียงข้างพวกเขา เราจะทำงานเพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆ เตรียมความพร้อมรับมือกับโรคระบาดและเหตุฉุกเฉินอื่นๆ มากขึ้น เราจะเตือนพวกเขาถึงความสำคัญของการรวมประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน และการมีส่วนร่วมของทั้งรัฐบาล ไม่ใช่แค่ภาคสุขภาพเท่านั้น และเราจะสนับสนุนพวกเขาในการสร้างระบบสุขภาพที่แข็งแกร่งและประชากรที่มีสุขภาพดี

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการดำรงชีวิตของผู้คน สุขภาพ และระบบอาหารของเรา

องค์กรนับล้านเผชิญกับภัยคุกคามที่มีอยู่ เกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานทั่วโลก 3.3 พันล้านคนทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียอาชีพการดำรงชีวิต แรงงานนอกระบบมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ขาดการคุ้มครองทางสังคม การเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และสูญเสียการเข้าถึงสินทรัพย์ที่มีประสิทธิผล หากไม่มีรายได้ในช่วงล็อกดาวน์ หลายคนไม่สามารถหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ สำหรับคนส่วนใหญ่ การไม่มีรายได้หมายถึงไม่มีอาหาร หรือที่ดีที่สุด อาหารน้อยลงและมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลง

การวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

การกล่าวถึงบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบางรายในสิ่งพิมพ์ที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการรับรองหรือแนะนำโดย WHO มากกว่าบริษัทอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งไม่ได้กล่าวถึง ยกเว้นข้อผิดพลาดและการละเว้น ชื่อของผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรรมสิทธิ์จะแยกความแตกต่างด้วยอักษรตัวใหญ่เริ่มต้น