นักพัฒนาสังคม กทม. ที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเด็ก ในศูนย์ CI เด็ก เขตดุสิต

27/06/2024

ข้อคิด “แค่คำว่าขอบคุณจากผู้ป่วย มันก็เป็นความสุขทางใจ”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

การทำงานมีความแตกต่างกันมาก เพราะปกติเราเป็นนักพัฒนามักจะทำงานลงชุมชนและลงพื้นที่ต่าง ๆ แต่พอในช่วงโควิด 19 ต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน แต่ก็ไม่ได้ต่างจากเดิมมากนักเพราะยังดูแลในงานส่วนชุมชนอยู่ ในตอนนั้นเรากลายเป็นผู้ดูแลคนในชุมชน ส่งอาหาร ยา และถุงยังชีพให้กับประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ทั้งยังช่วยงานในการจัดระเบียบการตรวจคัดกรองโควิด 19 การฉีดวัคซีน และการจัดตั้งศูนย์ CI เด็กที่เขตดุสิต 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ประมาณช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

หน่วยงานทหาร เข้ามาช่วยเหลือในด้านกำลังพล, หน่วยงานราชการส่วนพระองค์ เข้ามาช่วยเหลือในการบริจาคถุงยังชีพพระราชทานให้แก่ประชาชน, สถาบันเด็กแห่งชาติ เข้ามาดูแลและจัดตั้งศูนย์ CI และสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร เข้ามาช่วยเหลือในการดำเนินงานและติดต่อประสานงาน 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ความประทับใจ คือ ในส่วนเวลานั้นเราทำงานหลายอย่างมาก อย่างแรกเลยคือการเข้าไปช่วยเหลือในชุมชนแออัดที่หน่วยงานดูแลไม่ถึงและเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อถุงพระราชทาน ทั้งยังตรวจคัดกรองโควิดและฉีดวัคซีน ทำให้ชาวบ้านได้รับความช่วยเหลือในสิ่งที่ควรจะได้ ต่อมาคือการดูแลผู้ป่วยเด็กในศูนย์ CI เด็ก เขตดุสิต ศูนย์นี้รับเด็กตั้งแต่อายุ 6 – 12 ขวบ ซึ่งในช่วงแรกจะรับเด็กอย่างเดียวและเด็กต้องช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ โดยผู้ปกครองต้องยินยอม ซึ่งช่วงนั้นเราก็ทำหน้าที่ดูแลทุกอย่างเพื่อให้เด็กปลอดภัยจากโควิดและสามารถกลับบ้านได้ แต่พอช่วงหลัง ๆ เราก็เปิดให้รักษาทั้งครอบครัวได้โดยที่สามารถมารักษาพร้อมกัน ในตอนนั้นเราก็จะมีมอนิเตอร์ติดตามอาการและมีโปรแกรมที่เชื่อมต่อกับสถาบันเด็ก ทำให้เวลาผู้ป่วยมีอาการใด ๆ คุณหมอก็สามารถรับรู้ได้ทันและคุณหมอก็จะติตด่อกลับมาผ่าน Telemedicine เพื่อติตดามและถามอาการเด็ก โดยจะมีการโทรวีดีโอคอลหรืออัดวิดีโอเพื่อติดตามอาการและจ่ายยา ซึ่งมีการให้เด็กกินยาผ่านหน้ากล้อง เพื่อจะได้ดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่แม้จะไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน แต่ก็สามารถดูแลกันได้อย่างทั่วถึง หลังจากทำงานด้านโควิดมาได้สักระยะเราเริ่มมีประสบการณ์ในเด้านนี้ เราก็เป็นอาสาในการติดต่อประสานงานหาที่รักษาให้กับผู้ที่โทรเข้ามาขอความช่วยเหลือ ตอนนั้นเราก็มีประสานกับนักการเมืองต่าง ๆ เพื่อหาโรงพยาบาลให้ มีเคสหนึ่งเขาไปร้องไห้หน้าโรงพยาบาลเพราะไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ เนื่องจากโรงพยาบาลคนไข้เต็ม เราก็พยายามประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อช่วยเคสนี้ จนสุดท้ายก็ช่วยเคสนี้ได้สำเร็จ บางเคสเราก็ไม่สามารถช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่เพราะด้วยข้อจำกัดทางด้านต่าง ๆ แต่เราก็ทำเต็มสุดความสามารถ ทำให้ความยากลำบากส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องประสานงาน เนื่องจากสถานที่รักษาไม่เพียงพอแต่ประชาชนมารอเข้ารับการรักษา ด้วยความจำกัดทางด้านต่าง ๆ ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือดูแลประชาชนในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ทั้งยังได้ประสบการณ์หลาย ๆ อย่างในช่วงเวลาที่ผ่านมาทำให้สามารถเกิดการเรียนรู้ในการทำงานเพิ่มมากขึ้น 

ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ภาวะดังกล่าวส่งผลให้มีการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีการตกไข่

การฝึกหายใจและขับเสมหะ

ละนี่คือวิธีง่าย ๆ เบื้องต้นในการฝึกหายใจ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวที่อยู่ระหว่างการรักษาแบบ Home isolation เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ค่ะ โดยวิธีนี้สามารถทำได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยเท่านั้นนะคะ

นิทรรศการภาพถ่าย: เข้าข้างวิทยาศาสตร์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ

แนวทางการดูแลการทำแท้งของ WHO ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ซึ่งผู้คนมีส่วนร่วมในด้านสุขภาพและการดูแลของตน ในขณะที่ผู้คนก้าวผ่านเส้นทางการดูแลการทำแท้ง (ก่อนทำแท้ง การทำแท้ง หลังการทำแท้ง) บริการด้านสุขภาพจะต้องบูรณาการภายในภาคส่วนด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าการให้บริการจะตรงตามความต้องการของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง - อย่างเท่าเทียมกันและปราศจากการเลือกปฏิบัติ