ประชาชนจิตอาสา เล่าความภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยและเล่าผลกระทบของตนเองที่แม่ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง (สูงอายุและโรคอ้วน) เสียชีวิตจากโควิด รวมถึงความกลัวที่ตนเองก็มีความเสี่ยง (โรคอ้วน)

27/06/2024

ข้อคิด “การดูแลสุขภาพมีความจำเป็นมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ชีวิตแตกต่างมาก ก่อนที่จะมีโควิดเราทำงานปกติแต่พอในช่วงโควิดเราก็ต้องหันมาทำออนไลน์เกือบทุกรูปแบบ พวกงานเอกสารเราก็ต้องปรับระบบการทำงานตามโปรแกรมเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการทำงาน การเข้าถึงประชาชนให้มากขึ้น ซึ่งเราทำงานอยู่ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแต่อยู่สำนักเขต เราก็พอมีความรู้และแนวทางในการปฏิบัติตัวหากติดโควิด 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ประมาณช่วงเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2565 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ความประทับใจคือ เราสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้เยอะมาก ๆ ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม รูปธรรมคือ เราได้ไปช่วยเหลือผู้อื่นตอนที่เรารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะตอนนั้นเรากับแม่ติดโควิดและน้ำหนักเกินมาตรฐานทำให้เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ในตอนนั้นเราก็ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่กักตัวด้วยกันทั้งเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ โดยเราก็ช่วยเหลือดูแลเท่าที่เราทำได้ ส่วนในนามธรรมคือ เราได้มีโอกาสเป็นอาสาสมัครสายด่วน 1330 เพื่อหาข้อมูลช่องทาง และแจ้งเสนอแนะไปยังประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือในด้านทุก ๆ ด้าน ทุก ๆ มิติ รวมทั้งการให้กำลังใจเข้าอกเข้าใจในสิ่งที่เป็นเรื่องใหม่ โรคใหม่ ให้เราคนไทยได้ปรับตัว ปรับพฤติกรรม และปรับทัศนคติ เพื่อเดินหน้าด้วยชีวิต สุขภาพ และความสุขของทุกคนต่อไป ขอเกริ่นก่อนว่าเราเป็นผู้ได้รับผลกระทบและผู้ที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น ฉันเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่มีค่า BMI สูงถึง 38 นั่นหมายความว่าร่างกายของฉันอ้วน ในช่วงแรกของการได้รับข่าวการระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนก็ไม่มีความกังวลใด ๆ แต่ตกใจถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของโรค มีการตั้งคำถามมากมายในใจของฉัน การเกิดโรคเกิดขึ้นได้อย่างไร? เกิดการพาหะจากสัตว์? หรือด้วยการทดลองอื่น ๆ ? แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้กังวลใจ จนอัตราการติดเชื้อโควิด 19 เพิ่มมากขึ้น และมาถึงคนไทย ประเทศไทย และยอดการติดเชื้อลุกลามไปทั่วประเทศไทย โดยในช่วงแรกของสถานการณ์ฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นจิตอาสา 1330 ในการให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่ประชาชนที่โทรเข้ามา แต่มาในเดือนมีนาคม พ.ศ.2565 ก็เป็นฉัน หนึ่งในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 จากคนในครอบครัว (และฉันก็คิดว่าก็เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อของหลาย ๆ คน) และที่ย่ำแย่ไปกว่านั้นคือ แม่ของฉันติดเชื้อโควิด 19 ด้วย การเกิดเหตุการณ์แบบนี้ฉันปรับตัวยากมาก หาวิธีและปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาตัวเอง นอกจากนี้ฉันเป็นคนอ้วนจึงมีความเสี่ยงของโรค ที่แย่ไปกว่านั้นคือ แม่ของฉันก็อ้วนเช่นกัน แม่น้ำหนักประมาณ 104 กิโลกรัม มีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวานแม่มีความเสี่ยงสูง แม่และฉันจึงขอเตียงที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลา ฉันได้รับการตอบรับเพื่อรักษาแม่ในโรงพยาบาล 10 วัน ฉันดูแลแม่และใกล้ชิดท่านตลอด แม่หอบและเหนื่อยมีอาการร่วมมีภาวะโรคหัวใจ ในตอนนั้นต้องต่อสู้ด้วยจิตใจที่เข้มแข็งมากเท่านั้นถึงจะผ่านพ้นไปได้ และช่วงการใช้ชีวิตในห้องสี่เหลี่ยมจำนวนผู้ป่วยตามจำนวนเตียงที่รับได้ ทั้งชาย หญิง เด็ก คนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงวัย และบุคคลวัยทำงาน การใช้ชีวิต 10 วันนั้นตอบหลายอย่างของการช่วยเหลือกันของมนุษย์มากๆ ช่วยกันดูแล วัดไข้ วัดความดัน ตรวจทุก 2 ครั้ง/วัน ฉันและบุคคลวัยกลางคน 2-3 คน ช่วยกันดูแล ดูแล ทุกอย่างเหมือนพยาบาลอยู่ด้วยได้รับการช่วยเหลือจากพยาบาลบ้างและช่วยเหลือกันเองบ้างจนผ่านพ้นไปได้ แต่ความเข้มแข็งต้องแพ้พ่ายไปเพราะในอีก 7 เดือนต่อมาแม่ฉันทรุดลงมาจนทำให้เจอโรคภัยมากมายและเสียชีวิตลง พอหลังหายโควิดก็กลับมาเป็นจิตอาสา 1330 ต่อ แต่ไม่ค่อยได้ช่วยเยอะเท่าช่วงแรก ซึ่งจะเป็นคนรับสายทั่วไปและคนที่โทรเข้ามาก็ไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่เพราะจำนวนการติดเชื้อน้อยลง จากสถานการณ์ที่ผ่านมารู้สึกว่ามีความยากลำบากในการใช้ชีวิต 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองทำให้การปฏิบัติงานฉันได้เข้าใจและเข้าถึงประชาชนที่เดือนร้อนในช่วงสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ประกอบกับหลังจากได้สูญเสียคุณแม่ฉันตระหนักในจิตใจเสมอ การดูแลสุขภาพมีความจำเป็นมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และการใช้ชีวิตให้มีความสุขในปัจจุบัน ยอมรับกับเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและปรับตัวให้ได้ 

อนามัยโลกชี้ สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" เป็น "สารก่อมะเร็ง"

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.

นิทรรศการภาพถ่าย: เข้าข้างวิทยาศาสตร์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ

แนวทางการดูแลการทำแท้งของ WHO ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ซึ่งผู้คนมีส่วนร่วมในด้านสุขภาพและการดูแลของตน ในขณะที่ผู้คนก้าวผ่านเส้นทางการดูแลการทำแท้ง (ก่อนทำแท้ง การทำแท้ง หลังการทำแท้ง) บริการด้านสุขภาพจะต้องบูรณาการภายในภาคส่วนด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าการให้บริการจะตรงตามความต้องการของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง - อย่างเท่าเทียมกันและปราศจากการเลือกปฏิบัติ

การฝึกหายใจและขับเสมหะ

ละนี่คือวิธีง่าย ๆ เบื้องต้นในการฝึกหายใจ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวที่อยู่ระหว่างการรักษาแบบ Home isolation เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ค่ะ โดยวิธีนี้สามารถทำได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยเท่านั้นนะคะ