พยาบาล ICU หัวใจ รับหน้าที่เป็นหัวหน้า ICU โควิด เล่าถึงประสบการณ์การบริหารจัดการดูแลของผู้ป่วยในภาวะวิกฤต

26/06/2024

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

เมื่อก่อนทำงานอยู่ที่ตึกหัวใจ เป็นรองหัวหน้าตึกหัวใจหรือ ICU หัวใจ แต่พอมีสถานการณ์โควิดเข้ามาทำให้มีความจำเป็นต้องมี ICU โควิด ซึ่งเราได้ตัดสินใจอาสามาเป็นหัวหน้าทีม ICU โควิดด้วยตัวเอง เพราะตอนนั้นเราเองก็เพิ่งจบโทด้านการบริหารมา รวมถึงมีความรู้เรื่อง ICU การตัดสินเข้ามาทำงานที่ ICU โควิด เป็นการทำงานที่ค่อนข้างแตกต่างจากงานเดิมพอสมควร จากเคยอยู่กับโรคที่สะอาดอย่างโรคหัวใจที่ไม่มีการติดเชื้อ ก็ต้องเปลี่ยนมากลายเป็นคนดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโรคระบาด สถานการณ์ตอนนั้นมีความแตกต่างทุกอย่างเลย ทั้งโรค และระบบการดูแล ซึ่งในตอนแรกไม่มีคนประจำตึก และไม่มีพยาบาลที่ทำงานประจำหอผู้ป่วย เนื่องจากเป็นหน่วนพิเศษเพื่อดูแลในภาวะวิกฤตในตอนนั้น ความท้าทาย ณ เวลานั้นก็คือการคิดว่าจะทำยังไงให้พยาบาลที่เวียนกันมาทุกเดือนจาก ICU สามารถดูแลผู้ป่วยโควิดได้ ซึ่งเราก็ได้มีการบรีฟงานทุกเช้า หาประเด็นสำคัญ และนำข้อผิดพลาดมาเล่าให้กันฟังเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก นอกจากนี้ความท้าทายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความกลัวของเจ้าหน้าที่ทำงาน ซึ่งก็ต้องมีการทำให้เขารู้สึกว่าเขาไม่ได้ทำงานคนเดียว โดยเราใช้วิธีการทำงานร่วมกัน กินข้าวด้วยกันบ้าง หรือหาข้าวให้ เรื่องสถานที่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากวัดที่มาช่วยสนับสนุนทำห้อง negative ให้ เรื่องการปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติบ่อย ๆ เป็นต้น 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 - เดือนเมษายน พ.ศ. 2565 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

การทำงานครั้งนั้นทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญร่วมกันหมด อย่างองค์กรรัฐต่าง ๆ ก็ได้เข้ามาช่วยเหลือกัน อาทิ โรงเรียนได้ช่วยหาอุปกรณ์มาให้ ราชภัฏยื่นมือมาช่วยทำนวัตกรรมแบบ new normal ให้ นอกจากนี้ก็ยังมีวัด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนสกลนครเลย เพราะพระอาจารย์ยินดีให้ความช่วยเหลือ ก่อนเดือนธันวาคมปี 2564 พระอาจารย์ก็ได้มาสร้างห้อง negative ให้อีกวอร์ดหนึ่ง ส่วนตึกที่เราดูแลก็มีอีกวัดหนึ่งมาสร้างให้เพื่อแยกโซนกับตึกอื่น มากไปกว่านั้นก็ยังมีทหารมาช่วยให้การลำเลียงส่งคนไข้ และมีภาคประชาชนมาช่วยด้วยการบริจาคอาหาร สิ่งของ และอุปกรณ์ทางแพทย์ อีกทั้งยังมีนักข่าว วิทยุที่เข้ามาช่วยกระจายข่าวโดยที่ไม่ได้ร้องขอเลยแต่เขายินดีที่จะช่วย 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

มีความประทับใจที่ทุกคนตั้งใจทำให้สถานการณ์วิกฤตผ่านไปได้ด้วยกันจากความสามารถที่ทุกคนมี ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพ โภชนาการ หรือแม้กระทั่งผู้บริหาร ทุกคนพร้อมที่จะรับนโยบายและก้าวผ่านไปได้ด้วยกัน โดยเมื่อมีโรคอุบัติใหม่ก็ได้เรียนรู้ว่าตัวเราเองนั้นไม่กลัวอะไรแล้ว และนอกจากนี้ยังมีความประทับใจจากการดูแลคนไข้ ซึ่งเป็นเคสหนึ่งที่ได้ดูแลโดยที่ไม่รู้เลยว่าดูแลใคร แต่สุดท้ายรู้ว่าคนนั้นเป็นคนที่ทำงานระบาดอยู่ที่ประเทศอเมริกา และเมื่อเขาหายดีแล้วเขาได้มีการอีเมลมาขอบคุณเรา เลยกลายเป็นเคสที่เราจดจำและประจำใจในช่วงที่มีการระบาดหนัก ๆ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

การทำงานครั้งนั้นสอนให้ได้เรียนรู้ว่าเราต้องมีสติไม่ว่าจะต้องเจอกับอะไร รวมถึงได้เรียนรู้ว่าต้องมีแนวทางไว้เป็นเป้าหมายเพื่อที่จะได้ทำตามเป้าหมายนั้น หรือเพื่อไว้ดูว่าสิ่งที่ทำมันตรงจุดไหม ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้จะต้องมีการสื่อสารกับทีมให้ได้เข้าใจถึงเป้าหมายที่วางไว้ด้วยเพื่อให้ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน โดยกระบวนการหรือวิธีการแบบนี้ก็ทำให้ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมด้วย นอกจากนี้การทำงานครั้งนั้นยังทำให้เรามีความภาคภูมิใจที่ผ่านมาได้

การฝึกหายใจและขับเสมหะ

ละนี่คือวิธีง่าย ๆ เบื้องต้นในการฝึกหายใจ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวที่อยู่ระหว่างการรักษาแบบ Home isolation เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ค่ะ โดยวิธีนี้สามารถทำได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยเท่านั้นนะคะ

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการดำรงชีวิตของผู้คน สุขภาพ และระบบอาหารของเรา

องค์กรนับล้านเผชิญกับภัยคุกคามที่มีอยู่ เกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานทั่วโลก 3.3 พันล้านคนทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียอาชีพการดำรงชีวิต แรงงานนอกระบบมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ขาดการคุ้มครองทางสังคม การเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และสูญเสียการเข้าถึงสินทรัพย์ที่มีประสิทธิผล หากไม่มีรายได้ในช่วงล็อกดาวน์ หลายคนไม่สามารถหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ สำหรับคนส่วนใหญ่ การไม่มีรายได้หมายถึงไม่มีอาหาร หรือที่ดีที่สุด อาหารน้อยลงและมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลง

การวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

การกล่าวถึงบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบางรายในสิ่งพิมพ์ที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการรับรองหรือแนะนำโดย WHO มากกว่าบริษัทอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งไม่ได้กล่าวถึง ยกเว้นข้อผิดพลาดและการละเว้น ชื่อของผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรรมสิทธิ์จะแยกความแตกต่างด้วยอักษรตัวใหญ่เริ่มต้น