อาจารย์พยาบาลรามาฯ เล่าเรื่องการทำงานกับชุมชน

26/06/2024

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ทางองค์กรหรือโรงพยาบาลรามาได้มีการทำงานกับชุมชนอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนที่จะมีการระบาดของโรคโควิด ทำให้เมื่อเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นจึงได้รับแจ้งมาจากทางชุมชนค่อนข้างเร็ว โดยในช่วงนั้นเป็นละลอก 3 ที่มีการระบาดหนัก ชุมชนได้แจ้งทางเรามาว่าเริ่มรับมือไม่ไหวแล้ว ซึ่งหากไม่จัดการน่าจะระบาดเร็วขึ้น เนื่องจากในชุมชนมีแรงงานต่างชาติด้วย อีกทั้งยังมีโรงน้ำแข็ง ที่นับว่าเป็นจุดของการระบาดเลย โดยเมื่อได้ทราบถึงปัญหาทางเราและองค์กรก็ได้มีการประสานงาน และมีการตั้ง CI ได้เร็ว เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้เร็ว 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ตั้ง CI ขึ้นมาช่วงละลอก 3 ที่ระบาดหนักในกรุงเทพ แต่สำหรับการทำงานในชุมชนเราและองค์กรทำมาตั้งแต่ละลอก 1 หรือตั้งแต่ประมาณช่วงเดือนมีนาคม 2563 มาจนถึงระลอก 3 ช่วงเดือนเมษายน 2564 ที่เริ่มมีเคสแรกในชุมชน 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

การทำงานครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันกับชุมชน ซึ่งชุมชนค่อนข้างจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยคัดกรองคนในชุมชน การช่วยกันเย็บหน้ากากผ้า โดยชุมชนที่เราได้ทำงานร่วมกันหลัก ๆ ก็จะเป็นชุมชนซอยสวนเงิน แต่การตั้ง CI ในครั้งนี้เป็นการดูแล 21 ชุมชน ซึ่งแหล่ง CI ก็ไม่ใช่ชุมชนที่ดูแลเป็นหลักแต่ทางองค์กรก็รับเขาเข้ามาด้วยเพราะไปตั้งตรงนั้น นอกจากนี้ในเรื่องของความปลอดภัยต่าง ๆ ของหน่วย CI ก็จะมีกทม. มาช่วยดู และมูลนิธิต่าง ๆ หรือคนที่มีจิตศรัทธามาให้การบริจาคอาหาร และ ATK 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

การทำงานไม่ค่อยมีความยากลำบาก เนื่องจากมีเครือข่ายที่เหมือนเป็นทุนสังคมและทุนของมนุษย์มาช่วยเหลือกัน ซึ่งทางชุมชนนั้นมีความเก่งเรื่องของการเย็บปักถักร้อยอยู่แล้ว ทางโรงพยาบาลรามาจึงได้ให้ผ้าที่ของเอกซเรย์ใช้มาให้เพื่อให้คนในชุมชนเย็บทำหน้ากากจะได้ไม่ต้องซื้อ และก็มีคนบริจาคที่คล้องหูให้ โดยการที่ชุมชนมีการเย็บหน้ากาชุมชนก็ได้มีการแบ่งมาให้ชุมชนในราชเทวีด้วยกว่า 1,000 ชิ้น ทำให้ช่วงนั้นไม่ขาดแคลนหน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกันเลย เราก็รู้สึกประทับใจที่ได้รับการสนับสนุน ส่งผลให้ไม่ต้องซื้ออะไรเลย เพราะชุมชนได้ให้การสนับสนุนร่วมด้วยช่วยกัน อีกทั้งยังเป็นวิธีการป้องกันโควิดได้ดีด้วย 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

เราได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน โดยที่ไม่มีการแบ่งแยกวรรณะ ไม่มีใครเป็นหัวหน้าแต่เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งถ้าฉุกเฉินก็จะมีการสั่งการอยู่แล้ว โดยการตั้ง CI เพื่อดูแล 24 ชม. คนไข้ 500 แน่นอนว่าเจ้าหน้าที่ไม่พออยู่แล้ว เพราะเจ้าหน้าที่ก็ต้องไปช่วยในโรงพยาบาลและในวิกฤตหลาย ๆ ส่วน ทำให้ทางองค์กรได้มีการคุยกับชุมชนตั้งแต่แรกเลย การเรียนรู้และบทเรียนที่เราได้รับคือ การวางแผนและการมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนและโรงพยาบาล โดยจะมีการทำพันธสัญญาร่วมกันว่ากลางคืนอาจจะไม่มีแพทย์ พยาบาล ชุมชนจะต้องเป็นคนดูแล แต่ก็จะมีแพทย์เป็นที่ปรึกษา ซึ่งจากที่ชุมชนมีความกลัว พอได้ลงมือทำชุมชนก็ได้มีความเข้มแข็งขึ้น และบทเรียนของความร่วมมือ ร่วมแรงเพื่อเป้าหมายเดียวกันก็ได้ทำให้รอดพ้นจากวิกฤตครั้งนั้นได้ 

การฝึกหายใจและขับเสมหะ

ละนี่คือวิธีง่าย ๆ เบื้องต้นในการฝึกหายใจ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวที่อยู่ระหว่างการรักษาแบบ Home isolation เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ค่ะ โดยวิธีนี้สามารถทำได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยเท่านั้นนะคะ

ต้อหิน…ภัยเงียบที่น่ากลัว

ต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นถาวรที่พบได้มากที่สุด มีคนไทยมากกว่า2ล้านคนเป็นต้อหิน และกว่า76ล้านคนทั่วโลกในปี2020

อนามัยโลกชี้ สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" เป็น "สารก่อมะเร็ง"

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.