สพฉ. เล่าเรื่องความร่วมมือจากประชาชนในการระดมความช่วยเหลือและทรัพยากร สนับสนุนการส่งผู้ป่วยฉุกเฉินของ สพฉ.

26/06/2024

ข้อคิด “ช่วงโควิดเราไม่ต้องการพาคนไข้ไปโรงพยาบาล แต่ต้องการหาเตียงให้เขา ดังนั้น ที่ไหนก็ได้” 

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

สพฉ. เป็นหน่วยปฏิบัติการที่มีหน้าที่ในการรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิกไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งถ้าตามระบบปกติคนไข้ฉุกเฉินก็จะเป็นภารกิจของ สพฉ. แต่ว่าพอเป็นช่วงสถานการณ์โควิดคนไข้โควิดจะไม่ใช่คนไข้ฉุกเฉินทั้งหมด ซึ่งจะเป็นคนไข้ฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นในช่วงสถานการณ์โควิดเมื่อคนไข้มีการโทรมาที่ 1669 ทางเราหรือทีมเองก็ต้องมีการแยกว่าเป็นคนไข้ฉุกเฉินหรือไม่ นอกจากนี้ช่วงโควิด สพฉ. ยังกลายเป็นเบอร์โทรหลักที่ประชาชนโทรหา ทำให้ได้ผลกระทบหนักมาก เพราะว่าโทรศัพท์แทบไม่ว่าง 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

เริ่มตั้งแต่ช่วงที่มีโรงพยาบาลสนามที่เมืองทอง 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

มีประชาชนจิตอาสาที่มีรถเอารถมาทิ้งไว้ให้ใช้ รวมถึงคนที่เป็นนักแสดงตลกด้วยที่มีการนำรถที่เขาไม่ได้ใช้มาทิ้งไว้ให้ใช้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเขาเคยเอารถไปรับส่งเวลามีงานหรือคอนเสิร์ตแต่ช่วงนั้นไม่มี และมีบริษัทเอสโซ่ให้คูปองน้ำมันที่สามารถไปเติมที่ไหนก็ได้ รวมถึงมีเอกชนจำนวนมากมาบริจากชุด PPE อีกทั้งทางองค์กรก็ได้มีการเปิดรับบริจาค ถุงมือ หน้ากาก และมีไปรษณีย์ไทยมาช่วยส่งให้ฟรี 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ความยากลำบาก คือ การที่โควิดเป็นโรคหรือสถานการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน ทุกอย่างจึงถูกรันไปเป็นวัน ๆ หรือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อย ๆ ทั้งที่ตามหลักแล้วมีการกำหนดกฎหมายหรือแนวปฏิบัติไว้ และจากการทำงานครั้งนั้นเรามองว่าการที่จะผ่านเหตุการณ์ไปได้ มันต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่หลายภาคส่วนเข้ามาช่วยเหลือกัน อีกทั้งเรายังต้องทำงานแบบแทบจะมากินมานอนมานั่งอยู่ที่ทำงาน และมีการทำงานกันแทบจะไม่มีวันหยุด ในขณะที่คนอื่นอาจจะกักตัวอยู่ที่บ้าน แม้แต่ญาติพี่น้องติดโควิดก็ยังมาทำงาน ซึ่งก็ไม่มีใครมาพูดถึงเรื่องค่าตอบแทนอะไรเลย โดยสำหรับในมุมของเราสิ่งนี้ถือเป็นความประทับใจที่มีคนจำนวนมากทั้งในองค์กรและนอกองค์กรที่ยินดีที่จะช่วยคนอื่น และไม่นึกถึงความเสี่ยงของตนเอง ไม่โวยวาย แต่ต่างทำงานตามหน้าที่ของตนเอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ได้เรียนรู้ว่าไม่มีเรื่องไหนที่แก้ไขไม่ได้ ภายใต้ข้อจำกัดที่มีมันทำให้เห็นว่ามันเป็นความยากลำบากที่จะผ่านมันไปได้ และมันจะเกิดความสุขที่ผ่านมาได้ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นผู้บริหารจะไม่ทิ้ง ซึ่งก็ทำให้ทางทีมของเรามีความผูกพันกัน เพราะจากสถานการณ์ที่ผ่านมาก็ยังมีปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้ อาทิ การจ่ายเงินพลาด แต่ผู้บริหารไม่เคยตำหนิเลย และยังเข้าใจถึงข้อจำกัดว่าผิดพลาดกันได้ รวมถึงให้กำลังใจทีมงานเสมอ 

นิทรรศการภาพถ่าย: เข้าข้างวิทยาศาสตร์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ

แนวทางการดูแลการทำแท้งของ WHO ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ซึ่งผู้คนมีส่วนร่วมในด้านสุขภาพและการดูแลของตน ในขณะที่ผู้คนก้าวผ่านเส้นทางการดูแลการทำแท้ง (ก่อนทำแท้ง การทำแท้ง หลังการทำแท้ง) บริการด้านสุขภาพจะต้องบูรณาการภายในภาคส่วนด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าการให้บริการจะตรงตามความต้องการของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง - อย่างเท่าเทียมกันและปราศจากการเลือกปฏิบัติ

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก

โรคภูมิแพ้(hypersensitivity)โรคที่เกิดจาการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารเกิดภูมิแพ้ เช่นอาหาร ไรฝุ่น เกสรดอกไม้

10 ปัญหาสุขภาพทั่วโลกที่ต้องติดตามในปี 2564

WHO และพันธมิตรจะอยู่เคียงข้างพวกเขา เราจะทำงานเพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆ เตรียมความพร้อมรับมือกับโรคระบาดและเหตุฉุกเฉินอื่นๆ มากขึ้น เราจะเตือนพวกเขาถึงความสำคัญของการรวมประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน และการมีส่วนร่วมของทั้งรัฐบาล ไม่ใช่แค่ภาคสุขภาพเท่านั้น และเราจะสนับสนุนพวกเขาในการสร้างระบบสุขภาพที่แข็งแกร่งและประชากรที่มีสุขภาพดี