ผู้ป่วยลำไส้อักเสบที่มีอาการขาดน้ำมาก แต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ในช่วงวิกฤตโควิด

26/06/2024

ข้อคิด “เหตุการณ์นั้นเราขาดน้ำ ถ้าเราช็อกไปเราก็อาจจะเสียชีวิตไปเลย”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

สถานการณ์ช่วงนั้นแตกต่างไปจากช่วงปกติอยู่มากตั้งแต่การไปเรียน การหาซื้อของกิน การไปเจอเพื่อน ซึ่งสิ่งที่ลำบากที่สุดสำหรับเราคือ เรื่องของการไปหาหมอโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดหนัก ๆ และมีการล็อกดาวน์เกิดขึ้น ทำให้รถสาธารณะมีการหยุดให้บริการเร็วกว่าปกติ 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 (เป็นช่วงที่มีการล็อกดาวน์ไม่เกิน 4 ทุ่ม) 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

ได้โทรไปขอความช่วยเหลือจาก 1669 เท่านั้น เนื่องจากไม่สามารถเรียก Grab ได้เลย 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

เราเป็นผู้ป่วยลำไส้อักเสบ ซึ่งเหตุการณ์ที่เราอยากเล่าถึงความยากลำบากในช่วงสถานการณ์โควิด คือ เหตุการณ์วันที่เรารู้สึกว่าตนเองมีอาการไม่ไหวจากการอ้วก ท้องเสีย และมีไข้เป็นเวลากว่า 2-3 วัน โดยยาที่มีในตอนนั้นไม่สามารถรับมือได้แล้ว เราเลยต้องการที่จะไปที่โรงพยาบาลในช่วง เวลาประมาณ 3-4 ทุ่ม แต่เนื่องจากในตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่มีโรคโควิดระบาดและเป็นช่วงที่มีการล็อกดาวน์ ทำให้รถสาธารณะวิ่งหมดไปแล้ว และเราเองก็ยังเป็นนิสิตอยู่ ทำให้ไม่มีรถส่วนตัว หนำซ้ำก็ยังไม่มีคนรู้จักที่อยู่ตรงนั้นเพราะอยู่ต่างจังหวัด เราเลยโทรเรียก 1669 บริการของรัฐ ซึ่งเราก็ได้เล่าอาการไปแต่ทาง 1669 แจ้งมาว่าอาการเหมือนเป็นโควิดจึงถามว่าเราตรวจหรือยัง และในตอนนั้นเราก็ตรวจแล้วและพบว่าไม่เป็น รวมถึงได้แจ้งไปว่าเรานั้นไม่ไหวแล้วขาดน้ำมาก แต่ทาง 1669 กลับบอกให้รอไปก่อน โดยในคืนนั้นเราทรมานมากแต่ก็ต้องอดทนรอจนถึงตี 5 เพื่อเดินทางไปโรงพยาบาลเองในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเมื่อไปก็ไม่ได้นอนที่โรงพยาบาลเนื่องจากเตียงไม่เพียงพอ ทำให้การรักษาเป็นเพียงแค่การประคองให้ดีขึ้นหรืออยู่ให้น้ำเกลือกับยาฆ่าเชื้อประมาณ 6-7 ชั่วโมงแล้วก็กลับบ้าน โดยหากเป็นช่วงสถานการณ์ปกติอาการแบบนี้คงได้นอนโรงพยาบาลแล้ว 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

เราได้เรียนรู้ว่า ระบบสาธารณะของไทยไม่ค่อยโอเคเลยทั้งกับผู้ป่วยที่เป็นโควิดเองและผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่น ๆ เรารู้สึกว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นโรงพยาบาลรัฐยังรับมือไม่ค่อยได้ทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าค่อนข้างแย่ 

WHO เลือกไข้หวัดใหญ่พันธุ์ไทยปั๊ม วัคซีนป้องกัน

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ว่า จากผลการวิเคราะห์ ลำดับพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากทั่วโลก...

การวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

การกล่าวถึงบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบางรายในสิ่งพิมพ์ที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการรับรองหรือแนะนำโดย WHO มากกว่าบริษัทอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งไม่ได้กล่าวถึง ยกเว้นข้อผิดพลาดและการละเว้น ชื่อของผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรรมสิทธิ์จะแยกความแตกต่างด้วยอักษรตัวใหญ่เริ่มต้น

อนามัยโลกชี้ สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" เป็น "สารก่อมะเร็ง"

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.