พยาบาลอุดรธานี ร่วมทำโครงการรับคนอุดรกลับบ้าน (ตำบลสาวถี)

26/06/2024

ข้อคิด “ความกลัวที่เกิดขึ้น สิ่งที่ทำได้คือ ทำทุกทางเพื่อให้ทุกคนเกิดความกล้า ยินยอมที่จะมาร่วมเผชิญ และเดินหน้าไปด้วยกัน”

สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

โดยปกติเราเป็นพยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล แต่เมื่อมีการติดเชื้อในโรงพยาบาลหรือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น เราก็ได้รับคำสั่งจากผู้อำนวยการว่าจะเริ่มต้นดูรักษายังไง ในตอนนั้นเราก็ยังใหม่หมดทำให้เราต้องเรียนรู้พร้อมกับการเกิดของโรค 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 ระลอกที่ 2 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

บุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่น ๆ เช่น เภสัชกร ทันตแพทย์ นักกายภาพ เข้ามาช่วยเหลือและเป็นจิตอาสาดูแลผู้ป่วยที่กักตัวโรงพยาบาลสนาม และกระทรวงสาธารณสุข, สสจ., โรงพยาบาลต่าง ๆ ที่อยู่รอบนอก ช่วยเหลือในขั้นตอนการดำเนินงานและส่งคนเข้ามาช่วยเป็นจิตอาสา 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

ในช่วงนั้นเราทำงานและรับโทรศัพท์เกือบ 24 ชั่วโมง เพราะเราเป็นผู้ควบคุมและคอยประสานงานให้แก่บุคลากรต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลตลอดจนชาวบบ้านในพื้นที่ ประกอบกับในช่วงที่สมุทรสาครระบาดหนัก ๆ ใกล้กับสงกรานต์ เราก็พยายามประชาสัมพันธ์ว่าคนในพื้นที่อย่าออกนอกพื้นที่ แต่คนส่วนใหญ่ก็แพลนจะไปเที่ยวหรือกลับบ้านกันแล้ว แต่เราก็ไม่ได้ไปไหน เพราะอยู่คอยรับคนสมุทรสาครที่จะเดินทางกลับบ้านอุดร ซึ่งเราก็รอรับกันเองโดยที่เราจะทำการสกัดตรวจคัดกรองก่อนที่เขาจะกลับบ้านเพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ประกอบกันในช่วงที่กรุงเทพฯ มีการแพร่ระบาดหนัก ๆ คนไข้ล้นจนไม่มีที่อยู่รักษา ทำให้เราได้เริ่มทำโครงการกับตำบลสาวะถีคือ “โครงการรับคนกลับบ้าน” เพราะเราเป็นคนในพื้นที่นี้ แต่หลังจากที่เริ่มโครงการนี้ก็เริ่มทำโครงการใหม่คือ “รับคนอุดรกลับบ้าน” พอรับคนไข้มาเยอะ ๆ คนไข้เริ่มล้น เราก็เปิดโรงพยาบาลสนามที่ตัวเมืองอุดร โดยหาโรงแรมที่สมัครใจพร้อมที่จะเป็นสถานที่กักตัวให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งเราเปิดรับทุกคนและเปิดรับตลอดเวลา ทำให้ความภาคภูมิใจของโรงพยาบาลเราคือ สามารถดูแลคนไข้ได้ตลอดและดูแลได้ทุกคน ซึ่งทุกคนสามารถใช้สิทธิบัตรทองในการรักษาโดยไม่ต้องเสียเงินฟรี ส่วนความยากลำบากน่าจะเป็นในด้านวิชาการความรู้ต่อโรคโควิด การหาอุปกรณ์ป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ยังขาดแคลน ทั้งยังการต่อต้านและความกลัวที่เกิดขึ้นในตัวเจ้าหน้าที่ ทำให้มีเจ้าที่ไม่เพียงพอซึ่งส่งผลต่อการดูแลรักษากับผู้ป่วย 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

การทำงานไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ หมอ พยาบาล ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องต่างก็กลัวตายและไม่อยากเผชิญหน้ากับผู้ป่วยที่เป็นโควิด ซึ่งเรามองว่าถ้าเขามีความรู้เขาก็จะไม่กลัวและพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ดังนั้นเราควรให้ความรู้ตั้งแต่กลุ่มเล็ก ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดของเจ้าหน้าที่ให้เกิดการยอมรับ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยกล้าที่จะเผชิญหน้ากับคนไข้ 

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก

อนามัยโลกชี้ สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" เป็น "สารก่อมะเร็ง"

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.

การวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

การกล่าวถึงบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบางรายในสิ่งพิมพ์ที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการรับรองหรือแนะนำโดย WHO มากกว่าบริษัทอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งไม่ได้กล่าวถึง ยกเว้นข้อผิดพลาดและการละเว้น ชื่อของผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรรมสิทธิ์จะแยกความแตกต่างด้วยอักษรตัวใหญ่เริ่มต้น