พยาบาลเพชรบูรณ์ เล่าเรื่องการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยในช่วงที่ส่งผู้ป่วยกลับต่างจังหวัด

26/06/2024

ข้อคิด “สถานการณ์ตอนนั้นเป็นปัญหาหน้างานมีโจทย์เดียวคือ ทำยังไงก็ได้ให้คนไข้รอด ให้คนไข้ห้ามตาย”

 สถานการณ์แตกต่างจากช่วงปกติอย่างไร 

ตอนยังไม่มีโควิดมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยนอก และเป็นพยาบาลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ซึ่งโควิดเป็นโรคที่เป็นหน้าที่รับผิดชอบ โดยก่อนที่โควิดจะเข้ามาในพื้นที่ของตนเองได้มีการติดตามข่าวเพื่อวางแผน แต่พอเกิดสถานการณ์ขึ้นมาจริง ๆ ก็ยังคงมีความยากลำบากในการรับมือ 

ช่วงเวลาของเรื่องที่เล่า 

17 กรกฎาคม 2564 

มีใคร/หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง (เช่น ใครให้ความช่วยเหลือ ไปรับบริการจากใคร ฯลฯ) 

หน่วยงานที่ช่วยเหลือคือ รพ.สต. ที่ยอมไปหาคนไข้แต่เช้า และนำคนไข้มาโรงพยาบาล 

เรื่องเล่าตามความประทับใจ/ยากลำบาก 

กรณีความยากลำบากในช่วงที่กรุงเทพไม่รับผู้ป่วย คือ เคสของผู้ป่วยหญิงคนหนึ่ง เป็นผู้ป่วยที่ทำงานอยู่กรุงเทพแล้วติดโควิด แต่ไม่มีใครไปหาเขา และเขาจะขับรถกลับบ้านเองก็ไม่ได้ แต่บังเอิญรอบนั้นมีคนมาส่งที่หล่มสัก เขาเลยโชคดีที่ได้มาด้วยแต่พอจะเข้าหมู่บ้านหมู่บ้านกลับไม่ให้เข้าจะไปไหนก็ไม่ให้เข้า และพอจะมาที่โรงพยาบาลก็เป็นช่วงกลางคืน อีกทั้งตอนนั้นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็ติดโควิด ทำให้ทุกอย่างยุ่งยากไปหมด และยังไม่ได้มีระบบติดต่อแจ้งว่าให้เจ้าหน้าที่นำเข้า ซึ่งพอคนไข้มาถึงเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ก็ไม่รู้จะเอาคนไข้ไปไว้ไหน เลยพาไปไว้ที่ภูเขาหินปะการังช่วงประมาณตี 3 ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ร้างแล้ว และไกลหมู่บ้าน รวมถึงอยู่บนป่าเขา พอตอนเช้า รพ.สต. ถึงไปรับมาที่โรงพยาบาล เพราะเจ้าหน้าที่จะมาตอน 8 โมงเช้า โดยคนไข้มารอก่อนที่เจ้าหน้าที่จะมาประมาณ 1 ชั่วโมง ตอนนั้นคนไข้เหมือนปลายนิ้วเขียว มีอาการเหนื่อยหอบ และนั่งไม่ได้ ซึ่งตรงนั้นก็มีแค่พื้นดินกับเก้าอี้พลาสติกให้นั่งรอ จึงมีคนไข้โควิดผู้ชายคนหนึ่งไปเอาใบตองแถวโรงพยาบาลมาให้ผู้หญิงคนนี้นอน โดยเราที่มาทำงาน 8 โมงเช้าได้เข้ามาเห็นกับภาพที่คนไข้นอนพอดี กว่าจะพาคนไข้คนนี้เข้ารักษาได้ใช้เวลานานมากและยุ่งยากมาก เพราะที่โรงพยาบาลมีทั้งคนไข้โควิดและคนไข้ปัจจุบันที่ต้องดูแล จนเราต้องโวยวาย แต่ท้ายที่สุดคนไข้คนนี้ก็รักษาหาย 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

จากกรณีเคสนี้คือได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้เรียนรู้ว่าชุมชนมีส่วนร่วมมากถ้าเกิดว่าชุมชนไหนเข้มแข็งคนในชุมชนก็จะไม่ถูกทอดทิ้ง แต่ถ้าชุมชนไหนไม่เข้มแข็งการสื่อสาร หรืออยู่ในพื้นที่ไกลชุมชนก็จะมีปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข และได้เรียนรู้ว่าการเข้าถึงการรักษาขึ้นอยู่กับศักยภาพของบุคคลด้วย และถ้าระบบสาธารณสุขไม่เอื้อหรือว่าช่วยอย่างเต็มที่เป็นมาตราฐาน คนที่เป็นเหมือนเคสนี้ก็จะเป็นกลุ่มคนที่น่าสงสาร

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการดำรงชีวิตของผู้คน สุขภาพ และระบบอาหารของเรา

องค์กรนับล้านเผชิญกับภัยคุกคามที่มีอยู่ เกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานทั่วโลก 3.3 พันล้านคนทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียอาชีพการดำรงชีวิต แรงงานนอกระบบมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ขาดการคุ้มครองทางสังคม การเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และสูญเสียการเข้าถึงสินทรัพย์ที่มีประสิทธิผล หากไม่มีรายได้ในช่วงล็อกดาวน์ หลายคนไม่สามารถหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ สำหรับคนส่วนใหญ่ การไม่มีรายได้หมายถึงไม่มีอาหาร หรือที่ดีที่สุด อาหารน้อยลงและมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลง

โรคอ้วนและน้ำหนักเกิน

สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนซึ่งทำให้โอกาสที่จะเป็นโรคอ้วนในบุคคล ประชากร และในสภาพแวดล้อมต่างๆ รุนแรงขึ้น มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเชิงโครงสร้างที่จำกัดความพร้อมของอาหารที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพในราคาที่เอื้อมถึงในท้องถิ่น การขาดการเคลื่อนไหวทางกายภาพที่ปลอดภัยและง่ายดายในชีวิตประจำวันของทุกคน และการขาดงาน มีสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและข้อบังคับที่เพียงพอ

ภูมิแพ้แมลงสาบ

แมลงสาบ สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบ เกิดได้จากเปลือกแข็งหุ้มตัว ขา น้ำลายและอุจจาระ ซึ่งถือเป็นสารก่อภูมิแพ้ ที่สำคัญของการเกิดอาการโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืดและโรคเยื่อบุ จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้