ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

27/02/2024

ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

                  พญ.เมธาวี อุฬารวงศ์

กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ภาวะดังกล่าวส่งผลให้มีการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีการตกไข่ เกิดเป็นลักษณะถุงน้ำเล็กๆหลายๆใบในรังไข่ ร่วมกับมีฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้นในร่างกาย ทำให้เกิดลักษณะต่างๆ เช่น สิว หน้ามัน ขนดก นอกจากนี้อาจทำให้เกิดกลุ่มอาการทางเมตาบอลิกตามมา ภาวะนี้พบได้ถึง 1 ใน 10 ในสตรีวัยเจริญพันธุ์และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

อาการ

1. ระดูผิดปกติ
ได้แก่ ระดูออกน้อย คือ มีรอบระดูที่ห่างขึ้น ยาวนานมากกว่า 35 วัน หรือน้อยกว่า 10 รอบต่อปี / ขาดระดู คือ รอบระดูห่างมากกว่า 6 เดือน หรืออาจมีการขาดหายไปของระดู  3 รอบติดต่อกัน

2. มีอาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายที่สูง เช่น สิว หน้ามัน ผมร่วง ศีรษะล้าน มีขนขึ้นเยอะ มีกล้ามเนื้อแบบผู้ชาย
มีภาวะมีบุตรยาก
มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
 

การวินิจฉัย แพทย์มักวินิจฉัยภาวะ PCOS โดยพิจารณาจากข้อมูลต่อไปนี้

ซักประวัติเพื่อดูลักษณะของประจำเดือน ว่ามีประจำเดือนออกน้อย หรือขาดประจำเดือนหรือไม่
ตรวจร่างกายเพื่อค้นหาอาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น สิว หน้ามัน ขนดก ศีรษะล้าน รวมถึงลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น รอยดำบริเวณหลังคอหรือข้อพับ
ตรวจอุลตร้าซาวน์ในอุ้งเชิงกราน เพื่อดูลักษณะถุงน้ำหลายใบในรังไข่
อาจตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนเพศชายในกระแสเลือด ว่าสูงผิดปกติ หรือไม่ ในกรณีที่อาการแสดงไม่ชัดเจน
 

แนวทางการรักษา

การรักษาผู้ป่วย PCOS มีจุดประสงค์เพื่อ คุมรอบระดู รักษาอาการแสดงของฮฮร์โมนเพศชายที่สูง ควบคุมกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก รวมถึงรักษาภาวะมีบุตรยาก

โดยการรักษาแบ่งออกเป็นการใช้ยาและไม่ใช้ยา

การรักษาโดยการไม่ใช้ยา จะมุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และออกกำลังกาย เพิ่มการเผาผลาญ ซึ่งจะสามารถช่วยให้มีการตกไข่ที่สม่ำเสมอขึ้น และลดความเสี่ยงของกลุ่มอาการทางเมตาบอลิกได้
การรักษาโดยการใช้ยา ได้แก่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ยาเม็ดโปรเจสติน หรือห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาเพื่อลดการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายได้
ทั้งนี้ หากมีอาการที่เข้าได้กับกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ประเมินความเสี่ยง และวางแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

การวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

การกล่าวถึงบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบางรายในสิ่งพิมพ์ที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการรับรองหรือแนะนำโดย WHO มากกว่าบริษัทอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งไม่ได้กล่าวถึง ยกเว้นข้อผิดพลาดและการละเว้น ชื่อของผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรรมสิทธิ์จะแยกความแตกต่างด้วยอักษรตัวใหญ่เริ่มต้น

อนามัยโลกชี้ สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" เป็น "สารก่อมะเร็ง"

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.

นิทรรศการภาพถ่าย: เข้าข้างวิทยาศาสตร์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ

แนวทางการดูแลการทำแท้งของ WHO ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ซึ่งผู้คนมีส่วนร่วมในด้านสุขภาพและการดูแลของตน ในขณะที่ผู้คนก้าวผ่านเส้นทางการดูแลการทำแท้ง (ก่อนทำแท้ง การทำแท้ง หลังการทำแท้ง) บริการด้านสุขภาพจะต้องบูรณาการภายในภาคส่วนด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าการให้บริการจะตรงตามความต้องการของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง - อย่างเท่าเทียมกันและปราศจากการเลือกปฏิบัติ